ผมไม่ใช่เด็กโตเกียวกับเรื่องของเด็กลูกครึ่งไทยญี่ปุ่น

1023 0

(บรรยายหญิง) วันนี้เราขอแนะนำให้รู้จักเพจ ผมไม่ใช่เด็กโตเกียว สวัสดีครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) อันนี้นก นก 4 ตัว [เสียงซอ] (บรรยาย) ครอบครัวเล็ก ๆ ที่มีคุณแม่ก้อยกับคุณพ่อชาวญี่ปุ่น และหนุ่มน้อยสองคน พี่เซะ น้องคิริ ที่จะมาเล่าชีวิตใน
แต่ละวันในญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่คือรถหวอ กำลังขับตามเขานะ (ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) ผ่านมุมมองการเลี้ยงลูก ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจความเป็นญี่ปุ่นได้มากขึ้นค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) วันนี้พวกเราเดินทางลงใต้กันค่ะ
ไปที่จังหวัดโอกายามะ เพื่อไปตามหาครอบครัวหนึ่ง ที่มีคุณแม่เป็นคนไทย คุณพ่อคนญี่ปุ่น และหนุ่มน้อยสองคน ที่เป็นลูกครึ่งไทยญี่ปุ่น ความเป็นครอบครัวผสมผสานแบบนี้ ทำให้มีเรื่องเล่าดี ๆ ที่จะแบ่งปัน จนทำให้คุณแม่หรือคุณก้อยตัดสินใจทำเพจ เล่าเรื่องราวการเลี้ยงลูกของตัวเองขึ้นมา ชื่อเพจว่า ผมไม่ใช่เด็กโตเกียว แล้วที่ไม่ใช่เด็กโตเกียวนั้น เป็นเด็กที่ไหน เราตามฟูจิเซ็นเซไปพบกับพวกเขากันค่ะ
(ฟูจิ) เด็กวากายามะกำลังจะไปหาเด็กโตเกียว เด็กโตเกียวกำลังไปหาเด็กวากายามะ ตอนนี้เรากำลังเดินทางมาที่โอกายามะ มาชานเมือง มีน้องคนหนึ่ง
ซึ่งมีแรงบันดาลใจให้กับเรามากเลย เพราะว่าน้องคนนี้เก็บเงินได้ 30 เยน แล้วเอาไปให้กับตำรวจ แล้วตำรวจก็ติดต่อมารับเงิน 30 เยน
เอากลับไปที่โรงพัก คุณพ่อคุณแม่หรือสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ที่ทำให้เขาเป็นเด็กที่ซื่อสัตย์ ต้องไปดูกันครับ
ว่า สิ่งแวดล้อมหรือใครสอน
ให้เขาเป็นคนที่ซื่อสัตย์อย่างนี้ได้ ไปดูกันเลย

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) ตอนนี้เรามาถึงโอกายามะโดมนะครับ
นี่ครับ
มีเด็ก ๆ รวมตัวกันแล้วนะครับ
เดี๋ยวคุณก้อย ซึ่งเป็นคุณแม่กำลังจะมารับพวกเรา อยู่ในช่วงไต้ฝุ่นมา ฝนแรง ไต้ฝุ่นลมแรง เด็กยังฝึกกันอยู่เลย ไม่เลิกเลยนะ กลางฝนเลย

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย)
ถ้ามีใครติดตามเพจ ผมไม่ใช่เด็กโตเกียว คงจะรู้ว่าสองหนุ่มน้อย ลูกชายคุณก้อยคนโตชื่อ พี่เซะ ส่วนคนเล็กชื่อ น้องคิริ นะคะ สองคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน
ดังนั้น จึงมีวิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันด้วยค่ะ
(แม่ก้อย) มาอยู่ที่นี่ได้หกปีแล้วค่ะ
(ฟูจิ) มาอยู่ที่นี่ได้หกปี
อยู่เมืองไทยจนถึง 3 ขวบ (แม่ก้อย) ใช่ค่ะ
คนโตอยู่เมืองไทยถึง 3 ขวบ
แล้วก็ย้ายมาที่นี่ค่ะ
(ฟูจิ) ยังพูดไทยได้ไหม พูดไทยพอได้ค่ะ

แต่เดี๋ยวนี้เหมือนกับภาษาญี่ปุ่นเขาไปไว
แต่เขาก็ยังพูดนะคะ ดีครับ

แต่ว่าสิ่งแวดล้อมที่นี่มันมีแค่ภาษาญี่ปุ่น

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) แล้วเราก็เจอกับหนุ่มน้อยคนแรก น้องคิริ เป็นธรรมดานะคะ
เพิ่งพบกันก็จะเขิน ๆ หน่อยค่ะ
ส่วนคนพี่ กำลังวิ่งฝ่าสายฝนกันอยู่ในสนามค่ะ
มีคิวต้องแข่งก็ต้องแข่ง แม้ฝนจะตกขนาดนี้ เรามีเป้าหมายในการเลี้ยงลูกอย่างไรครับ
คือจริง ๆ เราไม่ถึงกับวางแผนอะไรมาก เพียง
แต่ว่า
ถ้าพูดถึงเป้าหมายรวม ๆ เรามองเหมือนกับพ่อเขา เรามองคล้ายกันตรงที่ว่า เป้าหมายคือ ให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำ ให้ได้ดีที่สุดเท่าที่เขาทำได้ ไม่ว่าเขาจะชอบสายไหนหรือถนัดสายไหน เราก็ส่งเสริมไปด้านนั้น แล้วก็อันไหนที่เขาไม่ถนัดหรือเขาไม่ชอบ เราก็คอยประคับประคอง คือเหมือนกับว่าเราไม่จำเป็นต้องอัดให้เขาค่ะ

แต่ว่าเราก็ค่อย ๆ ป้อนให้เขาไปบ้าง เพื่อที่ว่า
ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ชอบ

แต่ว่าจริง ๆ แล้วพอโตขึ้น เขาก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องเอามันไปใช้
อะไรอย่างนี้ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย)
ถ้าติดตามในเพจก็จะเห็นว่า คุณก้อยให้ลูกลองทุกอย่างจริง ๆ ค่ะ
แม้ว่าลักษณะนิสัยหรือด้วยวัย
จะทำให้ยังทำไม่ได้ดี
แต่ก็ไม่หยุดที่จะพยายามไปด้วยกัน บนความคิดที่ว่า ไม่บังคับ
แต่ทำให้ลูกท้าทายตัวเอง ลงมือทำ ฝึกฝน อย่างเช่น การที่น้องคิริ ต้องเรียนเปียโน ต้องซ้อมเพื่อทำการแสดง แม้ว่าสมาธิจะยังมีไม่มาก ซึ่งเป็นไปตามวัย
แต่ด้วยความคิดที่ว่า ไม่ยอมแพ้ ก็ทำสำเร็จแสดงโชว์จนได้ค่ะ
[เสียงเปียโน] [เสียงปรบมือ] (ฟูจิ) ที่ไทยและที่ญี่ปุ่นแตกต่างกันไหม หรือว่าเหมือนกันตรงไหน (แม่ก้อย)
ถ้าพูดถึงความแตกต่าง จริง ๆ พอมาระยะหลัง ๆ
เราเจอกับผู้ปกครองไทยหลาย ๆ คน จริง ๆ คนไทยก็มีการใช้วิธีเลี้ยงลูกที่แบบ…
ถ้าโดยส่วนรวมแนวญี่ปุ่นกับไทย
ที่เจอว่าแตกต่างกันชัดก็คือ… พอเรามาญี่ปุ่น เด็ก ๆ จะได้สัมผัสกับหลากหลายสิ่ง
หลากหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ แมลง ป่า ต้นไม้ แม่น้ำ หรืออะไรพวกนี้ค่ะ
คือเขามีโอกาสได้สัมผัสทุกสิ่งทุกอย่าง แม้
แต่เด็กเล็ก ๆ วิ่งเท้าเปล่า อะไรอย่างนี้ค่ะ
คือได้ใช้ทั้งร่างกาย ความคิด อะไรพวกนี้เยอะ

[เสียงดนตรี]

พูดถึงการเลี้ยงแบบญี่ปุ่น ก็ต้องคุยกับคุณพ่อบ้างนะคะ ท่านนี้แหละค่ะ
คุณพ่อของสองหนุ่มน้อย (ภาษาญี่ปุ่น) คุณพ่อบอกว่ามีวิธีการเลี้ยงลูกอย่างไร ท่านบอกว่าพี่ชายกับน้องชายไม่เหมือนกัน น้องชายก็คือจะชอบในสิ่งที่ตัวเองชอบเท่านั้น
แต่ว่าคนพี่ชายคือเขาอาจจะไม่ได้ชอบอะไร คือไม่ถึงกับว่าชอบมาก
หรือมีสิ่งที่ชอบมาก อะไรอย่างนี้
แต่ว่าคุณพ่อก็จะมีการลองทำดูสิ ก็จะลองดู (บรรยาย) คงเป็นเรื่องธรรมดา
สำหรับการเป็นคุณพ่อคุณแม่นะคะ ต้องมีคนหนึ่งดุ คนหนึ่งปลอบ เพราะต้องมีใครสักคนที่ลูกกลัวกว่า เพื่อให้คอยกำราบไว้เวลาที่ดื้อมาก ๆ ค่ะ
และสำหรับครอบครัวญี่ปุ่นแบบนี้ ที่คุณพ่อเป็นคนทำงานนอกบ้าน ก็จะมีเวลาอยู่กับลูกน้อยกว่าคุณแม่ แถมลูกยังเป็นผู้ชายด้วย ก็เลยทำให้เวลาน้อยนิดที่ได้อยู่ด้วยกัน กลายเป็นสนิทสนมกันมากกว่าคุณแม่ เพราะคุณแม่กลายเป็นฝ่ายดุเสียมากกว่าค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) อย่างสมัยก่อนนะ สมัยที่คุณพ่อเป็นเด็ก บอกว่าตัวเองไม่รู้จักพ่อของตัวเอง ก็คือได้ทานข้าวเช้า ข้าวเย็น นอกนั้นไม่มีเวลาเจอกับพ่อตัวเองเลยนะ ปีหนึ่งจะออกไปเที่ยวกับคุณพ่อจริง ๆ
ประมาณปีละ 2-3 ครั้งเองนะ (ภาษาญี่ปุ่น) ที่แกว่าเหมือนสมัยยี่สิบปีที่แล้ว คือพ่อบ้านจะแบบว่าทำ
แต่งาน
บริษัทจะยุ่ง อะไรอย่างนี้ค่ะ

แต่ว่าเดี๋ยวนี้จะเปลี่ยนไปเยอะค่ะ
เหมือนกับว่าเดี๋ยวนี้มีเวลาให้ลูกเยอะขึ้น เล่นกับลูกได้ บริษัทก็หยุดเสาร์ อาทิตย์
เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้คนเป็นพ่อในญี่ปุ่น ก็แบบว่าเล่นกับลูกได้เยอะ มีเวลาให้กับลูก แบ่งเวลาให้กับลูกเยอะขึ้นเนอะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย)

แต่…

ถ้าคุณพ่อและคุณแม่บ้านไหนในญี่ปุ่น ต้องออกไปทำงานทั้งคู่ เด็กก็จะมีการไปทำกิจกรรมกลุ่ม
ตามวัยของเขาอยู่แล้ว ซึ่งที่กลุ่มนั้นก็จะมีคุณพ่อคุณแม่ของเด็กอื่น ๆ คอยช่วยดูแล เป็นที่ปรึกษาให้อีกแรงหนึ่งค่ะ
(แม่ก้อย) ถามว่าเราต้องปรับตัวในการเลี้ยงลูกไหม เราไม่ได้ปรับตัวในการเลี้ยงลูกค่ะ
คือเหมือนกับว่าเรามีพื้นฐานมาจากไทย เขามีพื้นฐานมาจากญี่ปุ่น ซึ่งจริง ๆ มันมีส่วนที่เหมือนกันอยู่แล้วด้วย แล้วก็มีส่วนที่ต่างกัน วิธีที่เราเลี้ยงลูกกับวิธีที่เขาเลี้ยงลูก เราไม่ได้ต่อต้านซึ่งกันและกัน เวลาเขาปล่อยวิธีการเลี้ยงลูกออกมา เราปล่อยวิธีการเลี้ยงลูกออกไป คือเหมือนกับว่ามันกลมกลืนกันได้ มันเข้ากันได้ แล้วมันก็ไม่มีปัญหาอะไร คือ
ถ้าให้มองเด็ก ๆ ดี ๆ มันก็จะไม่ออกไปแนวญี่ปุ่นจัด แล้วก็ไม่ได้ออกไปในแนวไทยสุด อะไรอย่างนี้ค่ะ
คือเขาก็จะมีความผสมกันอยู่ในนั้น

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ระหว่างคุยกัน พี่เซะก็ได้มีเวลาพักข้างสนาม มาส่งยิ้มให้พวกเราหน่อยหนึ่งค่ะ
คุณแม่บอกว่า
เด็ก ๆ ญี่ปุ่นจะได้รับการเลี้ยงดู รวมทั้งเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบให้คิดเอง
ตัดสินใจเอง และลงมือทำเอง พวกเขาจึงได้ทดลองทำทุกอย่าง ที่ตัวเองสงสัยใคร่รู้และอยากลอง โดยยังอยู่ในการดูแลของผู้ปกครองหรือโคช เพื่อให้คำปรึกษาค่ะ
(แม่ก้อย) อย่างจริง ๆ ฟุตบอล
เริ่มต้นก็ไม่ได้คาดหวังว่า จะต้องเป็นนักฟุตบอลหรืออะไร เพียง
แต่ว่าอย่างตอนเล็ก ๆ
เขาชอบเล่นกลางแจ้ง ก็เลยออกมาทางสายของกีฬา
ถ้าเขาชอบที่จะทำ ก็ทำให้ดี ให้ดีที่สุดที่เขาทำได้อย่างที่ว่า

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) พอเราถามคุณแม่ว่า
คิดว่าลูกตัวเองเล่นบอลเก่งหรือไม่ คุณก้อยก็ตอบได้ดีค่ะ
(แม่ก้อย) คือเรียกอย่างไรดี ไม่อยากใช้คำว่าเก่งหรือไม่เก่งนะคะ แค่มองว่าเขาเต็มที่กับมันไหมใน
แต่ละวัน
อะไรอย่างนี้ดีกว่า คือวันไหนที่เขาแบบว่าเหมือนกับขี้เกียจ
ไม่อยากวิ่ง อะไรอย่างนี้ บางทีเราก็อกหักนะคะ เหมือนกับว่าเขาไม่เต็มที่กับมัน จริง ๆ เขาทำได้ดีกว่านี้ อะไรอย่างนี้ค่ะ
(บรรยาย) คุณแม่ไม่ได้เน้นเรื่องความเก่ง
แต่ทำให้ลูกได้รับประสบการณ์หลาย ๆ อย่าง
ในเวลาเดียวกัน หลังจากนั้นลูก ๆ จะเลือกอะไรก็แล้ว
แต่เขาเลยค่ะ

และแล้วการแข่งขันท่ามกลางสายฝนก็จบลงค่ะ
เราคงได้มีเวลาคุยกับเด็ก ๆ จริงจังเสียที ซึ่งสาเหตุที่เรายังคุยกับน้องคิริไม่ราบรื่นนิดหน่อย ก็เพราะบุคลิกของน้อง มีความเป็นตัวของตัวเองพอสมควร
ถ้ายังไม่พร้อมก็ยังไม่ค่อยอยากคุยค่ะ
มีลีลาส่วนตัวว่าอย่างนั้นก็ได้นะคะ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) ตอนนี้ปัจจุบันนี้ถึงบ้านแล้วครับ
เดินทางจากคุราชิกิ มาต่อรถไฟอีก
แล้วก็มาต่อแท็กซี่ ค่าแท็กซี่อย่างเดียวเกือบ 4,000 เยน

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) กลับมาถึงบ้าน ฝนหยุดตก เราคงจะได้ทำกิจกรรมอะไรสนุก ๆ
กับเด็ก ๆ แล้วนะคะทีนี้ กิจกรรมอย่างแรกก็คือโชว์เต่าค่ะ
เป็นเต่าที่มีประวัตินะคะ เพราะว่าที่โรงเรียนประถมในญี่ปุ่น ปกติแล้วจะมีให้เด็กทดลองเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเต่าเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยง
ที่เด็กหาได้ตามธรรมชาติเลยค่ะ
(แม่ก้อย) ตอนแรกเพื่อนก็เอาไปโรงเรียน แล้วเสาร์ อาทิตย์ก่อน
คือ เสาร์ อาทิตย์ไม่มีคนดู เขาก็เอากลับมาทุกเสาร์ อาทิตย์ คือวันศุกร์เอากลับมา วันจันทร์ก็แบกกลับไปโรงเรียน เสร็จแล้วพอตอนหลังครูบอกว่า
พอแล้วให้เอากลับบ้าน แล้วเพื่อนเขาไม่ได้เอากลับบ้าน เขาเลยเอากลับมาบ้าน อยู่ ๆ ก็ถือเต่า
แล้วบอกว่า แม่เลี้ยงเต่านะ (ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) ฟูจิเซ็นเซ
หลอกล่อถามเรื่องเต่ากับพี่เซะอยู่พักใหญ่ค่ะ
กว่าน้องคิริจะรู้สึกอยากเข้ามาร่วมวงสนทนาด้วย ทีนี้พอครบองค์ ก็เลยต้องเริ่มร่ายเวทมนตร์มายากลแล้วค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

[เสียงหัวเราะ]

(บรรยาย) อย่างที่เขาว่ากันนะคะ เด็กกับสัตว์เลี้ยงเป็นอะไรที่ควบคุมยากที่สุด
เวลาถ่ายทำรายการ เราก็เลยต้องใช้เวลา
ในการทำความคุ้นเคยกันพอสมควรค่ะ
ก็ไม่รู้ว่าระหว่างพี่เซะกับน้องคิริ และฟูจิเซ็นเซกับโปรดิวเซอร์ของเรา ใครจะสนุกกว่ากันนะคะ เปิดเพจหรือคะ ประมาณสองปีที่แล้วค่ะ
จริง ๆ ไม่ได้มีอะไรเยอะ คือตอนที่ไปไทยเมื่อซัมเมอร์สองปีที่แล้ว พอไปไทยแล้วไปทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ที่ไทย
อะไรอย่างนี้ค่ะ
คือเด็ก ๆ เขาจะไม่เคยเจอกันมาก่อน แล้วก็นัดกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทีนี้เหมือนกับว่ามันมีความแตกต่าง
ระหว่างเขากับเด็กที่ไทย มันมีจุดปีกย่อยที่ลักษณะนิสัย หรือว่าบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างกัน คือเราเดินทางไกลได้โดยที่เราดูแลเขาคนเดียว คือเขาก็จะดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง หรือเวลาคนอื่นเห็น เราเดินทางได้อย่างไร คือขึ้นเครื่องบินแล้วก็พาลูกไปสองคน ตั้งแต่เล็ก ๆ จนเขาโต อะไรอย่างนี้ค่ะ
แล้วก็ในเรื่องของการช่างสังเกต การเรียนรู้อะไรต่าง ๆ ของเขา แล้วก็การที่เขากล้าที่จะทำอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น พอไปเจอทะเลก็ลงได้ ไปเจอน้ำโคลนก็เล่นได้ ไปเจอเรือก็กล้าที่จะทำ อะไรอย่างนี้ค่ะ
มันก็เลยเหมือนกับว่าเป็นอะไรที่แบบมีจุดแตกต่าง ที่เขาแตกต่างจาก…
ไม่ใช่ว่าเปรียบเทียบหรืออะไร
แต่ว่ามันแค่ต่างค่ะ
คือมีหลาย ๆ คนสงสัยว่า เอ๊ะ มันมาได้อย่างไร มีที่มาได้อย่างไร อะไรอย่างนี้ค่ะ
ก็เลยกลับมา
เลยตัดสินใจว่า อย่างนั้นก็เปิดเพจ แล้วก็ให้คนที่สนใจได้เข้ามาดูว่า
มันแตกต่างกันอย่างไร จุดไหนที่อาจจะเป็นจุดดี จุดเสียอย่างไร เขาจะเอาไปทำประโยชน์ได้ไหม อะไรอย่างนี้ค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ใช่ค่ะ
ผมไม่ใช่เด็กโตเกียว ทำให้เห็นว่า เด็กญี่ปุ่นเติบโตมาอย่างไร คุณก้อยเล่าหลาย ๆ เรื่อง ที่ทำให้เราเข้าใจพัฒนาการของเด็ก ที่สัมพันธ์กับวิถีของความเป็นญี่ปุ่น เช่น การสอนให้เด็กรู้จักแยกขยะ (บรรยาย) พาจับจักจั่นก็มี ซึ่งทำให้เราเห็นว่า
การละเล่นของเด็กญี่ปุ่น ล้วนเป็นเรื่องใกล้ชิดธรรมชาติมาก ๆ อะไรก็เป็นของที่เล่นได้ทั้งนั้น หรือการเข้าไปสังเกตการณ์
การเรียนของลูกในห้องได้ ทำให้ได้เห็นว่าเมื่อลูกอยู่โรงเรียนเป็นอย่างไร (ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) มีแม้
แต่การร้องเพลงไทยโชว์
อย่างน่ารักแบบนี้ น่ารักสุด ๆ ไปเลยค่ะ
(ร้องเพลงไทย) (บรรยาย) ซึ่งทำให้เราเห็นว่า คุณแม่ก้อยสอนภาษาไทยให้ลูก ๆ
อย่างจริงจังไม่เบาเลยนะคะ รวมทั้งความสำเร็จเล็ก ๆ ของลูก เช่น การได้เหรียญรางวัลจากการแข่งกีฬา ซึ่งทุกอย่างถูกเล่าผ่านมุมมองของคุณแม่ และการพัฒนาการของลูก ที่ได้เห็นทั้งการชนะ แพ้
และก็บทเรียนต่าง ๆ ค่ะ
แล้วพอกลับมาบ้าน
เขาจะไปเที่ยวไหนกันบ้างครับ
กลับมาบ้านก็จะเป็นโซนในละแวกนี้ค่ะ
คือเราจะมีข้อตกลงกันว่า อย่างเขาอยู่ประมาณประถมศึกษา
เพราะฉะนั้นเขาจะออกไปในบริเวณนี้เองได้
อยู่ในโซนไหน ก็คือจะไม่ออกไปจากโซนที่เรากำหนดไว้ แล้วก็เขาก็จะดูแลตัวเองได้ในบริเวณที่กำหนด แล้วเขาก็จะเล่นในโซนนี้ค่ะ
ประมาณสัก 200-300 เมตร รอบ ๆ โรงเรียนเขาอยู่ไกลจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ทีนี้เขาเลิกเรียน บางวันจะเลิกบ่ายสามโมง
บางวันเลิกบ่ายสี่โมง คือ
ถ้าเลิกบ่ายสี่โมง
กว่าจะเดินกลับถึงบ้านก็เกือบห้าโมง
ถ้าเลิกบ่ายสามโมง
ก็กลับถึงบ้านก็เกือบสี่โมงเย็นอย่างนี้ค่ะ
พอกลับถึงบ้านก็ทำการบ้านก่อน คือเขาต้องเคลียร์การบ้านก่อนถึงจะไปเล่นได้
แต่ว่าอย่างคนโต
เขากลับมาแล้วทำการบ้านได้เลย
แต่คนเล็กเรายังต้องช่วยนั่งดู คือยังต้องสร้างแรงจูงใจให้กับเขาทำการบ้าน เพราะอย่างเด็กเล็ก เขาจะไม่ค่อยชอบ เพราะว่าเขาก็เรียนมาจากโรงเรียนทั้งวันแล้ว
อะไรอย่างนี้ค่ะ
เสร็จแล้วพอทำการบ้านเสร็จ
ก็จะเป็นเวลาอิสระ คือทำอะไรก็ได้

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) นอกจากเรื่องวิถีชีวิตธรรมดาแล้ว พี่เซะยังเป็นพระเอกของเราด้วยนะคะ คือมีเหตุการณ์ที่น้องเก็บเงินได้ แม้ว่าเงินนั้นจะเล็กน้อยมากแค่ 9 เยน
แต่น้องก็พยายามจะคืนให้เจ้าของค่ะ
เรื่องเก็บเงิน คือจริง ๆ มันเป็นพื้นฐานของคนญี่ปุ่น ที่ค่อนข้างเน้นในเด็กมาก ในเรื่องของของตกหล่น คือไม่ใช่แค่เรื่องเงิน เวลาเราไปไหน เราจะเจอเลยว่า เวลาของตก
ถ้าเป็นของที่ไม่มีมูลค่าเยอะ เขาก็จะหยิบวางไว้ให้ เผื่อกลับไปเอา

แต่…

ถ้าเป็นของที่มีมูลค่าอย่างนี้ เขาก็จะเอาไปมอบไว้ที่สถานีตำรวจอะไรอย่างนี้ คือเขาเจอเงินที่สนาม พอเขาเจอเงิน
แล้วเขาก็กำไว้ในมือกลับมาบ้าน เขาก็ไม่พูดอะไรมากค่ะ
เขามาถึงก็บอกว่าแม่ลูกเจอเงิน เดี๋ยวเขาไปให้ตำรวจนะ อันนี้ก็ยังตกใจ แม้
แต่เงินแค่นี้ เขาก็ให้ความสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้ก็เคยได้ยินมาบ้างเหมือนกันนะคะว่า อย่างเวลาเด็ก ๆ เจอเงิน
ตำรวจจะให้ความสำคัญมาก คือให้ความสำคัญว่า เจอ 5 บาท 10 บาท
เหมือนกับเจอเป็นหมื่น เป็นพัน หรือเป็นล้าน อะไรอย่างนี้ค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ฟังจากคุณแม่อย่างเดียว
คงไม่ครบประเด็น ลองมาฟังพี่เซะเล่าเรื่องนี้กันดีกว่าค่ะ
นี่คือรถหวอนะ กำลังขับตามเขานะ (ภาษาญี่ปุ่น) ตอนเก็บเงิน ถามเขาว่าตอนเก็บเงินเก็บอย่างไร บอกว่าเก็บได้ 9 เยน แล้วก็เอากลับมาบ้าน แล้วก็ถามแม่ว่าเอาอย่างไร แม่ก็บอกว่าเอาไปให้ตำรวจดีไหม ก็เลยเอาไปให้ตำรวจ พอให้เสร็จปุ๊บ ตำรวจก็เลยต้องการลงบันทึก ลงบันทึกว่าอย่างไร เบอร์โทรศัพท์หรืออะไรก็แล้ว
แต่ อย่างนั้นต้องขอมาดูที่บ้านหน่อยนะ แล้วมาอย่างไร เขาบอกว่าใช้จีบอร์ด น้องเขาใช้จีบอร์ดมาอย่างนี้ แล้วตำรวจทำอย่างไร ขับรถหวอตาม โอ้โฮ จีบอร์ดอย่างนี้ แล้วขับรถหวอตาม

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) เหตุการณ์เหล่านี้ ล้วนสะท้อนให้เห็นวิธีการเลี้ยงดูเด็กของญี่ปุ่น และการที่สังคมญี่ปุ่นให้ความสำคัญ กับการทำความดีของเด็ก เพราะแม้
แต่ตำรวจ
ก็ยังขับรถตามกลับไปที่บ้านของน้อง เพื่อลงบันทึกให้ถูกต้อง แม้จะเป็นเงินเพียง 9 เยน
แต่เรื่องนี้จะประทับอยู่ในใจของพี่เซะไปตลอด และเป็นการปลูกฝังให้โตไปแบบซื่อสัตย์ค่ะ
ทั้งหมดเป็นเรื่องจริงที่จับต้องได้ ของครอบครัวเล็ก ๆ ครอบครัวหนึ่งนะคะ
ดังนั้น เรื่องเล่าในเพจนี้จึงกินใจ และทำให้มีแฟนเพจมากมายที่รักครอบครัวนี้ค่ะ
(แม่ก้อย) คือจริง ๆ ที่ทำเพจมาได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะมีแฟนเพจค่ะ
คือแฟนเพจเป็นกำลังใจมาก ๆ ด้วยความที่เราตั้งใจทำเพจเพื่อบอกกล่าว โดยที่ว่าเราไม่ได้มีเป้าหมายอย่างอื่น มันทำให้บางครั้งเรารู้สึกว่า บางครั้งเราทำเยอะไปไหม เราเหนื่อยไปไหม
แต่พอเราได้รับการตอบรับจากคนที่ติดตามเรา เวลาเรามีอะไรให้เขาดู แล้วเขาก็มีคอมเมนต์เข้ามา เราก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นกำลังใจที่ดีมาก ๆ ค่ะ
มันเป็นกำลังใจให้เราทำต่อไปได้อะไรอย่างนี้ค่ะ
ก็ต้องขอบคุณแฟนเพจทุกคนไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ขอบคุณจริง ๆ (บรรยาย) ด้วยความเอาใจใส่ลูก ๆ มาก
ในทุกรายละเอียด เราก็เลยสงสัยว่า
คุณก้อยมีความคาดหวังอย่างไรกับลูก ๆ บ้างคะ ถามว่าคาดหวังไหม มันต้องมีค่ะ
คือเราต้องมีคาดหวังว่าอยากให้เขาไปได้ดี มีคาดหวัง
แต่เราไม่ตั้งเป้า เราไม่ตั้งเป้าที่จะหวัง ปกติเราจะถามลูกเสมอว่า เขาอยากทำอะไร อยากเป็นอะไร เหมือนฟุตบอล เราจะถามเขาว่า
เขาอยากแค่ไหน เขาจะบอกว่าอยากเป็นทีมชาติ
ถ้าบอกว่าอยากเป็นทีมชาติ เราก็สนับสนุนให้มีแนวโน้มมากที่สุด ที่มันจะไปถึงกับฝันเขา อะไรอย่างนี้ค่ะ

แต่ว่า
ถ้าวันหนึ่ง เขาแบบไม่ค่อยซ้อมฟุตบอล เราก็จะถามว่า
ถ้าซ้อมแค่นี้ แปลว่าเธอไม่ได้อยากไปทีมชาตินะ เธอไปเป็นแค่ครูสอนฟุตบอล โอเคไหม แล้วเราจะไม่อะไรกันเยอะ เราก็จะอยู่สบาย ๆ
ซ้อมไม่ต้องเยอะก็ได้ มันก็จะขึ้นอยู่กับคำตอบของเขา ว่าเขาอยากไปแค่ไหน ณ วันนี้เขาบอกว่าอยากไปทีมชาติ
แต่อีกวันหนึ่งเป้าหมายเขาอาจจะเปลี่ยนแล้วก็ได้
เพราะฉะนั้นเราก็เป็นได้แค่เหมือนกับสนับสนุน ให้เขาไปในสิ่งที่เขาอยากไป ไปให้ใกล้จุดนั้นมากที่สุด

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตอนนี้เราอยากให้เด็ก ๆ
พาไปเดินเล่นแถวบ้านแล้วค่ะ
จะมีใครอาสาพาไปไหมหนอ ผมถามว่าจะไปคลองได้ไหม เขาบอกว่า ไปไม่ได้ เพราะอะไรรู้หรือเปล่า ฝนตก อ้าว แล้วฝนตกเพราะอะไร ฝนตกแล้วอันตราย เขารู้ตัว เขารู้ก่อน เขาบอกว่าไปช่วงนี้ เซมี ก็คือจักจั่น ไม่มีแล้ว ตัวจิ้งหรีด ก็อาจจะไม่มีเนอะ ตัวมันร้องวี้ด ๆ มันเป็นฤดูใบไม้ร่วง
ช่วงแถวนี้หายากหน่อย (ฟูจิ) ถามว่าพวกเรามาจากประเทศไทย
พาเที่ยวหน่อย

[เสียงหัวเราะ]

(บรรยาย) ต่อจากตรงนี้ เราจะได้เห็น
ภาพกิจกรรมในครอบครัวในยามว่างค่ะ
ครอบครัวญี่ปุ่นเขาไปทำอะไรกัน อุปกรณ์ครบมือเลย ตามไปกันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) เป็นความสุขเล็ก ๆ ในครอบครัวนะคะ แล้วก็จะกลายเป็นความทรงจำที่ดีของเด็ก ๆ ทำให้รักบ้าน รักถิ่นฐานของตัวเองได้ เพราะว่าพวกเขาใกล้ชิดกับธรรมชาติมากค่ะ
คือสองคนเขาค่อนข้างต่างกันชัดเจน คือคนโต จริง ๆ เขาเป็นเด็กเรียน เขาเป็นเด็กเรียนแล้วก็กีฬา คือเหมือนกับว่าชอบทำอะไรที่เป็นแบบแผน เป็นอะไรที่เหมือนกับชัดเจน อะไรแบบนี้ค่ะ
ส่วนคนเล็ก เขาจะออกแนวแบบว่าศิลปะ คืออยากทำก็ทำ

ถ้าไม่อยากทำก็ไม่ทำ อะไรแบบนี้ค่ะ
แล้ว
ถ้าอะไรที่ชอบ เขาก็จะสร้างสรรค์ไปในแนวของเขา แล้วนิสัยทั่วไปก็จะไม่เหมือนกัน อาหารก็ชอบไม่เหมือนกัน
ถ้าเหมือนเรื่องทั่วไป
เราก็จะให้เขาทำเหมือนกัน
แต่ว่า
ถ้าในเรื่องของรายละเอียด เวลาเราคุยกับเขา อย่าง
ถ้าเราอยากให้คนโตทำอะไร เราต้องคุยกับเขาอีกแบบหนึ่ง
ถ้าพูดถึงเคล็ดลับจริง ๆ มีแค่อย่างเดียวค่ะ
คือ รู้จักเขา คือ
ถ้าเรารู้จักเขา
เราจะรู้ว่าเราควรทำอย่างไร (บรรยาย) และไม่ใช่แค่ชีวิตที่ญี่ปุ่นนะคะ คุณก้อยพาพี่เซะและน้องคิริกลับไทยอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้ได้เรียนรู้บ้านเกิดในอีกที่ ประสบการณ์มากมายเกิดขึ้นทุกครั้งค่ะ
[เสียงเปียโน] [เสียงปรบมือ]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ฝีมือไม่เบาเลยนะคะน้องคิริ แม้ว่าคุณแม่จะบอกว่าน้องไม่ค่อยมีสมาธิซ้อม ด้วยวัยที่ยังเล็กมาก และวันนี้จะแทบไม่ยอมคุยกับเราเลย
แต่ความจริงแล้วเป็นเสือซ่อนลายค่ะ
วันนี้ต้องขอขอบคุณครอบครัวเล็ก ๆ ครอบครัวนี้ ที่ทำให้เราได้เห็นการเลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่นผสมไทย ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่แบ่งปัน ให้คุณพ่อคุณแม่คนไทยได้ดีเลยค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) นี่ ๆ ดู เวลาตอนหยิบขึ้น นี่ ๆ ตื๊ด ๆ น้ำตาเทวดา (บรรยาย) พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *