คนไต้หวันก็ชอบภาษาไทยนะ

1052 0

[เสียงเขียนกระดานดำ]

[เสียงดนตรี]

(บรรยายหญิง) อาจารย์คนไทย
ที่ไปอยู่ไต้หวันถึงยี่สิบปี เขียนตำราภาษาไทยให้คนไต้หวันเรียน แล้วคนไต้หวัน
ชอบเรียนภาษาไทยกันขนาดไหน พูดไทยได้แค่ไหน ต้องตามไปฟังด้วยตัวเองกันค่ะ
(นที) คุณชื่ออะไรครับ
(ผู้หญิงไต้หวัน) ฉันชื่อหลินโย่วหยางค่ะ
หลิน หลินโย่วหยาง หลินโย่วหยาง เป็นผู้หญิงหรือผู้ชายครับ
ผู้หญิง ผู้หญิงค่ะ
เป็นผู้หญิง ใช่ค่ะ
(ฟูจิ) ดูให้รู้ (ฟูจิและคนไต้หวัน) รู้ให้ลึก เย่

[เสียงดนตรี]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ไปไต้หวันกันอีกแล้วค่ะ
ครั้งนี้เราจะไปพบกับคนไทยในไต้หวัน ที่เป็นครูสอนภาษาไทยให้คนไต้หวัน และคนไต้หวันเองที่พูดไทยได้ ในระดับเป็นครูได้เลย ไม่ธรรมดา คนไต้หวันสนใจภาษาไทยกันขนาดนี้เลยหรือนี่ ตามฟูจิเซ็นเซไปไทเปกันเลยค่ะ

[เสียงดนตรี]

คนนี้แหละค่ะ
อาจารย์พิพัฒน์ อาจารย์คนไทยที่อยู่ไต้หวันมา 20 ปีแล้ว พบกันปุ๊บ ก็ธรรมเนียมไทยนะคะ กินข้าวหรือยัง
ดังนั้น เราจึงเริ่มกันที่อาหารเช้า
แบบคนไต้หวันค่ะ
(พิพัฒน์) เดี๋ยวผมจะพาไปทานกาแฟ
แล้วก็แซนด์วิชดีไหมครับ
มันดีอย่างไรครับ
ผม แซนด์วิชของที่นี่เขาเรียกว่ามีชื่อครับ
เขาเรียกว่าค่อนข้างที่จะมีชื่อในไต้หวัน เพราะว่ามาจากไถจง คือร้านของเขามาจากไถจง ไถจง แล้วก็อยากจะให้ลองชิมดู ว่ามันต่างกับแซนด์วิชทั่ว ๆ ไปอย่างไร

[เสียงดนตรี]

(พิพัฒน์) ย่านนี้เป็นย่านมหาวิทยาลัย ก็คือว่าจะมีมหาวิทยาลัย
อยู่ประมาณสองถึงสามแห่ง (ฟูจิ) อ๋อ (พิพัฒน์) ที่ตรงไปนี่นะครับ
ที่ผมจบ คือมหาวิทยาลัยซือต้า สี่แยกนี้ เขาเรียกว่าซือต้าลู่ เป็นสี่แยกถนนซือต้า เป็นสี่แยกของมหาวิทยาลัยครู เมื่อเดินตรงไปเราจะเจอตลาด เป็นตลาดกลางคืน เขาเรียกว่าซือต้าเย่ซื่อ ก็คือตลาดกลางคืน แล้วก็เดินตรงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงถนนเหอผิงตงลู่ ก็จะเป็นมหาวิทยาลัยครูแห่งชาติซือต้า ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบุคลากรครู
ที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน (บรรยาย) กินแซนด์วิชไปคุยไป
ได้ความรู้มาเต็มเลยนะคะ อาจารย์เริ่มสนุก ก็เลยพาเราไปชิมขนมร้านที่อยู่ใกล้ ๆ อีก กว่าจะไปถึงมหาวิทยาลัยที่อาจารย์สอน พวกเราคงต้องอิ่มมากแน่ ๆ เลยค่ะ
(พิพัฒน์) โอเคครับ
นี่คือเค้กครับ
เค้ก เค้าเรียกว่าเค้ก (ภาษาจีน) ยวี่โถว ตั้นเกา ยวี่โถวก็คือเผือกใช่ไหมครับ
ยวี่โถวคือเผือก ตั้นเกาก็เค้ก (ฟูจิ) ห่าวซือ (พิพัฒน์) โอเค (ภาษาจีน) (บรรยาย) อาจารย์พิพัฒน์ใจดีมากจริง ๆ ค่ะ
ต้อนรับทีมงานดุจญาติมิตร ขอบคุณมากเลยนะคะ อาจารย์เรียนภาษาจีนมาทั้งหมด
เกือบ 10 ปีเลยค่ะ

ดังนั้น ความรู้ภาษาจีนไม่ต้องพูดถึง และเมื่อทางมหาวิทยาลัย
ต้องการครูสอนภาษาไทย อาจารย์จึงตัดสินใจสมัคร และก็ได้เป็นอาจารย์ค่ะ

[เสียงดนตรี]

นักศึกษาทำไมถึงอยากเรียนภาษาไทย เพราะอะไร เพราะว่าเขาชอบเมืองไทย (พิพัฒน์) เด็กนักศึกษาเขาชอบเมืองไทย ปี ๆ หนึ่งเขาไปเที่ยว
ครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้งก็มี คนที่เขาจบแล้วไปทำงาน คนที่เขาทำงานนะครับ
เขาจะชอบไปเที่ยวเมืองไทยมาก เพราะเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วนี่ เมืองไทยค่าใช้จ่ายถูกกว่า แล้วน่าเที่ยวมากกว่า ที่สำคัญคืออะไรรู้ไหม นิสัยคนไทย เขาชอบนิสัยคนไทยมาก นิสัยคนไทยเป็นคนที่มีอัธยาศัยไมตรี

[เสียงดนตรี]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย)
และแล้วเราก็มาถึงค่ะ
ที่นี่เป็นเหมือนมหาวิทยาลัย ที่ผลิตผู้มีความรู้ทางด้านการเมือง ก่อตั้งโดยท่าน เจียง ไคเช็ก อดีตประธานาธิบดีคนแรกของไต้หวัน ซึ่งมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญทางด้านภาษาด้วย จึงมีการสอนภาษาต่างประเทศมากมาย และภาษาไทยคือหนึ่งในนั้นค่ะ
(พิพัฒน์) ที่เขาสนใจภาษาไทยเพราะว่า ตอนนี้รัฐบาลให้ความสำคัญ และก็กำลังรณรงค์ให้นักศึกษาไต้หวัน (พิพัฒน์) ให้เรียนภาษาให้เยอะขึ้น อย่าเรียน
แต่ภาษาอังกฤษ หรือว่าภาษาทางยุโรปหรือภาษาญี่ปุ่น เมื่อก่อนเขาชอบญี่ปุ่นกับเกาหลี
แต่เดี๋ยวนี้เน้นให้รู้ภาษาที่สามมากขึ้น นักศึกษาผมคนหนึ่ง
ภาษาอังกฤษเขาเก่งมาก เสร็จแล้วมีวันหนึ่งเขาก็เห็น
เขาได้ดูหนังไทย เสร็จแล้วเขาบอกว่า
ภาษาไทยแปลกมาก เขาก็เลยรู้สึกชอบ พอเขาชอบ เขาก็เลยมาเรียนกับผม (ฟูจิ) โอ้โฮ (พิพัฒน์) ในระหว่างนั้นนี่
ก็ไปเที่ยวเมืองไทยด้วย แล้วก็ติดตามเรื่องราวต่าง ๆ
ของประเทศไทยบ่อย ๆ เขาสามารถพูดสื่อสารได้ เขาสามารถที่จะเขียนภาษาไทยได้และอ่านได้ ปรากฏว่าเขาได้งาน เขามีโอกาส เขาได้งาน เพื่อนคนที่เก่งภาษาอังกฤษอย่างเดียว
แต่ไม่รู้ภาษาไทย เขาไม่ได้งาน (บรรยาย) เป็นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากนะคะ เรียนภาษาที่สอง ที่สาม ที่คนเรียนไม่มาก อาจจะได้มีโอกาสในการทำงาน
ที่แตกต่างได้มากกว่า เราอยากรู้ว่า แล้วสาเหตุหลัก ๆ ที่คนไต้หวันอยากเรียนภาษาไทย
เพราะอะไรคะ ส่วนใหญ่เด็ก ๆ เขาเรียนภาษาไทย
เพื่อเอาไปทำอะไรครับ
(พิพัฒน์) นักศึกษาไต้หวันเรียนภาษาไทย
เพื่อไปเที่ยวเมืองไทย (ฟูจิ) ไปเที่ยว (พิพัฒน์) ไปเที่ยวเลย อย่าคิดว่าเขาอยากจะทำงานนะ ไปเที่ยว ไปเอ็นเตอร์เทน (ฟูจิ) แล้วไม่ไปพวกฝรั่ง พวกอเมริกาหรือญี่ปุ่นอะไรหรือ (พิพัฒน์) เพราะว่าไปเที่ยวเมืองไทยนี่ ค่าครองชีพถูกกว่า ค่าเครื่องบินก็ไม่แพงมาก ก็แค่ประมาณแปดพันถึงหมื่นกว่า เสร็จแล้วค่าใช้จ่ายที่เมืองไทยก็ถูก แล้วเมืองไทยน่าเที่ยว คนไทยนิสัยดี ใช่ไหมครับ
มีอัธยาศัยในการต้อนรับคนต่างประเทศ
ดังนั้นเขาคิดว่าไปเที่ยวเมืองไทยคุ้ม (บรรยาย) ก่อนจะไปถึงห้องเรียน อาจารย์พาทัวร์มหาวิทยาลัยซะทั่วเลยค่ะ
ไม่เว้นแม้
แต่โรงอาหารค่ะ
หรือว่าเป็นฟูดคอร์ท
ของมหาวิทยาลัยการเมืองเจิ้งต้า หรือว่าเจิ้งจื้อต้าเสวีย เราเรียกว่าชานทิง ชานทิงก็คือโรงอาหาร หรือร้านอาหาร (ฟูจิ) นี่คือเด็ก ๆ จะมากินกันตรงนี้ ใช่ จะมาทานที่นี่
ก็คือเป็นเหมือนกับคาเฟทีเรียครับ
ราคาก็จะไม่แพงเท่าไรสำหรับเด็ก ไม่แพงครับ
เป็นสำหรับนักศึกษาครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) อิ่มแล้ว เข้าห้องเรียนได้ค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาจีน) ก็คือภาพพจน์ที่ดีหรือว่าอิมเมจที่ดี – เดี๋ยว ๆ อาจารย์ แป๊บหนึ่งนะครับ

– ครับ
ผม นี่คือนักเรียนที่เรียนภาษาไทยใช่ไหม ใช่ครับ
นี่คือนักเรียนภาษาไทย (ฟูจิ) ตื่นเต้นแล้วนี่ เพราะว่าเดี๋ยวเข้าไปปุ๊บ สามารถพูดภาษาไทย
กับเขาได้บ้างใช่ไหม ทักทาย นี่เขาเป็น เป็นแค่เบสิกเฉย ๆ เบสิกนี่อาจจะได้แค่ทักทาย
อะไรอย่างนี้นะครับ
หรือว่าถามชื่ออะไร ชื่ออะไร เขาพอพูดได้ ดีใจเนอะ ตื่นเต้นเนอะ มาที่ไต้หวันแล้วสามารถพูดภาษาไทย แล้วเขาสามารถคุยกับเรา – แล้วก็รู้จักประเทศไทย รู้จักเราด้วย
– ครับ
ผม – มันจะตื่นเต้นและสนุกขนาดไหน
– ครับ
ผม เดี๋ยวเราจะไปทักกันแล้วเนอะ
นี่เห็นเขาอยู่โน่นแล้ว เชิญครับ
ๆ เข้าไปเลยเนอะ
เริ่มสอนแล้วหรือครับ
(พิพัฒน์) จริง ๆ เริ่มสอนแล้วล่ะ
โอเค ๆ (ฟูจิ) เริ่มสอนแล้วหรือครับ
(พิพัฒน์) สวัสดีครับ

(นักเรียน) สวัสดีครับ
/ ค่ะ
(ฟูจิ) สวัสดีครับ
(ภาษาจีน) (พิพัฒน์) สวัสดีครับ

(นักเรียน) สวัสดีครับ
/ ค่ะ
นี่คนไต้หวันนะ เด็กไต้หวันมาเรียนภาษาไทยเลยหรือ (บรรยาย) ตื่นเต้นที่เห็นคนไต้หวัน
พูดภาษาไทยได้ชัดไม่เบาเลยนะคะ (ภาษาจีน) ยินดีที่ได้รู้จัก (ภาษาจีน) โอเค

[หัวเราะ]

คุณเป็นคนไต้หวันใช่ไหมคะ (นักเรียน) คุณเป็นคนไต้หวันใช่ไหมคะ – ไม่ใช่
– (นักเรียน) ไม่ใช่ – ผมเป็นคนไทย
– (นักเรียน) ผมเป็นคนไทย คุณเป็นคนไทยใช่ไหมครับ
(นักเรียน) คุณเป็นคนไทยใช่ไหมครับ
(พิพัฒน์) หนานเซิง ผู้ชาย เย้าซัว ครับ

นวี่เซิง ผู้หญิง เย้าซัว ค่ะ
หน้า 121 ไม่ใช่ค่ะ
(นักเรียน) ไม่ใช่ค่ะ
(พิพัฒน์) ดิฉันเป็นคนไต้หวันค่ะ
(นักเรียน) ดิฉันเป็นคนไต้หวันค่ะ
ไม่ใช่ค่ะ
ดิฉันเป็นคนไต้หวันค่ะ
(นักเรียน) ไม่ใช่ค่ะ
ดิฉันเป็นคนไต้หวันค่ะ
(บรรยาย) หลังจากอาจารย์ออกเสียงให้ฟัง และได้ออกเสียงตามกันพอสมควร ตอนนี้ก็จะลองคุยกันเองค่ะ
ฟูจิเซ็นเซก็มีคู่สนทนาเหมือนกันนะคะ (ฟูจิ) สวัสดีค่ะ

[หัวเราะ]

(นักเรียน) ผมชื่อมานะครับ
ผมชื่อมานะครับ
คุณชื่ออะไรครับ
ดิฉันชื่อเฉินเหม่ยลี่ค่ะ
คุณเป็นคนไต้หวันใช่ไหมคะ ไม่ใช่ ผมเป็นคนไทย คุณเป็นคนไต้หวัน
เออ คนไทยใช่ไหมครับ

[เสียงดนตรี]

(นักเรียน) เบอร์โทรศัพท์ของคุณเบอร์อะไรคะ (นักเรียน) เบอร์ 0-2345-6789 ค่ะ
อยากดื่มกาแฟเย็น ๆ นั่นไง กาแฟกระป๋องอยู่ที่นั่น ขอบใจจ้า แล้ววินัยล่ะมาซื้ออะไร มาซื้อนมกล่องครับ
อือ ดื่มนมมีประโยชน์ดีนะ อย่างนั้นไปก่อนนะ เดี๋ยวพี่ ๆ ยังใช้เบอร์มือถือเบอร์เดิมอยู่หรือเปล่าครับ
เบอร์เดิมจ้า – แล้วโทรมาคุยกันนะ เจอกันใหม่
– เจอกันใหม่ ขอบคุณครับ
มีอาหารจานเด็ดอะไรแนะนำไหมคะ มีหลายอย่างครับ
เช่น ต้มยำกุ้ง ส้มตำ และยำทะเลนะครับ
(ภาษาจีน) – สวัสดีค่ะ

– สวัสดีค่ะ
ฉันชื่อเฉินซิน คุณชื่ออะไรคะ ดิฉันชื่อฉืออี๋ค่ะ
คุณเป็นคนไต้หวันใช่ไหมคะ ไม่ใช่ ฉันเป็นคนมาเลเซีย คุณเป็นคนไทยใช่ไหมคะ ไม่ใช่ค่ะ
ดิฉันเป็นคนไต้หวันค่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันค่ะ
(พิพัฒน์) โอเค [ปรบมือ]
– [ปรบมือ] (บรรยาย) โอ้โฮ นี่ขนาดห้องเรียนพื้นฐาน ยังพูดกันชัดขนาดนี้เลยนะคะ น่าดีใจจังเลยค่ะ
น้อง ๆ บางคนที่เราคุยด้วยบอกว่า หนึ่งในเหตุผลที่มาเรียนภาษาไทย เพราะอยากจะดูหนัง
ดูละครไทยได้รู้เรื่อง ด้วยการฟังภาษาไทย ก็คงคล้าย ๆ ที่เด็กไทย
เรียนภาษาญี่ปุ่นหรือเกาหลี เพื่อจะดูซีรีส์ให้สนุกขึ้นนะคะ แถมวัยรุ่นไต้หวัน
ก็กรี๊ดดาราไทยเหมือนกันค่ะ
แล้วก็รู้สึกว่า
การได้เห็นวัฒนธรรมไทยผ่านละคร ก็เป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับพวกเขามากค่ะ
(ภาษาจีน) (บรรยาย) น้องบอกว่า
จุดที่ยากของการออกเสียงภาษาไทย คือตัว ง งู และ ร เรือ ค่ะ
อย่าง ร เรือ ต้องมีการกระดกลิ้น เลยยากสำหรับเขาค่ะ
และส่วนที่ง่าย ก็คือการผสมคำ เพราะมีวิธีการคล้ายภาษาจีนค่ะ
และน้องคนนี้ก็มีความคิดเห็น
ต่อประเทศไทย ที่ทำให้เราดีใจมากนะคะ น้องบอกว่า เขารู้สึกว่าเมืองไทย มีบางอย่างที่พัฒนาไป
มากกว่าจีนและก็ไต้หวันด้วยซ้ำ ตอนนี้อาจารย์พิพัฒน์จะอธิบายหลักสูตร
ให้เราฟังชัด ๆ อีกทีค่ะ
ก็ตั้งแต่เบสิกเลย
ก ไก่ ข ไข่ สระอะ สระอา ขึ้นมาเรื่อย ๆ แล้วก็ผสมคำ แล้วก็จนกระทั่งตอนนี้
มีภาษาไทยสอง (พิพัฒน์) ก็คือภาษาไทยที่ใช้ในการท่องเที่ยว แล้วก็ภาษาไทยธุรกิจ ทำธุรกิจต่าง ๆ ด้วย
แต่ว่าเราพยายามที่จะสร้าง ให้มันเป็นคณะขึ้นมา ให้มันเป็นสาขาขึ้นมา จนกระทั่งตอนนี้
เรามีสาขาภาษาอาเซียนเกิดขึ้น ซึ่งเริ่มตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้เป็นแค่โปรแกรม นักศึกษาจะต้องเก็บหน่วยกิต 20 หน่วยกิต
แต่ว่าตอนนี้กลายเป็น เหมือนกับเป็นสาขาแล้ว แล้วเด็กส่วนหนึ่งก็มาจากสาขาอาเซียน (บรรยาย) อาจารย์อธิบายต่อว่า สิ่งที่ยากสำหรับคนไต้หวันคือ การออกเสียงตัวสะกดบางตัว และการมีวรรณยุกต์ ที่ทำให้การออกเสียงเพี้ยนไปนิดหน่อย ก็อาจจะความหมายผิดได้ จึงต้องมีการสอนการเทียบเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา
อะไรแบบนี้ด้วยค่ะ
ซึ่งหนังสือที่เราเห็นอยู่นี้ อาจารย์เป็นคนเขียนขึ้นมาด้วยตัวเอง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนค่ะ

แต่แม้ว่าจะยากอย่างไร อาจารย์ก็คิดว่า แนวโน้มการเรียนภาษาไทย
ของคนไต้หวัน จะมากขึ้นอีกค่ะ
(พิพัฒน์) เพราะผมคิดว่า
เส้นทางนี้ยังไม่มีคนทำ ผมก็เลยคิดว่า
ถ้าเราสามารถนำสิ่งดี ๆ สร้างภาพพจน์ใหม่ สำหรับคนไทยให้คนต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไต้หวัน จากเดิมที่เขาคิดว่าเมืองไทย เป็นเมืองที่มียาเสพติดเยอะ มีโสเภณีเยอะ
หรือว่าเป็นเมืองที่สกปรก อะไรก็แล้ว
แต่ หรือว่าไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ตอนนี้เรากำลังเปลี่ยนแปลง เรากำลังเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (บรรยาย) การที่คนไต้หวันรู้ภาษาไทย และคนไทยก็รู้ภาษาจีน ในมุมมองของอาจารย์ จะเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจอะไรได้บ้าง ลองฟังดูค่ะ
(พิพัฒน์) เพราะการรู้ภาษา มันช่วยได้หลายอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่การท่องเที่ยวใช่ไหมครับ
ไม่ใช่เพียงแค่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ใช่เพียงแค่การค้า
แต่ว่าเรื่องของแรงงาน การใช้แรงงานที่นี่ ก็มีส่วนสำคัญ เรามีนักเรียนหลายคนที่อยู่ที่อำเภอจงลี่
จังหวัดเถาหยวนนะครับ
ที่นั่นเป็นศูนย์ เหมือนกับว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ และคนไทยอยู่เยอะมาก

แต่…

ถ้าหากว่าคนไต้หวันเขาเข้าใจภาษา เขาสามารถเข้าใจความต้องการส่วนตัว
ของแรงงานไทยเอง เพื่อน ๆ คนไทย
ที่มาทำงานที่ไต้หวัน สามารถช่วยได้ (บรรยาย) นอกจากการสอนภาษาไทย
ให้คนไต้หวันแล้ว อาจารย์ยังสอนภาษาจีนให้เด็กไทยด้วยนะคะ ซึ่งเป็นการสอนในแบบอาสาสมัคร คือช่วยสร้างความรู้ให้เด็กที่ด้อยโอกาสค่ะ
(พิพัฒน์) มีคนมีเพื่อนมาเที่ยวไต้หวัน เสร็จแล้วผมซื้อ
แต่ขนมฝากไป เดี๋ยวทานสองสามวันก็หมดแล้ว ผมเลยคิดว่า ผม
แต่งหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เอามาแจกเป็นของขวัญดีกว่า เพราะเขาสามารถที่จะเรียนรู้ และมันเป็นวิทยาทานได้ตลอดชีวิต
ดังนั้น เขาสามารถเรียนแล้ว
เขามีความรู้ภาษาจีน เราก็มีความสุขด้วย สำหรับนักศึกษาที่มาเรียนกับผม ใน
แต่ละปีในช่วงฤดูร้อนกับฤดูหนาว
จะไปเมืองไทย ไปอาสาสมัครจะไปสอนภาษาจีนที่ต่างจังหวัด เราจะไปที่โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ที่บางใหญ่ แล้วก็โรงเรียนบ้านจั่น ที่อุดรธานีด้วย

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) อาจารย์พิพัฒน์ไม่ได้สอนภาษาไทย แค่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้นนะคะ ยังมีไปสอนที่สถาบันภาษาอื่นด้วย ซึ่งผู้เรียนก็มีหลากหลาย เป็นคนในวัยทำงาน ที่บางคนต้องใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน ในการทำงานด้วยค่ะ
อย่างคนที่ฟูจิเซ็นเซคุยด้วยอยู่นี้ เรียนภาษาไทยมาเป็นสิบปีแล้ว พูดได้เก่งมากเลยค่ะ
(ฟูจิ) เรียนมากี่ปี แล้วมีแรงบันดาลใจอย่างไร
ที่มาเรียนภาษาไทย ขอสัมภาษณ์หน่อยนะครับ
ครับ
ผม ถึงปัจจุบันนี้
ก็ประมาณสิบปีแล้วครับ
สิบปีแล้วหรือครับ
ใช่ครับ

แต่ว่าไม่ได้ต่อเนื่องนะครับ
ก็เรียนไปทำงานไปอะไรอย่างนี้ เดี๋ยวนะครับ
คุณคนไทยหรือเปล่า ไม่ใช่ครับ
คนไต้หวันนะครับ
สำเนียงเหมือนคนไทยเลย ครับ
ผม ก็โอเคใช้ได้ครับ
พูดได้ เขียนได้ไหม ก็เขียนได้บ้างครับ
แล้วอ่านได้ไหม อ่านได้ครับ
(ฟูจิ) อันนี้อ่านว่าอะไรครับ
(คนไต้หวัน) จะเก่งกว่านี้เยอะเลย อย่างนั้นช่วยเขียนคำว่า ดูให้รู้หน่อยครับ
ดูให้รู้ ดูให้รู้ เยี่ยมมาก แล้วภาษาไทยยากหรือง่ายครับ
คิดว่าง่ายนะครับ
เพราะว่าภาษาไทยจะมี 5 เสียงใช่ไหมครับ
ครับ
ภาษาจีนก็มี 5 เสียงเหมือนกัน ก็เลยตอนที่เราพูดจะได้รู้ว่า ต้องออกเสียงอย่างไรถึงจะถูก มันทำให้เราเรียนง่ายยิ่งขึ้น
อะไรอย่างนี้ครับ
(บรรยาย) คนต่อไปนี่ยิ่งเก่งเลยนะคะ เคยทำงานที่เมืองไทย
แต่ช่วงนั้นงานยุ่ง ไม่ได้เรียนภาษาไทย พอกลับมาไต้หวัน ก็เลยมาเรียนกับอาจารย์พิพัฒน์
ได้ประมาณสี่ปีแล้ว มาฟังสำเนียงของเขากันค่ะ
คุณชื่ออะไรครับ
(จิมมี่) ผมชื่อจิมมี่ครับ
แล้วเรียนภาษาไทยมากี่ปีแล้วครับ
เมื่อก่อนเคยทำงานที่ไทย
แต่ว่าตอนนั้นงานยุ่งมาก ไม่ค่อยมีเวลาเรียนภาษาไทย แล้วก็ย้ายกลับมาทำงานที่ไต้หวัน ก็เลยอยากพัฒนาภาษาไทยของตัวเอง – ก็เลยมาเรียนภาษาไทย
– อ๋อ ถึงตอนนี้ประมาณ
สามปี สี่ปีแล้วครับ
– อือ เก่งมาก สามสี่ปีเลย
– ขอบคุณครับ
เพราะว่าตอนแรกที่ไปที่เมืองไทย ก็ยังไม่ค่อยมีเพื่อนมีอะไร ก็มี
แต่เพื่อนไต้หวัน เ
ถ้าแก่ – หรือพนักงานคนไทย
– ครับ
แล้วก็จะเป็นเพื่อนกัน
แล้วก็มีเพื่อนใหม่อีก ดีครับ
ภาษานี่เป็นจุดเริ่มต้น ในการสร้างมิตรภาพ สร้างรายได้ สร้างอะไรเยอะแยะมากมาย ใช่ ๆ ครับ
(บรรยาย) คนต่อไปทำให้ฟูจิเซ็นเซงงไปเลยค่ะ
ท่านพูดอะไรที่ทำให้เรางงกันนะ (ภาษาญี่ปุ่น) (คนไต้หวัน) ผมเมื่อก่อนเรียนหนังสืออยู่ที่ญี่ปุ่น (ฟูจิ) เรียนหนังสืออยู่ที่ญี่ปุ่นด้วย มีเพื่อนนักศึกษา
มาจากเมืองไทยเยอะ ๆ อ๋อ เยอะ ๆ ครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) อยู่ญี่ปุ่นนะ หกปี เจ็ดปี เราพูดภาษาอะไรกันอยู่นี่
พูดญี่ปุ่น พูดไทย พูดภาษาอังกฤษ พูดภาษาไต้หวัน (ภาษาญี่ปุ่น)

[หัวเราะ]

งงเลย แล้วท่านทำงานอะไรครับ
– ทำงาน
– ทำงานอะไรครับ
ตอนนี้ทำงานอยู่ที่รัฐบาลไต้หวัน (ฟูจิ) รัฐบาลไต้หวัน
– ใช่ (ฟูจิ) เป็นผู้ใหญ่ในรัฐบาลเลยหรือครับ
อือ ใช่ บอกได้ไหมครับ
ผมเป็นอธิบดี อะไรนะ ของกระทรวงการเกษตร – อธิบดีการเกษตรหรือ
– ใช่ อยู่ที่นี่ มาเรียนภาษาไทยที่นี่ – ใช่
– โอ้โฮ (บรรยาย) น่าภูมิใจมากเลยนะคะ ท่านอธิบดีมาเรียนภาษาไทย
กับอาจารย์พิพัฒน์ด้วย นี่ไม่ใช่ธรรมดาเลยนะคะ ท่านเห็นความสำคัญของประเทศไทยมากค่ะ
สองอาทิตย์ที่แล้ว
ผมไปมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – อ๋อ ไปเกษตรศาสตร์
– ไปเซ็นสัญญา – โอ้โฮ เซ็นสัญญา
– เซ็นสัญญากับมหาวิทยาลัยเกษตร – มหาวิทยาลัยเกษตร
– ใช่ ผมรู้สึกว่า คือ
ถ้าพูดภาษาหรือทำการธุรกิจ หรือมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ถ้าเราพูดภาษานั้นได้ในประเทศนั้นได้ เราจะมีความง่ายในการสื่อสาร และมีความผูกพันทำให้งานไปได้ดี เยี่ยมมากเลยครับ
อย่างนั้นก็พวกเรานะครับ
อย่าลืมเรียนภาษาอื่น ๆ ด้วย ประเทศเราจะได้พัฒนาด้วยครับ
(บรรยาย) นี่คืออีกแง่มุม
ของความเป็นไทย ภาษาไทย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่เกิดขึ้นจากภาษาไทยค่ะ
อาจารย์พิพัฒน์ถือว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญ หนึ่งในความสัมพันธ์นี้เลยนะคะ

[เสียงดนตรี]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย)
แต่ในไต้หวัน
ก็มีอาจารย์ที่สอนภาษาไทยอีกคน ที่เป็นที่รู้จักกันดี จุดเด่นของท่าน คือเป็นอาจารย์สอนภาษาไทย
แต่ท่านเป็นคนไต้หวัน 100 % ค่ะ
เราไปรู้จักท่านพร้อม ๆ กัน สถานที่นัดหมายของเรา คือร้านส้มตำหน้าปั๊ม เอ๊ย ไม่ใช่ค่ะ

ร้านส้มตำข้างทางในไทเปค่ะ
ลองแอบฟังดูนะคะ ว่าความสามารถในการพูดภาษาไทยของท่าน
เป็นอย่างไรบ้าง (เฮเลน) ส้มตำ แล้วก็อันนี้คืออะไร ดูน่ากินเนอะ อร่อยนะ (ฟูจิ) อร่อยมากครับ
บรรยากาศนี่คือแบบว่า คิดไม่ถึงว่าจะอยู่ไต้หวัน แล้วอาจารย์เฮเลน พูดภาษาไทยอีก คืองงนะ พูดภาษาไทย กินส้มตำ กินอาหารไทย (เฮเลน) ประเทศไทยที่อยู่ในไต้หวัน (บรรยาย) นี่ฟูจิเซ็นเซ
ไม่ได้คุยกับคนไทยอยู่ใช่ไหมคะ คนนี้คืออาจารย์เฮเลน คนไต้หวันแน่นะคะ พูดไทยชัดมากเลย
แต่วันนี้เวลาหมดแล้ว ตอนหน้าเราค่อยมาพิสูจน์ความสามารถ
ของอาจารย์กันต่อ พร้อมพูดคุยกับเจ้าของร้านส้มตำคนไทยท่านนี้ ที่อยู่ไต้หวันมานานเหมือนกันค่ะ
พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับดูให้รู้ในไต้หวันค่ะ
แล้วพบกันใหม่นะคะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *