ข้าวหน้าหอยลายญี่ปุ่น หนึ่งในอาหารพื้นเมืองโตเกียวที่ต้องลอง

1245 0

(บรรยายหญิง) คำถามยอดฮิต ไปโตเกียวกินอะไรดี ราเม็ง ซูชิ ซาชิมิ ยังไม่ใช่ค่ะ
นั่นมันเด็ก ๆ (ฟูจิ) พูดถึงแล้วเปรี้ยวปากเลย ไปดูให้รู้ แล้วไปกินกันเลยดีกว่า (บรรยาย) วันนี้ดูให้รู้ พามาชิมเมนูที่ไม่ฮิตเท่าไร โอ้โฮ อุไม (แปลว่า อร่อย) (บรรยาย)
แต่… นับจากวันนี้ จะฮิตแล้วละค่ะ
(ฟูจิ) นี่ยกขึ้นครับ
วิธีการกินให้มันอร่อยของญี่ปุ่น ก็คือยกขึ้นกิน

[เสียงอุทาน]

แค่กลิ่นยังหอมเลย

[เสียงดนตรี]

[เสียงดนตรี]

อร่อยมากเลย หอยอยู่ในความนุ่มและมันตัวใหญ่ หอมและก็หวานมาก (บรรยาย) ตามฟูจิเซ็นเซไปกินข้าวฟุกางาวะเมชิ หรือข้าวหน้าหอยลายญี่ปุ่น ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยเอโดะ [เสียงเทปในพิพิธภัณท์] เขาพูดว่าอะไร อันนี้ไง ขายหอย โอ้… สมัยก่อนคนที่มาเสิร์ฟ คือ สาว ๆ ที่สวย ๆ อยากเจอสาว ๆ ถึงขนาดเข้าคิวเลยนะ นี่ หาบอย่างนี้ (บรรยาย) และเป็นหนึ่งในร้อยเมนูพื้นเมืองญี่ปุ่น ที่ต้องลองค่ะ
(ฟูจิ) อันนี้ก็อร่อยมาก

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) พูดถึงหอย
ทำให้ผมระลึกถึง อำเภอฟุกางาวะ แล้วจะมีข้าวหน้าหอย เป็นอาหารประจำเมืองของเมืองนี้ และเป็นที่ยอมรับ ถูกคัดเลือกเป็นหนึ่งในหนึ่งร้อยเมนู ของอาหารพื้นเมืองเลยนะครับ

น่าสนใจมากเลย (บรรยาย) วันนี้เรามาเริ่มเรื่องกันที่… ร้านขายหอยนานาชนิดกันค่ะ
หลากหลายจริง ๆ เลยนะคะ น่ากินทั้งนั้นเลย
แต่ว่าในตอนนี้เราจะเน้นไปที่หอยชนิดหนึ่ง ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการทำอาหารพื้นถิ่นของโตเกียว หอยชนิดนั้นคืออะไร ตามฟูจิเซ็นเซไปที่ร้านอาหารต่อเลยค่ะ
พูดถึงแล้วเปรี้ยวปากเลย ไปดูให้รู้ แล้วไปกินกันเลยดีกว่า เดี๋ยวรอสักครู่นะ จะได้กินกันเลย

[เสียงดนตรี]

ปัจจุบันนี้ผมมาอยู่ที่
อำเภอฟุกางาวะของโตเกียวนะครับ
ทำไมถึงมาที่นี่ เพราะว่ามีอาหารชนิดหนึ่งชื่อ ฟุกางาวะ เมชิ เป็นอาหารพื้นเมืองของคนญี่ปุ่นในสมัยเอโดะ เป็นข้าวหน้าหอยใส่มิโซะ และเป็นที่ยอมรับของรัฐบาลด้วย เป็นอย่างไร ไปกินข้าวฟุกางาวะเมชิ ข้าวหน้าหอยมิโซะกันดีกว่าครับ
อิคิมาโช (แปลว่า ไปกัน)

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ข้าวฟุกางาวะเมชิ หรือข้าวหน้าหอยลายญี่ปุ่น มีประวัติมาเป็นร้อย ๆ ปีค่ะ
คือถือว่าเป็นอาหารจานด่วนสำหรับชาวประมง ที่ต้องทำงานอย่างเร่งรีบในเมืองฟุกางาวะ ที่อยู่ใกล้กับปากแม่น้ำซุมิดะในโตเกียว ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียง ในด้านการเก็บหอยอาซาริ หรือหอยลายญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยเอโดะ
แต่ร้านนี้ไม่เก่าแก่ขนาดนั้นนะคะ ท่านเจ้าของบอกว่าเปิดมาแล้ว 30 ปี ดูจากภายนอกก็พยายามที่จะตก
แต่ง ให้มีความเป็นญี่ปุ่นสมัยโบราณอยู่นะคะ (ภาษาญี่ปุ่น) คุณผู้ชมสงสัยใช่ไหมว่า… ทำไมเราต้องสัมภาษณ์ข้างนอก และไม่เข้าข้างใน ก็เพราะว่ามีลูกค้าเยอะอยู่ข้างในร้าน และก็ทางร้านก็ไม่อยากให้เห็นลูกค้านะครับ
ไม่อยากให้เห็นหน้าลูกค้า
เพราะเป็นสิทธิของส่วนบุคคล
ดังนั้น เขาไม่อยากให้เข้า แล้วอาหารเป็นอาหารหอยที่มีมิโซะ ข้าวหน้าหอยมิโซะ ก่อนหน้านี้เมื่อ 500 ปีก่อน เป็นอาหารของ 500 ปีก่อน ทางด้านนี้มีทะเล แล้วก็มีชาวประมงมาอยู่ที่นี่กันเยอะเลย เป็นต้น
ตำรับนะครับ
ก็เข้าไม่ได้ ก็เลยมาสัมภาษณ์ข้างนอกครับ
(บรรยาย) เธอบอกว่า
ตรงนี้เป็นพื้นที่ใกล้ทะเลมากด้วยนะคะ แทบจะเดินไปได้เลย จึงทำให้ร้านนี้มีชาวประมงมากินข้าวหน้าหอย เป็นอาหารเช้ากันเป็นประจำด้วยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) ฟุกางาวะเมชิ มีอยู่สองอย่างก็คือ สำหรับชาวประมง กับช่างไม้ แล้วชาวประมงกับช่างไม้กินไม่เหมือนกันหรือ ไม่เหมือนกันครับ
สำหรับชาวประมงต้องกินแบบของอบอุ่น เพราะว่าไปทะเลมันหนาวมาก ก็เลยต้องมีแบบว่า ราดน้ำแกง ก็จะมีความร้อนเลย กินแล้วก็แบบ… [เสียงกิน] อย่างนี้เลย นี่คือชาวประมง และนี่คือช่างไม้ ก็คือแบบว่ามีข้าวอบหอย ข้าวอบหอย ก็คือ… กินแล้ว สามารถปั้นเอาไปกินที่ทำงานก็ได้ครับ

ดังนั้นก็จะต่างกันครับ
(บรรยาย) ไม่ว่าจะเป็น
ข้าวสำหรับชาวประมง หรือช่างไม้ เราก็อยากจะลองทั้งนั้นแหละค่ะ
นี่อยากเข้าไปในร้านแล้วนะคะนี่
แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตค่ะ

แต่ความสำคัญของข้าวหน้าหอยเมนูนี้ มียิ่งไปกว่าการเป็นอาหารเก่าแก่ เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดให้ข้าวหน้าหอย เป็นหนึ่งในร้อยอาหารพื้นบ้านของญี่ปุ่นด้วยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) อาหารทั้งหมดนี้ครับ
ถูกคัดเลือกมาหนึ่งในร้อยนะครับ
ก็คือจากกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เป็นอาหารประจำเมือง พื้นเมือง อาหารประจำเมือง เมืองนี้กินอย่างไร ปรุงอย่างไร แล้วก็ผลิตอย่างไร ให้เห็นถึงวัฒนธรรม
และประเพณีการกินของเมืองต่าง ๆ และของอำเภอต่าง ๆ วิธีการกิน ก็เลยถูกบันทึกไว้ในนี้ครับ
โอ้โฮ ถูกแยกออกมาเยอะแยะเลย ดีมาก ๆ เลย สุดยอดเลย (บรรยาย) น่าสนใจมากเลยนะคะ เดี๋ยวจะต้องไปตามดูเสียแล้วว่า… อาหารพื้นเมืองของญี่ปุ่นตั้งร้อยชนิดมีอะไรบ้าง ตอนนี้มาเริ่มที่ข้าวหน้าหอยกันก่อนเลยค่ะ
(ฟูจิ) ผมเพิ่งรู้นะเวลาผมขึ้นชินคันเซ็น จะมีข้าวปิ่นโตฟุกางาวะเมชิ ฟุกางาวะเมชิ ผมเพิ่งรู้ว่า
มันมาจากเมืองนี้ มันมาจากอำเภอนี้ ผมอยู่มาตั้งหลายสิบปีไม่เคยรู้เลย เขาบอกว่าร้านนี้นะครับ
ในเมืองนี้จะมีร้านที่ทำร้านฟุกางาวะเมชิ แค่ไม่ถึง 10 ร้านแล้วนะ
ดังนั้น เมื่อไม่ถึง 10 ร้าน เกิดอะไรขึ้นครับ
ก็หาได้ยาก แล้วบอกว่าร้านนี้มีจุดเด่นอย่างไร ท่านบอกว่า ต้องเป็นหอยญี่ปุ่น
ถ้ามาร้านนี้กินของญี่ปุ่นต้องเป็นหอยญี่ปุ่น ข้าวอบหอยมิโซะญี่ปุ่น (บรรยาย) เราก็อยากรู้เหมือนกันนะคะว่า คนญี่ปุ่นเขารู้กันหรือไม่ ว่าเมนูพิเศษจากหอยจานนี้ เป็นหนึ่งในร้อยอาหารพื้นถิ่นที่น่าสนใจของญี่ปุ่น ลองเข้าไปถามในร้านกันเลยดีกว่าค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) ท่านบอกว่ามาที่นี่มาอย่างไร ก็คือเสิร์ชจากอินเทอร์เน็ตมา เพราะว่าการกินข้าวฟุกางาวะเมชิ ไม่ได้หากินง่าย ๆ ครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) ท่านบอกว่าเพื่อนมาจากต่างจังหวัด สองคนนี้มาจากโตเกียว ไหน ๆ มาแล้ว
ก็ให้กินอาหารพื้นเมืองที่นี่เสียเลย ก็เลยพามาที่นี่ครับ
บอกว่า
ถ้าไม่มาที่นี่ก็หากินได้ยากหน่อย
ถ้าจะกินของแท้ก็ต้องมาเมืองนี้ครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) ท่านบอกว่าเวลา
ถ้าเราอยากกิน ให้เราเสิร์ชจากอินเทอร์เน็ตดูว่า… อาหารประจำเมืองนั้นมีอะไรบ้าง ก็จะเสิร์ชมาครับ
(บรรยาย) ลูกค้าทราบกันดีอยู่แล้วค่ะ
ว่า
ถ้าจะกินข้าวหน้าหอยที่เป็นต้น
ตำรับ
ต้องมาร้านนี้ ส่วนเจ้าของร้านนั้นบอกว่า… โอ๊ย… ข้าวหน้าหอยทำไม่ยากหรอก ก็ทำมา 30 ปีแล้ว คิดว่าหลับตาทำอาจจะได้แล้วด้วยนะคะ สิ่งที่ไม่ยาก จะทำให้อร่อยนะมันยาก
เพราะฉะนั้นจะต้องใช้มิโซะพิเศษ การเท ราดอะไรพิเศษ มันยากหน่อยครับ
และไม่พอ เขามีของกินอย่างอื่นหลายอย่างนะ (ภาษาญี่ปุ่น) ธรรมดาแล้ว อันนี้ก็คืออาหารชาวประมง และอันนี้คือช่างไม้ คุณจะเลือกอะไรสักอย่างใช่ไหมครับ

แต่ว่าผมเป็นคนโลภมาก ผมเอาคู่หนึ่ง ก็คืออย่างนี้เลยครับ
ทั้งช่างไม้และชาวประมง ผสมอยู่ในจานเดียวกัน อยู่ในถาดเดียวกัน ดีไหม (บรรยาย) เป็นเรา
ก็คงจะเลือกเหมือนฟูจิเซ็นเซนะคะ คืออยากจะลองทั้งสองเมนูเลยค่ะ

แต่จะกินหมดหรือไม่ ว่ากันอีกที มาถึงที่แล้วก็ต้องลองให้ครบค่ะ

[เสียงดนตรี]

รอให้น้ำเดือด พอให้น้ำเดือดปุ๊บใส่มิโซะ มิโซะใส่แล้ว ก็ใส่หอย ใส่หอยแล้ว ก็ใส่เนงิ (แปลว่า ต้นหอม)
หอมยาว แล้วก็ผสมกับข้าว นี่ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ดูง่าย ๆ
แต่ว่ามันมีจังหวะมาก ๆ เลยครับ
จะทำให้อร่อยดูทำอย่างไร โอเนไงชิมัส (แปลว่า เชิญเลยครับ
)

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) เราเชื่อค่ะ
ว่าต้องหอมฉุยแน่นอน จากเดิมที่เราจะกินข้าวหน้าหอย ได้จากอาหารเบนโตะตามสถานีรถไฟ วันนี้ฟูจิเซ็นเซได้กินแบบร้อน ๆ จะฟินขนาดไหนกันนะ

[เสียงดนตรี]

โอ้โฮ (ภาษาญี่ปุ่น) มาแล้ว

[เสียงดนตรี]

นี่ครับ
ของชาวประมงกับช่างไม้ครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) มาเรียบร้อยแล้วครับ
ถึงเวลากินแล้ว แล้วเป็นอย่างไร นี่คือข้าวสำหรับชาวประมง จะร้อน ๆ ควรกินตอนร้อน ๆ แล้วบอกว่าก่อนกินต้องคนกันดี ๆ ก่อน และนี่ก็ของช่างไม้ครับ
พร้อมแล้ว กินเลย (ภาษาญี่ปุ่น) สุดยอด กินเลย (ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

ยกขึ้นครับ
วิธีการกินให้มันอร่อยของญี่ปุ่น ก็คือยกขึ้นกิน แค่กลิ่นยังหอมเลย ลองดูสิว่ามันเป็นแบบไหน

[เสียงดนตรี]

โอ้โฮ อุไม (แปลว่า อร่อย) อร่อยมากเลย

[เสียงอุทาน]

เลิกไม่ได้ หอยอยู่ในความนุ่มและมันตัวใหญ่ หอมแล้วก็หวานมาก สุดยอด (บรรยาย) อยากจะแทรกผ่านจอ เข้าไปชิมด้วยเลยนะคะนี่ ทำร้ายกันมากมายจริง ๆ ค่ะ
ฟูจิเซ็นเซ (ภาษาญี่ปุ่น) รู้ไหมครับ
ว่า อาซาริ ดูเหมือนธรรมดา
แต่มันลึกซึ้งนะ เขาบอกว่าจะใช้หอยของแถวนี้ จะไม่ใช้หอยของฮอกไกโด
ถ้าเป็นหอยฮอกไกโดมันจะแข็ง และมันจะต่างกัน มันเคี้ยวยาก
เพราะฉะนั้น
ถ้าเป็นของที่นี่ ต้องกินของที่นี่ หอยจากแถวนี้ครับ
(บรรยาย) ต่อไปมาลองข้าวหน้าหอยในตำรับ สำหรับช่างไม้กันค่ะ
อย่างที่เจ้าของร้านบอกนะคะ สำหรับชาวประมงออกเรือแล้วจะหนาว ก็ให้กินแบบที่มีซุปร้อน ๆ ผสมด้วย
แต่ของช่างไม้จะมาแห้ง ๆ แบบนี้ค่ะ
(ฟูจิ) นี่ครับ
ของช่างไม้ ข้าวของช่างไม้ หอมมาก (ภาษาญี่ปุ่น) นี่ก็อร่อยมาก นุ่ม หอม

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) วิธีการของอันนี้ก็คือ… การเอาหอยมาใส่รสชาติ แล้วก็มาหุงกับข้าว จุดเด่นอันนี้ก็คือ ใส่แค่ซีอิ๊ว ทำให้รสชาติของอาซาริ คุณได้สัมผัสมันมากกว่า (บรรยาย) ก็ไม่น่าแปลกใจนะคะว่า ทำไมร้านนี้จึงมีชื่อเสียง เพราะว่าขายข้าวหน้าหอยในเมืองที่มีหอยชนิดนี้มาก และเจ้าของร้านก็เป็นคนเกิดที่เมืองนี้ด้วย
ดังนั้นจึงเข้าใจในอาหารชนิดนี้ได้ดีจริง ๆ ค่ะ
มีลูกค้าที่ไหนบ้าง ท่านบอกว่า ญี่ปุ่นมีคนทั่วประเทศมากินกัน แล้วคนต่างประเทศก็มากินกัน โดยเฉพาะบางที่เป็นช่วงที่ท่องเที่ยว คนต่างประเทศอาจจะมาเยอะ มากินเยอะกว่าคนญี่ปุ่นด้วยซ้ำไป ผมก็เลยบอกว่า
ถ้าคุณอยู่ที่นี่ก็เหมือนกับได้เที่ยวรอบโลกเลยสิ ได้เจอคนนู้นคนนี้คนนั้นตลอดเลย (ภาษาญี่ปุ่น) ท่านก็บอกว่าการกินฟุกางาวะเมชิ กินแล้วได้ย้อนยุคไปเจอคนในยุคหลังครับ
ยุคก่อน ก็คือว่าเขากินกันอย่างไร มีประเพณีอย่างไร มีวัฒนธรรมการกินอย่างไร สอง กินแล้วมันอร่อย แล้วก็ทำให้ร่างกายแข็งแรงได้ด้วย อร่อย แข็งแรง แล้วก็รู้ถึงวัฒนธรรม รู้ถึงคนสมัยก่อน ต้องมากินให้ได้ครับ
(บรรยาย)
แต่ว่าในมุมของคนพื้นถิ่นอย่างเธอ ข้าวหน้าหอยเป็นมากกว่า
แค่เมนูอาหารประจำถิ่นนะคะ เมื่อสักครู่นี้
เวลาโปรดิวเซอร์บอกคัตนะครับ
ท่านบอกว่าอย่าเพิ่งคัต มีคำสำคัญอีกข้อหนึ่งสุดท้ายต้องพูดให้ได้เลย การที่มีโตเกียวในวันนี้ มันมาจากคนที่กินฟุกางาวะเมชิ แล้วสร้างเมืองขึ้นมา ถึงจะเป็นโตเกียวขึ้นมาได้ คุณควรจะรักษามัน และก็ควรจะรู้รสชาติของมัน เพราะว่าหนึ่งในนั้นในการสร้างโตเกียว มันมาจากต้นตำรับ ของการกินฟุกางาวะเมชิมาก่อนครับ
(บรรยาย) ขอบคุณมากเลยนะคะ ที่ถ่ายทอดความรู้สึกนี้ให้เราฟัง เพราะว่ามันทำให้ข้าวหน้าหอยดูทรงคุณค่า และน่าลิ้มลองมากขึ้นไปอีกอักโขเลยค่ะ

แต่ว่าเพื่อให้เข้าใจความเป็นเมืองนี้จริงจัง เราก็เลยจะพาไปชมสถานที่ ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของเมือง ให้ละเอียดลึกซึ้งเพิ่มขึ้นค่ะ
ตามไปกันค่ะ
เราอยากเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมของฟุกางาะ ดังนั้้น เราก็เลยต้องมาที่ศูนย์วัฒนธรรมฟุกางาวะ ไปดูสมัยเอโดะว่าเป็นเรื่องราวอย่างไร อยู่ที่พิพิธภัณฑ์เลย ไปเจอกับคุณเอฮาระกันครับ

[เสียงดนตรี]

ถ้าเราจะมาพิพิธภัณฑ์
แล้วมีคนช่วยอธิบายจะสนุกมากเลย (ภาษาญี่ปุ่น) ที่นี่เปิดมาแล้ว 30 กว่าปี นะครับ
เพื่อที่จะเรียนรู้สมัยเอโดะ เมื่อ 180 ปีก่อน มันเป็นเรื่องที่แบบว่าน่าสนใจมาก เขาใช้ชีวิตอย่างไร ผู้ใหญ่ใช้ชีวิตอย่างไร
ไปดูกันครับ
(บรรยาย) จากจุดนี้… เราจะเข้าไปสู่บรรยากาศของเมืองนี้ เมื่อ 180 ปีที่แล้วค่ะ
(ฟูจิ) นี่คือสมัยตอนเอโดะนะครับ
ผู้หญิงที่
แต่งงานแล้วจะทาให้ฟันสีดำ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) ในสมัยนั้นตอนอายุ 10 ขวบ เด็กจะออกไปทำงาน โอ้ โอ้ เมื่อเราเดินเข้ามาแล้วจะมีการร้อง แมว เพื่อเป็นการต้อนรับ (บรรยาย) พิพิธภัณฑ์จัดได้น่าสนใจมากเลยนะคะ คือไม่ใช่เน้นที่ตัวหนังสือมากมาย
แต่อาจให้เราได้จินตนาการบรรยากาศ ในช่วงเวลานั้นจริง ๆ ด้วยเสียงธรรมชาติค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ก็ได้เห็นเมืองสมัยก่อนเป็นอย่างไร นี่ก็คือร้านขายผักเนอะ ร้านขายผัก และส่วนนี้ก็คือ ร้านที่หรู ๆ เป็นร้านอะไร เป็นร้านพ่อค้าคนกลาง จะรวยมาก ๆ เลย (บรรยาย) สงสัยใช่ไหมล่ะคะว่า แล้ว
ถ้าคุณผู้ชมมาเดินชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เอง จะรู้เรื่องหรือไม่ รู้เรื่องค่ะ
เพราะว่าเจ้าหน้าที่ก็จะพาชมแบบนี้ได้เช่นกัน จะทำให้เราเข้าใจการจัดแสดงทุกอย่าง อย่างลึกซึ้งค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) จริง ๆ แล้วนะครับ

ถ้าเพื่อน ๆ เป็นนักท่องเที่ยวมาที่นี่ สามารถให้ไกด์เป็น วอลันเทียร์ (Volunteer) ช่วยสามารถพาเที่ยวได้ด้วย แล้วจะอธิบายว่านี่คืออะไร ๆ เป็นภาษาอังกฤษเลย (ภาษาญี่ปุ่น) นี่ก็คือร้านขายข้าว แล้วร้านขายข้าวธรรมดาเป็นอย่างไร ข้าวกล้องทำอย่างไรให้เป็นข้าวสีขาว นี่ก็คือร้านที่มีรายได้เยอะเลย รับข้าวกล้องมาเป็นข้าวขาว เขาจะมีเครื่องทำข้าวขาว อยากรู้ไหมทำอย่างไร (ภาษาญี่ปุ่น) ไปสัมผัสเลย (ภาษาญี่ปุ่น) อ๋อ ใช้ตัวนั้นได้ด้วย อ๋อ ก็ถามต่อนะครับ
ว่า… ทำอย่างนี้ไม่ทำให้ข้าวมันแตก มันจะละเอียดเป็นข้าวแตกเลยหรือ เขาบอกว่าต้องใช้ขาสัมผัสแบบเบา ๆ ที่ประเทศไทยก็อาจจะคล้าย ๆ กันก็ได้อย่างนี้ เบา ๆ อย่าแรงไป เดี๋ยวข้าวจะแตก (ภาษาญี่ปุ่น) คนเอโดะ คนโตเกียว คนสมัยก่อน กินข้าววันละ 900 กรัม เลยนะ (ภาษาญี่ปุ่น) นี่ก็คือประตูใหญ่ของเมือง จะเปิดทำการตั้งแต่ 6 โมงเช้า – 4 ทุ่ม

แต่…

ถ้าเลย 4 ทุ่มแล้ว ประตูจะปิด คนที่อยู่ในเมืองก็จะอยู่ในเมือง คนที่อยู่นอกเมืองจะเข้ามาไม่ได้ เพราะว่ามันจะมืดมาก ๆ ครับ
ป้องกันอันตราย และป้องกันคนเข้ามาขโมยครับ
(บรรยาย) ต่อไปเป็น
อุปกรณ์การประกอบอาชีพในสมัยโบราณ ที่เห็นแล้วก็ยังนึกไม่ออกว่าใช้งานอย่างไร ลองดูแล้ว เดาสิคะว่าเอาไว้ทำอะไร อย่างนี้ หาบอย่างนี้ (บรรยาย) นั่นละค่ะ
ท่านั้นถูกต้องเลย นี่คือหาบ ในเวอร์ชันแบบญี่ปุ่น ดูเหมือนจะหนักมากเลยนะคะ เมื่อเทียบกับหาบเร่ของบ้านเรา และคำถามต่อไปก็คือ… หาบเร่หน้าตาแบบนี้ เอาไว้ขายอะไร อันนี้คิดว่าเดาอย่างไร ก็คงเดาไม่ถูกละค่ะ
ฟูจิเซ็นเซเฉลยหน่อยค่ะ
(ฟูจิ) ขาย…

[เสียงดนตรี]

แมลง

[เสียงดนตรี]

นี่แมลง ดูสิ ในสมัยเอโดะ ท่านบอกว่าชอบแมลงที่มันร้อง หวี่ ๆ แล้วก็ วี้ด ๆ อย่างนี้ ชอบ แล้วเอามาขาย เป็นธุรกิจขายแมลง มีอย่างนี้ด้วยนะ น่าสนใจมากเลย และไม่พอ ผมถามว่าเขียนแล้วอ่านออกไหม คนญี่ปุ่นหลายคนอ่านไม่ออก ผมก็อ่านไม่ออก เป็นคันจิสมัยเก่ามากเลย เลยดูไม่ออก
ถ้าไม่สังเกต ไม่เข้าใจเลย (บรรยาย) หลายอย่างในนี้ เดาอย่างไร ก็เดาไม่ถูกนะคะ ว่าใช้งานกันอย่างไร ความรู้สึกเป็นอย่างไร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตจริง ๆ ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) บ้านข้างบนเป็นอย่างไร
และข้างในเป็นอย่างไร เราสามารถเข้าไปสัมผัสได้ด้วย (ภาษาญี่ปุ่น) ดูสิครับ
ว่าได้สัมผัสจริง นี่คือเป็นไผ่และเป็นกระดาษจริงครับ
เอาไว้กางร่มจริง ๆ ได้ถ่ายรูปจริง ๆ ได้สัมผัสจริงเลย ดูสิ สมัยก่อนเขาทำกันอย่างนี้หรือ โอ้โฮ สวยงามจริง ๆ เลย มาบ้านสมัยคนเอโดะเลย (ภาษาญี่ปุ่น) ดูสิ เราเข้ามาในยุคเอโดะดูสิ สมัยเอโดะใช้เสื่อทาตามิแบบนี้อยู่ ตอนนี้บ้านผมก็เป็นอย่างนี้อยู่นะ มันไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยเหมือนเดิม (ภาษาญี่ปุ่น) นี่ก็คือบทเรียนของญี่ปุ่น ก็คือ… สมัยก่อนจะมีไฟไหม้บ่อย 10 ปี จะมีครั้งหนึ่ง คือ มีไฟไหม้ยักษ์เลย
ถ้าเกิดไฟไหม้มันมากกว่าขโมยขึ้นอีกนะ
เพราะฉะนั้นจะต้องมีการเตรียมน้ำแบบนี้ เป็นกฎหมายเลย (บรรยาย) และนอกจากข้าวหน้าหอยอาซาริแล้ว ในสมัยนั้น ก็กินเทมปุระกันด้วยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) แถวนี้เมืองก็จะมีทะเล อันนี้คืออะไร คือเทมปุระ เทมปุระสมัยก่อน เป็นเทมปุระที่เป็นกุ้ง หอย ปู ปลา แล้วบอกว่า คนที่จะมากินก็คือ
ซื้อกินอย่างนี้เป็นไม้ ๆ เลยครับ
คล้าย ๆ กับลูกชิ้น จะอยู่ในราคา 100 เยน
แต่สมัยนี้แพงมากครับ
พวกปลา พวกอะไรสมัยก่อนนี้ คนชาวบ้านจะได้กินกัน
แต่คนในเมืองจะไม่ได้กิน เขาบอกอย่างนี้ (ภาษาญี่ปุ่น) นี่ก็คือคล้าย ๆ กับอะไร โรงเตี๊ยม อะไรประมาณนั้นหรือเปล่า โรงกาแฟ ชา กาแฟ มานั่งกินกัน แล้วก็สูบบุหรี่กัน
แต่มีข้อดีอย่างหนึ่ง… สมัยก่อนคนที่มาเสิร์ฟ คือ สาว ๆ ที่สวย ๆ คนก็อยากมากินกาแฟ กินชากัน ด้วยความอยากเจอสาว ๆ ถึงขนาดเข้าคิวเลยนะ นี่คืออะไรครับ
นี่ก็คือยุ้ง ไม่ใช่ ไม่ใช่วางข้าวนะ นี่เป็นที่เตือนภัยเวลาเจอเพลิงไหม้ เพราะที่ประเทศญี่ปุ่น ทุก ๆ 10 ปี
จะมีเพลิงไหม้ใหญ่ เมืองจะไหม้ทั้งเมืองเลย
เพราะฉะนั้น เขาลงทุนนะครับ
เพราะว่าไฟไหม้เป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ เขาลงทุนจ้างคนให้ขึ้นไปดูนะครับ
ว่า… ตรงไหนมีควัน ตรงไหนมีไฟ จะมีการสั่นกระดิ่ง ตีฆ้อง ตีระฆัง เพื่อให้คนได้เตือนภัย เพราะว่าขโมยเข้าร้อยครั้ง ไม่เท่ากับเพลิงไหม้หนึ่งครั้ง (ภาษาญี่ปุ่น) สมัยก่อนใช้สัตว์ในการขนของ มันขนยาก วิธีที่ง่าย ก็คือการขนของทางเรือ ก็คือในเมืองก็จะมีเรือในการขนของ เหมือนประเทศไทยเลยเนอะ สมัยก่อนใช้เรือในการขนของ ตรงไหนมีน้ำ ตรงนั้นมีเมืองครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) นี่ครับ
ดูสิ หอยเต็มเลย เมืองนี้จับหอยได้เยอะ เป็นหอย เปลือกหอยฟุกางาวะ [เสียงเทปในพิพิธภัณท์] เขาพูดว่าอะไร อันนี้ไง ขายหอย (ภาษาญี่ปุ่น) อาซาริ ชิจิมิ ชิจิมิโนะ ขายหอยอาซาริ ขายหอยชิจิมิ (บรรยาย) นี่แหละค่ะ
เครื่องมือในการเก็บหอยอาซาริตั้งแต่สมัยเอโดะ และการส่งเสียงขายหอยอาซาริในตอนนั้นค่ะ
ได้บรรยากาศมากเลยนะคะ จากบรรยากาศชาวประมง มาดูบ้านช่างไม้กันบ้างดีกว่าค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) รู้ไหมครับ
นี่คือบ้านของใคร บ้านอย่างไร คำตอบก็คือ บ้านของช่างไม้ เขาบอกว่าเอาไม้ต้นซุงใหญ่ ๆ เอาคนมาตัด ทำเป็นไม้ เป็นเสาเพื่อจะทำบ้านครับ
นี่คือบ้านของคนช่างไม้ครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) เอาไว้ทำอะไร ไม่มีมะม่วง ดึงไม้ ดึงโต๊ะ ดึงประตู เพื่ออะไรรู้ไหม เครื่องพังบ้าน คืออย่างนี้ครับ
ในสมัยเอโดะแสดงให้เห็นว่าไฟไหม้บ่อย ไฟไหม้แล้ว วิธีการก็คือ เวลาไฟมันลามไปที่อื่น ไม่ให้ลาม คือ พังบ้านไปเลย มันจะได้ไม่ต่อกัน นี่คือเครื่องพังบ้านตัวเอง ไม่ให้มันลามไปที่อื่น นั่นแหละ เขาบอกว่าสมัยเอโดะบ้านบางบ้าน สร้างแบบบ้านให้มันพังง่าย ๆ อยู่ 5 ปี ถือว่าคุ้มแล้ว อะไรอย่างนี้ (บรรยาย) นี่คือวิธีการแก้ปัญหาเพลิงไหม้
ในยุคสมัยนั้นนะคะ เหมือนจะเป็นแบบกำปั้นทุบดิน
แต่ว่าก็หยุดเพลิงลุกลามได้จริงค่ะ
ตอนนี้มาที่ร้านจำลองอีกร้าน ที่แสดงให้เห็นว่า… เมืองนี้เกี่ยวพันกับหอยจริง ๆ ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ในสมัยนี้เป็นทะเล เมืองฟุกางาวะเมชิก็คือ… มูกิมิ คือร้านอะไรรู้ไหม ร้านแกะเนื้อหอยออกจากเปลือกหอย นี่คือร้านแบบนั้นเลย โดยเฉพาะเลยนะ ทำหน้าที่แค่แกะ ๆ เลย (บรรยาย) ต้องขอขอบคุณทางพิพิธภัณฑ์มากเลยนะคะ ที่ให้เราเข้ามาชมบรรยากาศ และก็อธิบายให้ฟังอย่างเห็นภาพชัดเจนเลยค่ะ
ไปโตเกียวครั้งต่อไป อย่าลืมนึกถึงเมืองฟุกางาวะ และฟุกางาวะเมชิด้วยนะคะ จะได้กลิ่นอายสมัยเอโดะอย่างแท้จริงค่ะ
(ฟูจิ) เรื่องราววันนี้ก็คือ… เมืองของอาตามิ และตอนนี้เราอยู่ที่ ปัจจุบันนี้อยู่สถานีอาตามิ
ถ้ามาอาตามิต้องกินออนเซ็นมันจู ก็คือซาลาเปาออนเซ็น เหมือนไก่ย่างเลย เขาบอกนิ่มมาก ลองกินดูครับ
เอาขาแช่ออนเซ็นได้ฟรี เพราะอะไรรู้ไหม… (บรรยาย) พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่น
ที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *