วิธีเพิ่มคุณค่า บาติกไทยสู่แคตวอล์กสากล

2570 0

(บรรยายหญิง) จากผืนผ้าและงานฝีมือ
ของช่างฝีมือชาวไทย เกิดการพัฒนาต่อยอดร่วมกับคนญี่ปุ่น (ฟูจิ) ท่านนำผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยมา
มีอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้เป็นของไทยหมดเลย ว้าว (บรรยาย) และได้ไปเฉิดฉายอยู่ในแกลเลอรี
ที่โตเกียวอย่างเต็มภาคภูมิ (ฟูจิ) และนี่ก็คือของคุณรอวียะนะครับ
ก็บอกว่า ตอนแรกก็คงจะมีปัญหานิด ๆ หน่อย ๆ
แต่ว่าคุณรอวียะก็ปรับแก้ ๆ จนมาถึงตรงนี้ได้ (บรรยาย) รวมทั้งได้รับเกียรติ
ให้เป็นหนึ่งในผลงานร่วมกับดีไซเนอร์ชาวไทย แสดงโชว์บนแคตวอล์ก ในงานแอลแฟชั่นวีก 2019 ด้วย (ดีไซเนอร์) เราพยายามจะซึมซับตัวของพี่ยะ
ให้มากที่สุด เพราะไม่อยากจะทำลายแบรนด์ แล้วก็ตัวต่ายเองก็พยายามจะแบบไม่ได้
มันก็ต้องเป็นตัวของเราด้วย (บรรยาย) ผลงานเหล่านี้
สวยงามเป็นสากลขนาดไหน ตามไปชมกันค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตามที่เราได้นำเสนอเรื่องราว
ของผ้าบาติกเดอ นารา ที่เป็นที่ยอมรับของลูกค้าชาวญี่ปุ่น ให้ผลิตผลงานบาติก เพื่อนำไปเป็นผ้าตัดชุดกิโมโน แสดงในแกลเลอรีที่โตเกียว การทำงานร่วมกับชาวญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องง่าย
ดังนั้น เราจึงอยากตามไปคุย
กับเจ้าของแกลเลอรีที่ญี่ปุ่นด้วย ว่าเพราะอะไรถึงเลือกบาติกของไทย ตามฟูจิเซ็นเซไปกันค่ะ
(ฟูจิ) ตอนนี้ครับ
ผม
กลับมาจากนราธิวาส และมาที่คิตามิ เหตุผลอะไรถึงมาที่นี่ ก็เพราะว่าจะมาเจอคนญี่ปุ่นท่านหนึ่ง ซึ่งนำผ้าบาติกมาทำเป็นชุดกิโมโน
ของประเทศญี่ปุ่น และเราจะไปเจอท่าน เผื่อผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย อาจจะเป็นที่ต้องการของท่านก็ได้ ไปดูให้รู้กันดีกว่า อิคิมาโช ไปกันครับ

[เสียงดนตรี]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ลองมองดูสิ่งที่อยู่ในแกลเลอรีนี้สิคะ สังเกตดี ๆ นะคะ มีงานฝีมือจากเมืองไทยหลายอย่างเลย นั่นแสดงว่า ไม่ใช่แค่ผ้าบาติกเท่านั้น
ที่มาไกลถึงโตเกียว
แต่มีอย่างอื่นอีกด้วยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ท่านนำผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยมา
มีอะไรบ้าง ในนี้มีอะไรบ้างครับ
ลองดู (นที) มีผ้า มีผ้า มีอะไรอีก (โปรดิวเซอร์) กระเป๋า
(ฟูจิ) กระเป๋า ทั้งหมดนี้เป็นของไทยหมดเลย ว้าว (บรรยาย) สุดยอดเลยนะคะ คนญี่ปุ่นเห็นคุณค่าของงานฝีมือไทย
หลายอย่างมากจริง ๆ และท่านบอกว่า งานของไทยนั้น สวยงามมีเอกลักษณ์อยู่แล้ว ท่านเพียงแค่ช่วยเก็บรายละเอียดอีกนิดหน่อย เพื่อให้สวยงามประณีตเพิ่มขึ้นเท่านั้นเองค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ตรงไหนที่ท่านเอามาปรับ
แต่ง เอามาปรุง
แต่งให้มันสวยขึ้น ท่านบอกว่า ยก
ตัวอย่างเช่น ตัวนี้นะครับ
ท่านบอกว่า การสานมันละเอียดมาก ฝีมือของประเทศไทยละเอียดมากนะครับ

แต่เสียอย่างหนึ่งก็คือ ตอนท้าย ความละเอียดการเก็บ มันไม่พอ ตรงนี้ ทำไมตรงสีน้ำตาล ตรงนี้
ถึงเป็นอย่างนี้ขึ้นมารู้ไหมครับ
เพราะว่ามันเกิดการบุ๋มขึ้นไปแล้วแก้ไม่ได้
ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือ เอากลับมาที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วเอามาแก้เป็นแบบนี้แล้วกันนะครับ
(บรรยาย) มาตรฐานของ
แต่ละประเทศ
ไม่เหมือนกันจริง ๆ นะคะ ตอนนี้เรามาดูดีกว่าว่า งานฝีมือไทยทั้งหมดที่ท่านมี มาจากที่ไหนในประเทศไทยบ้าง (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่ก็กรุงเทพ ฯ หมดเลยครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่กรุงเทพ ฯ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) มาจากเผ่าม้ง (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) อันนี้ก็คือเชียงใหม่ ทั้งมวลทั้งหมดนี้นะครับ
ก็บอกว่า… ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ดูจากประเทศญี่ปุ่น เขามองว่าเป็นของใช้ประจำวัน
แต่จริง ๆ แล้วความมีฝีมือ มันลึกซึ้ง
ถ้าแต่งขึ้นมาอีกหน่อย มันจะเป็นของแบบไฮเอนด์ (บรรยาย) และมาถึงผลงานชิ้นสำคัญ ที่พาเรามาถึงแกลเลอรีแห่งนี้ นั่นก็คือ งานผ้าบาติกจากพี่รอวียะค่ะ
ไหนคะ พองานบาติกปรากฏบนผ้าไหมญี่ปุ่น
จะสวยงามขนาดไหน

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) นี่ก็คือของคุณรอวียะนะครับ
ก็บอกว่า ตอนแรกก็คงจะมีปัญหานิด ๆ หน่อย ๆ
แต่ว่าคุณรอวียะก็ปรับแก้ ๆ จนมาถึงตรงนี้ได้ ก็คือท่านบอกว่า
ตอนแรก ๆ ก็อาจจะเป็นแบบว่ามีรอยด่าง หรือมีรอยที่เป็นรอยที่ไม่ได้สั่ง
แล้วมันเปื้อนเข้ามา คือ
ถ้าเปื้อนปุ๊บแก้ไม่ได้เลย ทางคุณรอวียะก็เข้าใจนะครับ
ตอนนี้ก็พัฒนาขึ้นมาเยอะแล้วครับ
ก็คิดว่าน่าจะไปได้อีกครับ
(บรรยาย) ตอนนี้เรามาคุยกันให้ละเอียดดีกว่าค่ะ
ว่างานแบบไหนที่คนญี่ปุ่นต้องการ และช่างฝีมือแบบไหนที่ทำงานด้วยกันแล้ว เกิดผลงานที่ดีกว่าเดิมได้ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ถามว่า คุณรอวียะมีจุดดี จุดเด่น
อย่างไรบ้าง ถึงทำงานด้วยครับ
ท่านบอกว่ามีความใส่ใจ แล้วก็ไม่ยอมแพ้อุปสรรค แล้วก็มีใจที่มีความอยากที่จะพัฒนา อยากจะพัฒนาให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ แล้วก็ยอมรับฟังสิ่งที่ต้องการ
ที่เธออยากได้นะครับ
บอกว่า ทางฝ่ายญี่ปุ่นอยากได้อะไร ก็จะพยายามอย่างเต็มที่ แล้วก็ไม่ย่อท้อนะครับ
ทำต่อไป ทำต่อเนื่อง แล้วก็มีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ยก
ตัวอย่างเช่น ตอนที่เธอมีการดีไซน์
เกี่ยวกับเรื่องหิมะนะครับ
บอกว่าเกล็ดหิมะนี่ เธอไม่เคยรู้จักเกล็ดหิมะ ไม่เคยดูหิมะ เธอออกแบบไม่ได้ ตอนแรกออกแบบเป็นคล้าย ๆ อะมีบา ส่งมาที่ญี่ปุ่น ท่านก็บอกตกใจนะครับ

แต่ก็ส่งภาพเกล็ดหิมะ ส่งให้ที่ประเทศไทยดูหลาย ๆ ภาพนะครับ
เพราะปัจจุบันนี้มีไลน์ ส่งไปเรื่อย ๆ กลายเป็นว่า เข้าใจครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามา
ในประเทศญี่ปุ่นมีกี่ชิ้น บอกว่าตอนนี้มีอยู่ 40 ชิ้นนะครับ
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชุดกิโมโน แล้วก็โอบิ เอาไว้พันที่ตัวนะครับ
(บรรยาย) ข้อดีอย่างหนึ่ง
ของการซื้อผลงานจากคนไทย ที่ท่านบอกเราก็คือ ค่าแรงงานของไทยถูกกว่าญี่ปุ่น
ดังนั้น กิโมโนที่ผลิตในญี่ปุ่น ราคาอาจจะสูงไปถึงหนึ่งล้านเยน หรือประมาณสามแสนบาท
แต่เมื่อลดต้นทุนการผลิตลง โดยใช้ช่างฝีมือจากไทย ผสมผสานกับการออกแบบ และการทำงานร่วมกันทุกกระบวนการ ก็ทำให้ได้ผืนผ้าที่สวยงามอลังการ ไม่ต่างจากงานในญี่ปุ่น
แต่สามารถขายในราคาที่เบาลงได้ เพราะท่านอยากสนับสนุน
ให้คนใส่ชุดกิโมโนกันมาก ๆ ค่ะ

ถ้ากิโมโนยังสวยงามมาก
แต่ราคาถูกลง ก็คงจะทำให้คนญี่ปุ่นจับต้องได้ง่ายขึ้นค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ถามท่านว่า
ทำไมถึงสนใจงานของประเทศไทย แล้วงานของประเทศไทยมีจุดเด่นอย่างไร ท่านบอกว่า ตอนที่ไปงาน
พิพิธภัณฑ์เมโทรพอลิตันของนิวยอร์ก ทางเข้ามีกระเป๋าที่ทำจากย่านลิเภา เธอบอกว่า โอ้โฮ ตกตะลึงถึงความสวยงาม ตกตะลึงถึงความคมชัด ความละเอียดอ่อน เธอบอกว่า จิตวิญญาณของคนไทยกับคนญี่ปุ่น มีความคล้ายเยอะมาก รู้สึกถึงความละเอียดอ่อน รู้สึกถึงความใส่ใจ รู้สึกถึงการนอบน้อม อะไรต่าง ๆ นี่ มีจิตวิญญาณที่คล้ายกัน มันออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ออกมา ซึ่งคนญี่ปุ่นชอบมากเลย (บรรยาย) ตอนนี้เรามาลองดูกันชัด ๆ นะคะว่า ความละเอียดอ่อนที่ว่านั้น เมื่อเกิดจากฝีมือคนไทย คนญี่ปุ่นจะแยกแยะออกหรือไม่ ว่านี่ ไม่ใช่คนญี่ปุ่นทำ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ผ้าพวกนี้นะครับ
ลายพวกนี้นะครับ
เป็นลายที่ดูออกไหมว่า คนไทยเป็นคนเขียน เธอบอกว่าดูไม่ออกนะครับ
เพราะดีไซน์ที่ออกแบบ คนญี่ปุ่นออกแบบ แล้วทางที่ประเทศไทยทำตาม ซึ่งนี่ก็คือรูปของหิมะ ท่านบอกว่า ให้ออกแบบไป แล้วก็ส่งให้ ไม่อย่างนั้นจะไม่เหมือนญี่ปุ่น (บรรยาย) ตอนนี้ถึงจุดสำคัญ ที่
ถ้าท่านเป็นคนผลิตงานฝีมือแล้ว อยากจะให้เข้าตาคนญี่ปุ่น ต้องไปอวดผลงานที่ไหน คนญี่ปุ่นถึงจะเห็นค่ะ
(ฟูจิ) ท่านจะไปในงานโอทอป หรือไปในงานแสดงสินค้าอะไรก็แล้ว
แต่ ซึ่งเป็นจุดรวมสินค้าดี ๆ หรือผลิตภัณฑ์ดี ๆ มานะครับ
ไปมาแล้วถามว่า อันนี้ทำได้ไหม อันนี้ทำได้ไหม ทำได้ไหม สรุปแล้วก็คือว่า เจอกับคนไทย เจอกับผู้ผลิตประมาณหนึ่งร้อยคน ท่านจะเจอคนเจ๋ง ๆ หนึ่งคน ส่วนใหญ่ไม่ผ่าน หรือคนส่วนใหญ่ทำไม่ได้ หรือคนส่วนใหญ่บอกไม่ทำนะครับ
โอกาสดีก็ไม่ทำ ก็คือไม่ทำ ทำไม่ได้อะไรอย่างนี้ (บรรยาย) แล้วในมุมของท่าน การทำงานร่วมกับคนไทยมีปัญหาอะไรบ้างคะ (ฟูจิ) ประเทศไทยใส่ใจ คนญี่ปุ่นก็ใส่ใจ
แต่การใส่ใจมันต่างกัน เช่น จะมีภาชนะชนิดหนึ่ง ภาชนะชนิดนี้ของประเทศไทย คงจะถูกคิดว่า อันนี้ไม่วางพื้น พอให้ออกแบบมา คือให้แบบไปแล้ว ให้แบบไปเลย ให้ทำแบบนี้
แต่ประเทศไทยไปเติมขามาอะไรอย่างนี้ พอไปเติมขาก็คือแบบว่าทางประเทศไทยใส่ใจ
แต่ท่านบอกว่า เข้าใจ คือ
ถ้าบอกว่าไม่ใช่ตามที่สั่ง ไม่เอาก็คือเกิดเรื่อง พยายามไม่ให้เกิดเรื่อง ก็คือรับมาแล้วก็ตัดทิ้ง แล้วก็มาใส่งานใหม่ขึ้นมา

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) มาถึงประเด็นหนึ่งที่คิดว่า ช่างฝีมือในเมืองไทยต้องเจอกับคำถามแน่ ๆ เมื่อเกิดการซื้อขาย คือทำไมแพงจัง ขายในเมืองไทยไม่น่าจะแพงขนาดนี้ ท่านมีวิธีคิดเรื่องนี้อย่างไร ฟังกันดูค่ะ
(ฟูจิ) คนญี่ปุ่นก็ตกใจถึงราคาที่แพง แล้วคนญี่ปุ่นบางคนก็บอกว่า มันอยู่ในราคาไม่กี่บาทในประเทศไทยไม่ใช่หรือ แล้วคนญี่ปุ่นที่ดูถูกคนไทย เธอบอกว่า
เธออย่าดูถูกประเทศไทยนะ อย่างนี้เลย อย่าดูถูกประเทศไทยนะ ประเทศไทยมีของเจ๋ง และสามารถทำให้อยู่ในราคาที่แพง อยู่ในระดับไฮเอนด์ได้ ไม่ใช่อยู่ในราคาไม่กี่บาท (บรรยาย) ตอนนี้ท่านจะยกตัวอย่าง
ที่ท่านภูมิใจอีกชิ้น ที่ทำงานร่วมกับชาวเขาค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) และผ้านี้นะครับ
เป็นผ้าที่สุดเจ๋งนะครับ
ร่วมกันผลิตกับชาวเขานะครับ
แล้วออกมาเป็นผ้าแบบนี้ขึ้นมาได้ เธอเอาไปที่เกียวโต จะมีร้านแบรนด์ที่ทำกิโมโน เอาผ้าไปให้ดูครับ
ร้านแบรนด์ดูแล้วตะลึง ตะลึงอย่างนี้เลย โอ้โฮ สวยขนาดนี้เชียวหรือ ออกมาได้ขนาดนี้เชียวหรือ รู้ไหมครับ
ว่า มันสุดเจ๋ง สุดยอดมาก ๆ
แต่ไม่ใช่แบรนด์ เมื่อไม่ใช่แบรนด์ คนญี่ปุ่นไม่ซื้อ เธอบอกว่าเธออยากจะสร้างอันนี้ ให้เป็นแบรนด์ให้โด่งดังให้ได้
ถ้าผลิตภัณฑ์ไทยเจ๋งขนาดนี้แล้วโด่งดังได้ มันจะมีราคาได้เป็นล้านเยนเลยครับ

แต่ยังทำไม่ได้ เสียดายไหม ฝีมือดีเธอพัฒนามาหลายปี
แต่มันยังไม่ได้เป็นแบรนด์ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) แล้ว
ถ้าซื้อมาหนึ่งแสนบาทนะครับ

ถ้าจะขายที่ญี่ปุ่นให้ได้ จะต้องบวกกำไร บวกค่าแรงอะไรต่าง ๆ ประมาณอีกสิบเท่า
ถ้าซื้อมาในราคาหนึ่งแสนบาท
จะต้องขายหนึ่งล้านบาท ไม่อย่างนั้นจะอยู่รอดไม่ได้ในประเทศญี่ปุ่น
เพราะฉะนั้นตอนนี้มันไม่มีกำไร
แต่เธออยากสร้างแบรนด์ให้ได้เลย (บรรยาย) นอกจากการ
ร่วมทำงานกับช่างฝีมือคนไทย และซื้อผลงานในราคาสูงแล้ว ท่านก็ยังบอกว่า อยากจะให้คนไทยภูมิใจ
ในภูมิปัญญาของตัวเอง เพราะฝีมือคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก และท่านก็จะพยายามช่วยเผยแพร่
งานของคนไทย ให้ชาวโลกได้ประจักษ์เพิ่มขึ้น
ไปเรื่อย ๆ อีกด้วยค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตอนนี้ก็เห็นผ้างาม ๆ
ของกลุ่มเดอ นารามาไกลถึงญี่ปุ่นแล้ว เราจะย้อนกลับไปที่เมืองไทยอีกครั้ง เพราะว่าผลงานของพี่รอวียะ จะได้ไปเฉิดฉายบนแคตวอล์กอันยิ่งใหญ่ แอลแฟชั่นวีก 2019 ที่กรุงเทพ ฯ ค่ะ
เราจะไปดูว่าผลงานนี้ จะงดงามแตกต่างออกไปอย่างไรค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ดีไซเนอร์) สิ่งที่ไอซ์พัฒนาจากพี่ยะมาเลย คือ พี่ยะเป็นคนใช้สีสวยมาก แล้วก็ใช้สีที่เป็นสีพาสเทลได้ดีมาก
แต่ว่าจัดกลุ่มสีแบบใหม่ ๆ แล้วก็ไปนั่งคุยกับพี่ยะว่า แบบสีนี้อยู่กับอันนี้ ๆ มันน่าจะสวยดีอะไรอย่างนี้ ก็เลยทำออกมาก็ได้ถูกใจ ตามที่อยากได้หมดเลยครับ
(รอวียะ) พอได้มาทำงานกับน้องไอซ์ ก็เริ่มรู้สึกว่ามันเป็นงานแบบเบา ๆ ดูสนุก ๆ (ดีไซเนอร์) นี่ก็เป็นพี่ยะทำให้ ให้สีอะไรก็ถูกต้อง อันนี้เป็นลายประการัง ลายหอยอะไรอย่างนี้ครับ
อย่างเชิ้ตตัวนี้ก็เป็นลายเกลือที่พี่ยะทำ สาดเกลือเข้าไป ก็คือสวยมาก แล้วรอบนี้เราใช้ไทยซิลก์หมดเลยครับ
(รอวียะ) นี่หรือที่เป็น ฟินาเล (ดีไซเนอร์) ฟินาเล
เป็นเสื้อเชิ้ตตัวเดียวใส่กับบิกินี (รอวียะ) ว้าว ๆ เปรี้ยวมากเลย (ดีไซเนอร์) ก็เราจะได้แบบว่าขายลูกค้า ที่เขาไปทะเลจริง ๆ พี่ยะ (บรรยาย) นี่แค่ดีไซเนอร์ท่านเดียวนะคะ ลองมาฟังอีกท่าน ที่ได้ทำงานร่วมกับพี่รอวียะค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ดีไซเนอร์) จริง ๆ แล้วเห็นผ้าของพี่ยะ
มาหลายปีแล้ว
แต่ยังไม่รู้จักว่าเขาเป็นใคร คราวนี้พอได้ร่วมงานปุ๊บ ความง่ายคงจะไม่บังเกิดแน่นอน ก็เลยคิดลายที่มันยาก ๆ แล้วก็ตอนที่ลงพื้นที่กันครั้งแรกพี่จำได้ไหม (ดีไซเนอร์) ความที่พอเขียนเทียนปุ๊บ ช่างฝีมือทุกคนนี่เขาไม่กล้าลง เราก็เห็นปุ๊บก็คันมือมาก เอามานี่ เลยหยิบพู่กันมา แล้วก็นั่งแบบละเลง ๆ ใส่ลงไปเลย เอาเกลือสาดลงไปเลย คือในความรู้สึก
ถ้าเรียกว่าสไตล์ตัวเองนี่ จะเป็นอะไรที่มันไม่ใช่แบบเป๊ะ ๆ ไม่เป็นแบบเพอร์เฟกชันนิสต์ ค่อนข้างจะเป็นแอบสแตรกต์ (Abstract) คราวนี้ตัวของพี่ยะเองนี่ เป็นอะไรที่เป็นแบบว่า (รอวียะ) เรียบร้อย (ดีไซเนอร์) เรียบร้อย แล้วพอความเรียบร้อย
กับความเป็นแอบสแตรกต์มารวมกันปุ๊บ เราพยายามจะซึมซับตัวของพี่ยะให้มากที่สุด เพราะไม่อยากจะทำลายแบรนด์ แล้วก็ตัวต่ายเองก็พยายามจะแบบไม่ได้
มันก็ต้องเป็นตัวของเราด้วย (รอวียะ) ปีที่แล้ว
โครงการที่ทำร่วมกับอาจารย์ต่าย ก็มีการเดินโชว์ในแอลแฟชั่นวีกเมื่อปี 2018 ปีที่แล้ว เราก็มีการโพสต์เอารูปที่เดินบนเวทีค่ะ
ไปโพสต์ในเฟซบุ๊ก ลูกค้าญี่ปุ่นเขาก็เห็น แล้วก็ชอบลักษณะลายคลื่น ซึ่งมันอาจจะคล้ายคลึงกับลายคลื่นญี่ปุ่น แล้วมันก็มีความหมายที่ดีในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เขาก็เลยบอกว่า เขาอยากจะได้ลายนี้

แต่ไปวาดบนกิโมโน

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตอนนี้ทุกท่านจะเริ่มยุ่งแล้วค่ะ
เพราะงานบนเวทีใกล้จะเริ่มแล้ว เราคงต้องให้ทุกท่านไปเตรียมตัว และรอชมผลงานอันอลังการบนเวทีค่ะ

[เสียงดนตรี]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) น่าภูมิใจ แล้วก็ดีใจ
แทนช่างฝีมือคนไทยนะคะ จากงานพื้นบ้าน ณ จุดเล็ก ๆ อันห่างไกล วันนี้ประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากจริง ๆ ค่ะ

แต่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ พี่รอวียะก็มีแรงบันดาลใจที่สำคัญ ซึ่งคิดว่า พระองค์ท่าน
ก็ทรงเป็นตัวอย่างที่ทรงคุณค่า และเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยทั้งหลายเช่นกัน (รอวียะ) ความทรงจำในวัยเด็ก
กับในหลวงรัชกาลที่ 9 นะคะ มันเป็นความทรงจำที่งดงามมากสำหรับพี่ เพราะว่าสมัยที่เราเรียนหนังสือ ตอนเด็ก ๆ ชั้นประถม ตั้งแต่ชั้นประถมเลยนะคะ ก็คือ เวลาพระองค์ท่าน
จะเสด็จแปรพระราชฐานในจังหวัดภาคใต้ จะเสด็จ ฯ ไปประทับ ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส พระองค์ท่านก็จะเสด็จ ฯ ไป ตามสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในที่ต่าง ๆ แล้วเวลาพระองค์ท่านเสด็จ ฯ มา
ผ่านอำเภอของเรา บางทีพระองค์ไม่ได้เสด็จ ฯ ตรงมาที่อำเภอของเรา เพียง
แต่ว่าแค่ผ่านมา เราก็รู้สึกตื่นเต้นนะคะ คุณครูก็จะเกณฑ์พวกเราไปยืนเฝ้ารับเสด็จ ซึ่งบางทีพระองค์ท่านจะเสด็จ ฯ ผ่าน
แค่ช่วงเช้ากับช่วงเย็น และแค่ได้แวบเห็นพระองค์ท่าน เราก็รู้สึกดีใจมาก จะกลับมาพูดกับเพื่อน ๆ ว่า
เธอเห็นไหม ฉันเห็นไหม ฉันเห็นสมเด็จพระราชินี
ทรงพระสิริโฉมมาก อะไรอย่างนี้ คือเราจะเน้นดูสมเด็จพระราชินี แล้วก็พระเจ้าลูกเธอทั้งหลายนะคะ เราก็จะมานั่งคุยกัน แล้วพอตอนเย็นเสด็จ ฯ กลับมาอีกรอบหนึ่ง เราก็จะมายืนเฝ้ารอรับเสด็จอีกรอบหนึ่ง ก็เป็นเหตุการณ์ที่เราจะทำอย่างนี้ตลอด ตลอดช่วงเวลาที่พระองค์ท่านอยู่ในพื้นที่นะคะ (บรรยาย) แม้จะยังอยู่ในวัยเด็ก
แต่พี่รอวียะก็รู้สึกได้ถึงความรักและห่วงใย ที่พระองค์ท่านมีต่อประชาชนทางภาคใต้
อันห่างไกล และอยู่ในสถานการณ์ที่มีอันตราย
แต่ก็เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน
ไปในพื้นที่เป็นเดือน ๆ ซึ่งก็ทำให้ข้าราชการในพื้นที่ ต้องตื่นตัวในการทำงานตลอดเวลา ซึ่งก็ส่งผลดีต่อประชาชนโดยตรง เพราะเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อให้พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน
ไปให้กำลังใจค่ะ
(รอวียะ) คือประชาชนในท้องถิ่น
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีความแตกต่าง คือ เราจะมีอัตลักษณ์ที่แตกต่าง
จากคนไทยทั่วไป
แต่พระองค์ท่านทรงถือว่า

ถ้าอยู่ในขอบเขตประเทศไทย ก็ยังทรงเป็นพสกนิกรของพระองค์ พระองค์ไม่เคยแบ่งแยกเลย และประชาชนที่นั่นรักพระองค์นะคะ ในภาษามลายู เราเรียกพระองค์ท่านว่า รายอ รายา ซึ่งแปลว่า กษัตริย์ แล้วมันมีคำว่า รายอกีตอ แปลว่า ในหลวงของเรา ในภาษามลายู (บรรยาย) ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นต้น
แบบให้กับคนไทยจำนวนมาก และสำหรับพี่รอวียะก็เช่นกันค่ะ
(รอวียะ) พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง
ในเรื่องของความเพียร แล้วก็ในความรู้สึกของพี่ พี่รู้สึกว่าพระองค์ท่านทรงมีความจริงใจ ซึ่งเรารู้สึก เราเหมือนสัมผัสได้นะคะ พระองค์ท่านทรงประพันธ์เรื่องพระมหาชนก ก็เหมือนบอกตัวตนของพระองค์ท่าน สำหรับตัวพี่เอง พี่ก็เลยถือว่าความเพียร เป็นส่วนหนึ่งในการที่พี่เอามาใช้ในการทำงาน คือ ไม่ว่าจะเจอปัญหายากลำบากอย่างไร เราก็พยายามที่จะสู้กับมัน คือ พระองค์ท่านพระราชทาน คำ 3 คำ ให้กับคนที่ทำงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ความเข้าใจ เข้าถึง แล้วก็พัฒนา เหมือนพระองค์ท่านทรงเข้าใจชาวไทยมุสลิม หรือว่าชาวไทยภูเขาอะไรอย่างนี้ เมื่อเข้าใจชาวไทยภูเขา ว่าเขามีวิถีชีวิตแบบนี้ หรือชาวมุสลิมเขามีความเชื่อแบบนี้ เราก็สามารถจะทำอย่างไร เราจะได้เข้าถึงพวกเขา พระองค์ท่าน อย่างภาคใต้ก็ทรงสนับสนุน ให้มีการบำรุงทางด้านศาสนา ช่วยเหลือ อย่างเช่น อยากจะสร้างมัสยิด ก็พระราชทาน หรือปัจจัยในการสร้างอะไรอย่างนี้ใช่ไหมคะ หรือว่าบรรดาผู้นำทางศาสนา ก็มีการเข้ารับเงินเดือนอะไรอย่างนี้ มีเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางอะไรอย่างนี้ คิดว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่ง
ที่จะกลายมาเป็นนโยบาย พอมีความเข้าใจ นโยบายก็ไปสนับสนุน ในสิ่งที่เขาอาจจะต้องการ หรือมีความจำเป็นอะไรอย่างนี้ค่ะ
(บรรยาย) และไม่ใช่เพียงในหลวงรัชกาลที่ 9
เท่านั้นนะคะ ที่ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ให้ประชาชน
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มากมาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ก็ทรงเป็นผู้บุกเบิกงานฝีมือ ให้ช่างฝีมือพื้นบ้านมากมายเช่นกันค่ะ
(รอวียะ) สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 9 เวลาพระองค์ท่านเสด็จตามพระเจ้าอยู่หัวมา ความเป็นผู้หญิงของพระองค์ท่าน พระองค์ท่านก็อาจจะมองไปในเรื่องของ
งานศิลปะนะคะ สิ่งที่พระองค์ท่านทรงสนับสนุน ที่เราเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ในเรื่องของงานฝีมือ แล้วก็เป็นส่วนของงานในโครงการศิลปาชีพ ก็จะเป็นจักสานย่านลิเภา แล้วก็กระจูด พระองค์ท่านทรงรับผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นญาติของพี่เอง เป็นญาติผู้ใหญ่ของพี่เอง ซึ่งเป็นคนที่ทอกระจูดแบบฝีมือดีมาก ๆ เลย
แต่ว่าเมาะเขาก็ทอแค่อยู่ในบ้านนะคะ
แต่ว่าพระราชินีทรงพาเมาะไปที่กรุงเทพ ฯ ไปสานกระจูดที่สวนอัมพร ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีโอทอปเลยนะคะ พระองค์ท่านก็ทรงนำเมาะไป ซึ่งตอนนั้นพวกเราก็ตื่นเต้น ในความที่เขาเป็นญาติผู้ใหญ่ ในครอบครัวของเรา ในตระกูลของเรา เมาะได้ไปถึงพระที่นั่งอัมพรสถานเลยนะคะ ไปนั่งปูเสื่อแล้วก็สานกระจูด ให้แขกบ้านแขกเมืองดูนะคะ แล้วหลังจากนั้น เมาะก็เริ่มเป็นวิทยากร สอนกลุ่มชาวบ้านทอกระจูด จนกระจูดภาคใต้ กระจูดนราธิวาส ก็ตอนนี้ดังไกลไปทั่วโลกเลยนะคะ มีส่งขายญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะชอบมาก เวลาพระองค์ท่านทรงรับสั่ง
ถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากชาวบ้าน นี่เป็นฝีมือของชาวไร่ชาวนา ชาวไร่ชาวนา จำได้ไหมคะคำพูดนี้ จะทรงรับสั่งซ้ำ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตอนแรกเราฟังเราก็รู้สึกว่า พระองค์ท่านก็ทรงรับสั่งคำเหล่านี้มาตลอด
แต่พอเรามาทำงานกับชาวบ้าน เรารู้สึกว่า นี่เป็นสิ่งที่
พระองค์ท่านรู้สึก และเราก็รู้สึก มีความรู้สึกเดียวกัน ในแง่ที่ว่าชาวบ้านเขามีความเป็นอัจฉริยะ ชาวบ้านที่อยู่ตามป่าเขา ที่เป็นชาวไร่ชาวนา เขาเป็นอัจฉริยะ มีฝีมือ มีทักษะ แล้วก็มีพรสวรรค์ ในการที่จะสร้างสรรค์ชิ้นงานต่าง ๆ เพียง
แต่ว่าเราให้โอกาสเขา เหมือนกับที่พระองค์ท่านได้ให้โอกาส
กับชาวบ้านนะคะ คือ นำผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน ไปสู่โลกภายนอกให้คนได้เห็น (บรรยาย) และไม่ใช่แค่พี่รอวียะเท่านั้น ที่ทราบถึงการทรงงานของทั้งสองพระองค์ ที่ทำให้ประชาชนคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คนญี่ปุ่นที่ได้สัมผัสประเทศไทย ก็รู้เรื่องนี้ดีเช่นกันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ในความคิดของท่านครับ
พูดถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่า
ท่านทำเพื่อประชาชนจริง ๆ อย่างมากเลยครับ
แล้วก็ยังไม่พอ ก็คือรักษาความเป็นไทย คือ ให้ประเทศไทยพัฒนา สร้างประเทศ พัฒนาประเทศในความเป็นไทย (บรรยาย) พระจริยาวัตรและการทรงงาน
ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ของปวงชนชาวไทย ที่ซึมซับอยู่ในตัวพี่รอวียะมาตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลสืบเนื่องยาวนานมาถึงการทำงานในวันนี้ และเป็นพลังให้ได้ช่วยเหลือ สนับสนุน ผู้คนในชุมชนของตัวเองต่อไปอีกด้วยค่ะ
(รอวียะ) การทำงานที่ประสบความสำเร็จ
ในวันนี้ คิดว่าเพราะอะไร คิดว่าเป็นเพราะเรื่องของความซื่อสัตย์
และความรับผิดชอบค่ะ
คือในความเชื่อของมุสลิม จะถูกปลูกฝังในเรื่องของความซื่อสัตย์
และความรับผิดชอบ เพราะว่า
ถ้าเรามีความซื่อสัตย์และรับผิดชอบ พระผู้เป็นเจ้าก็จะประทานความสำเร็จให้กับเรา เรามีความเชื่อมั่นอย่างนั้น ความรู้สึกของพี่ต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ พี่มีความรู้สึกภาคภูมิใจ ที่เกิดในแผ่นดินของพระองค์
ถึงแม้ว่าพระองค์จะจากพวกเราไปแล้ว พี่ก็ยังรู้สึกว่า พระองค์ไม่ได้จากไปไหนนะ เพราะว่าสำหรับพี่ คนที่เรารักไม่ได้จากไปไหน จะอยู่ในหัวใจของเราตลอด (บรรยาย) ใช่แล้วค่ะ
พระองค์จะสถิตอยู่ในหัวใจ
ของปวงชนชาวไทยตลอดไป และสิ่งที่พวกเราจะตอบแทน พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ได้ คือ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อพัฒนาประเทศไทยของเราต่อไป พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *