ชาเขียวในตำนานที่ต้องไปพิสูจน์

810 0

(บรรยาย) ชาเขียวจากร้านที่สืบทอดกิจการ
มานานกว่า 150 ปี สู่ทายาทรุ่นที่ 16 (ฟูจิ) นี่ก็คือรุ่นที่ 1 ครับ
ดาบนี่มีไว้ฮาราคีรี พร้อมที่จะยอมตายเพื่อโชกุน
ถ้าถูกโชกุนบอกว่าไม่อร่อย อย่างนี้ครับ

ก็คือความรับผิดชอบอย่างสูงเลย (บรรยาย) จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องชาที่ดีได้ ต้องไม่จับโทรศัพท์มือถือ ต้องไม่เล่นคอมพิวเตอร์ ต้องตื่นก่อนหกโมง มาฝึกการคัดสรรใบชา นี่ไม่ใช่งานง่าย ๆ เลย ตามฟูจิเซ็นเซไปดูกันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) เมื่อหลายเดือนก่อน ฟูจิ เซ็นเซ
ได้พาคุณผู้ชมไปเที่ยวถนนชาเขียว ในเกียวโต ชิมของอร่อยมากมายนะคะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) วันนี้เราต้องกลับมาที่ถนนนี้อีกครั้ง เพราะอะไร ให้ฟูจิเซ็นเซอธิบายค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) เราเจอคุณผู้ชายอยู่คนหนึ่งครับ
ซึ่งเป็นคนที่มีเสน่ห์ประทับใจมาก ทั้งชีวิตอยู่กับชา มันจะลึกซึ้งมาก รู้ว่าอันนี้มาจากไหน ยุคไหน อย่างไร
เพราะเป็นคนที่ไม่ธรรมดา ไปดูให้รู้กันครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) คุณผู้ชายท่านนั้นคือใคร ตามไปดูที่ร้านขายชาเขียวร้านนี้ค่ะ

[เสียงดนตรี]

ดูสิคะ ลูกค้าแน่นร้านเลยค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่เรานัดถ่ายรายการนะครับ

แต่ว่ามีลูกค้ามาเต็ม เราต้องรออีกประมาณชั่วโมงกว่า นี่เรารอไปแล้วชั่วโมงหนึ่ง เดี๋ยวต้องรออีกชั่วโมงหนึ่งนะ มีอีกเซตหนึ่งที่จะมา

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) หอมมาก (บรรยาย) รอไปรอมา
จนได้สัมภาษณ์ท่านแล้วค่ะ
หามุมสงบได้ ก็รีบคุยเลยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ประวัติของร้านที่นี่ 150 ปี ท่านเป็นรุ่นที่ 16

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ร้านนี้ครับ
ก็คือว่า จะเปิดแค่ร้านเดียว และก็ไม่เอาชาไปส่งให้ใคร ต้องมาที่นี่ที่เดียวถึงจะกินได้ และก็ข้างบนเป็นมิวเซียมครับ
เป็นพิพิธภัณฑ์ ให้ทุกคนได้รู้จักร้านนี้ครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ปัจจุบันนี้ชาของเขตอูจิ ก็คือเมืองอูจิ เหลือชาแค่ 1 ส่วน 20 บอกว่าพยายามที่รักษาชาของเมืองอูจิ ให้มีรสชาติดั้งเดิม ก็จะพยายามรักษาให้อยู่ได้ (บรรยาย) ประวัติศาสตร์ของย่านนี้ และของร้านยาวนานมากจริง ๆ นะคะ และการที่ท่าน
ยังพยายามสืบทอดความรู้เรื่องชาเขียวนี้ ก็เพราะว่าท่านอยากเผยแพร่เรื่องนี้ ให้ทั้งคนญี่ปุ่น
และคนต่างชาติได้รู้อย่างลึกซึ้งค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ความลึกซึ้งของการชงชานะครับ
คนที่มาเรียนบอกว่า ให้เรียนรู้ถึงกิริยามารยาทที่น่ารัก การคุยสนทนาที่น่ารัก ก็ทำให้ประเทศอื่นรักประเทศญี่ปุ่นนะครับ
เราสัมภาษณ์อยู่นะครับ
ตอนนี้นะครับ
เด็กประถมต้องมาคิวที่สอง เราต้องรีบไปแล้วครับ
(บรรยาย) ตอนนี้เราต้องหยุดคุย และให้ท่านไปสอนเด็ก ๆ ก่อนค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ต่อไปนี้
ก็คือ ความรู้ก็คือสอนด้วยใจ เดี๋ยวให้เด็กได้โม่เอง เขาบอกว่า
ถ้าเราโม่เองจะมีความอร่อยมากขึ้น และบอกว่าให้รู้สึกถึงความเหนื่อย เมื่อเหนื่อยเองก็จะเก่งเอง และก็อยากเก่งด้วยใจครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) เด็ก ๆ มาเรียนการชงชากันค่ะ
การชงชาของญี่ปุ่นเป็นทั้งประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม และประเพณี ที่คนญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกันมาก
ดังนั้น เรื่องนี้จึงต้องสอนเด็ก ๆ ทุกรุ่น ให้ทำให้ถูกต้องค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) เห็นไหม น้องคุณผู้ชายคนนี้นะ การชงแล้วฟองไม่ขึ้นแสดงว่าอะไรครับ
แล้วเมื่อเทียบน้องคุณผู้หญิงทางโน้นนะครับ
น้องผู้หญิงอาจารย์บอกว่า ชงแล้วดีมากมีฟองออกมาสวย บอกว่าเก่งกว่าอาจารย์อีก ชมเลยว่า น้องขนาดเป็นเด็กประถม แล้วสามารถชงทำให้ฟองขึ้นได้ แสดงว่าน้องใส่ใจจุดต่าง ๆ ไม่ปล่อยทิ้ง และก็รู้ถึงความแตกต่าง แสดงว่าในอนาคต เธอจะทำอะไรได้ประสบความสำเร็จ
มากกว่าคนอื่น

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) พอสอนเสร็จ เราก็ได้คิวจาก
ท่านเจ้าของร้านรุ่นที่ 16 อีกครั้งค่ะ
เป็นการถ่ายทำที่ลุ้นจริง ๆ
แต่ทั้งหมดที่เรามายืนตรงนี้ได้ ก็เพราะว่าท่านชวนให้เรามาเรียนรู้เรื่องนี้กันค่ะ
เพราะนี่ก็คือหนึ่งในยุทธศาสตร์ ในการเผยแพร่ชาเขียวญี่ปุ่น ให้ต่างชาติได้รู้จักจริง ๆ จัง ๆ ค่ะ
(ฟูจิ) เดี๋ยวเราอยากรู้ใช่ไหมว่า
วิธีการเลือกชา วิธีการดูชา ที่หอมหรือราคาแพง ๆ
เป็นรูปร่างอย่างไร เดี๋ยวไปดูกันครับ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) ตอนนี้ก็คือจริง ๆ แล้ว
ต้องตื่นเช้า หกโมงเช้าทุกวัน จะมีการตรวจชา เช็กชา (บรรยาย) กระบวนการตรวจสอบชาของท่าน ในความเป็นจริงต้องเริ่มตั้งแต่หกโมงเช้าค่ะ

แต่นี่เพื่อให้เราเห็นขั้นตอน ท่านก็เลยจะสาธิตให้ดู โดยจะต้องนำชาออกมาวางในจาน มีการสัมผัส การดม ใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วน ในการตัดสินคุณภาพของชาค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) กลิ่นเหมือนกันเลย ดูไม่ออก (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ชา
แต่ละที่
ก็จะปลูกใน
แต่ละไร่ไม่เหมือนกัน เหมือนกับชาของอากิตะ
หรือชาของที่ต่าง ๆ ก็จะต่างกัน เหมือนกับไวน์ที่ปลูกที่ไหนก็จะต่างกัน
เพราะฉะนั้น ต้องมีการดมกลิ่น
แยกแยะให้เป็น เมื่อสักครู่ผมดมแล้ว เหมือนกันหมดเลย

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) หลังจากนั้นท่านจะชงชาในน้ำร้อน ประมาณ 30 วินาที แล้วก็ดมใบชาอีกครั้ง

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย)
และสุดท้ายก็ชิมน้ำชาค่ะ
[เสียงชิมชา]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) เห็นฟูจิเซ็นเซยืนดูอยู่ไม่กะพริบตา ท่านก็เลยให้ลองชิมชาด้วยค่ะ
[เสียงชิมชา] [เสียงชิมชา] (ฟูจิ) ไม่สามารถแยกแยะได้ ว่ามันคือรสชาติอย่างไร
แต่ว่าหอมมาก (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ท่านบอกนะครับ
ว่า การดูชาต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่าง คือมันลื่น ๆ เนอะ ใบชาจะมีความหนาต่างกัน และสีก็ต่างกัน และความนุ่มก็ต่างกันด้วย สัมผัสไม่รู้เรื่องเลยผม (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ประสบการณ์ที่ต่างกันเลย (ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) นักชิมชา
ก็มีการจัดระดับเหมือนกันนะคะ ซึ่งท่านอยู่ในระดับที่ 6 ซึ่งการจะขึ้นมาอยู่ในมาตรฐานระดับที่ 6 ได้ ก็เป็นเรื่องยากมากค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ที่ชิมชาเสร็จแล้ว
ถามว่าตกลงเอาชาไหน ท่านบอกว่าเอาชานี้ รู้สึกว่ารสชาติกลมกล่อมกว่า เมื่อสักครู่ผมรู้สึกเลยว่า
รสชาติอร่อยกว่า และอันนี้จะเปรี้ยวกว่า (บรรยาย) และรสชาติ กลิ่น
สัมผัสต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะกลายเป็นตัวตัดสินว่า ชานั้น ๆ จะมีราคาเท่าไรค่ะ
คือมีตั้งแต่กิโลกรัมละหลักพันเยน หรือประมาณ 300 บาท ไปจนถึงหลักหมื่นหรือสามพันบาท และเกินกว่าหนึ่งแสนเยน หรือประมาณสามหมื่นบาทต่อกิโลกรัมเลยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ท่านก็บอกนะครับ
ว่า วิธีการเลือกชา ก็บอกว่า
ชาที่ดีก็คือจะไม่ฝาดและจะไม่ขม วิธีการดมชา ดูชาอะไรต่าง ๆ บอกว่า ลูกชายยังไม่รู้ ใช้เวลาฝึกประมาณ 3 ปี 5 ปี ต้องชิมทุกเช้า ดูทุกเช้า ดมกลิ่นทุกเช้าแล้วจะรู้ครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) และด้วยความที่ตระกูลของท่าน คลุกคลีกับชาเขียวมาเป็นร้อยปี จึงมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำว่า ต้นตระกูลของท่าน เคยส่งชาไปถวายโชกุนด้วยค่ะ

แต่ออกจะโหดร้ายนิดหน่อยนะคะตรงที่ว่า
ถ้าเมื่อไรโชกุนบอกว่า
ชาที่ส่งมาไม่อร่อย ก็อาจจะมีถึงขั้นต้องฮาราคีรี คือคว้านท้อง
รับผิดชอบความผิดนี้กันเลยทีเดียว
ดังนั้น จึงเป็นทั้งความภูมิใจ
และภาระรับผิดชอบ ที่จะต้องผลิตเฉพาะชาเขียวที่ดีเท่านั้นค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) เขาบอกว่า โนทัช ก็คือไม่จับครับ
มือถือก็ไม่จับ คอมพิวเตอร์ก็ไม่จับ บุหรี่ก็ไม่สูบ และการพนันก็ไม่เล่น เดินทางสายชาอย่างเดียว เพราะอะไรครับ

ให้แสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจ เพราะว่าสิ่งอำนวยความสะดวก ก็ทำให้เราสบายขึ้น ดีขึ้น
แต่ว่าการพึ่งสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอ่อนแอลง
เพราะฉะนั้น การชงชา การทำแบบนี้ เป็นเรื่องที่เหนื่อย เป็นเรื่องที่ลำบาก
แต่ว่าต้องฝึกฝนอยู่ตลอด (บรรยาย) เป็นอาชีพที่ต้องเข้มงวด
กับชีวิตตัวเองมากเลยนะคะ เพื่อรักษาประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้ยังคงทำงานได้ดีที่สุด ละเมียดละไมที่สุด ซึ่งท่านบอกว่า บริษัทชาที่อื่น อาจจะไม่ได้ทำเหมือนท่าน เพราะท่านอยากจะเป็นเหมือนซามูไรคนสุดท้าย คือรักษาคุณสมบัติขั้นสุดยอดไว้ให้ดีที่สุดค่ะ
และบทเรียนต่อไป ท่านจะทำการโม่ใบชาให้เราชมค่ะ
(ฟูจิ)
ก่อนอื่นมือซ้ายวางไว้ตรงนี้ครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) และก็จับ แล้วก็หมุนนะครับ
วิธีหมุน ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา หนึ่งวินาที หนึ่งรอบครับ
แข็งหนัก อย่าหยุด (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ต้องทำใจให้เงียบ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) กระตุก กระตุกหน่อยนะ ออกมาแล้วนี่ไง (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่ดูของผมนะครับ
เขาบอกว่า เวลาโม่
ถ้ากระตุก กระตุก จะออกมาเป็นชาที่ไม่สวย ดูสิครับ
ผงที่ของผมต่างจากของท่านเลยไหม ดูสิ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) ตอนนี้ได้ผงชาสีสวย
กลิ่นหอมออกมาแล้ว ก็มาถึงพิธีการดื่มชาแบบญี่ปุ่นแท้ ๆ กันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ)
ก่อนอื่นนะครับ
จะมี 4 ชิ้น หนึ่งก็คือ ชามของมัทฉะ (ภาษาญี่ปุ่น) นี่ก็คือ ชาเซ็ง ตัวชงชานะครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) เป็นช้อน เรียกว่า ชะฉะคุ นี่ก็คือ โถที่ใส่ชา ที่อยู่ข้างใน ชื่อนัตสึเมะ (บรรยาย) ท่านบอกว่าให้ฟูจิเซ็นเซ
ทำตามท่านให้เหมือนที่สุด เพราะ
ถ้าทำได้ นั่นก็อาจจะอนุมานได้ว่า จะสามารถทำเรื่องต่าง ๆ ได้พิถีพิถันดีมากเหมือน ๆ กันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) เคาะเพื่อไม่ให้มีเศษเหลือที่ช้อน เพราะว่าเศษเหลือคือความเสียดาย (ภาษาญี่ปุ่น) จิตใจแห่งความเสียดาย

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ท่านบอกว่า เวลาจะดื่ม
ถ้าดื่มจากปากตรงนี้เลย จะเป็นการเสียมารยาทครับ
ก็คือมีการหมุนสองรอบ ให้รอบที่หนึ่งกับรอบที่สอง ให้เป็น 90 องศา แล้วค่อยดื่มครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ทำไมต้องหมุนชามครับ
เหตุผลก็คือว่า
การเคารพกับเพื่อนของเราอีกฝ่ายหนึ่ง คือว่าเราจะไม่ดื่มตรง ๆ เราจะพยายามดื่มในที่อื่น เพื่อที่จะเป็นการเคารพเพื่อนเรา เมื่อดื่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะหมุนชามคืน นี่คือเหตุผลของการใส่ใจ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) และการจะดื่มชาให้อร่อย ก็จะต้องมีขนมญี่ปุ่นด้วย และต้องนั่งกินให้สะดวกที่สุดด้วยนะคะ ฟูจิเซ็นเซก็เลยขอนั่งขัดสมาธิแทนค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) คุณผู้ชมก็สามารถ
ได้รับประสบการณ์แบบนี้เช่นกันนะคะ คือการบดชา และชงชาแบบญี่ปุ่นแท้ ๆ เพราะที่ร้านนี้ เขาเปิดโอกาสให้ทำได้ค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ดื่มชาเสร็จแล้ว เราไปชมพิพิธภัณฑ์ในร้านของท่านกันค่ะ
(ฟูจิ) และท่านเป็นรุ่นที่ 16 นะครับ
นี่ก็คือภาพของรุ่นที่ 1 ครับ
ผ่านไป 500 ปี (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) สมัยก่อนนะครับ

จะมีคนที่สามารถถือดาบได้ ดาบมีไว้ฮาราคีรี คือพร้อมที่จะยอมตายเพื่อโชกุน
ถ้าถูกโชกุนบอกว่าไม่อร่อย อย่างนี้ครับ

ก็คือความรับผิดชอบอย่างสูงเลย (บรรยาย) นี่คือภารกิจ
ของตระกูลจริง ๆ เลยนะคะ ดีที่ว่าในยุคปัจจุบัน คนญี่ปุ่นไม่ได้เข้มกับเรื่องการลงโทษตัวเอง
กันขนาดนี้แล้วนะคะ (ภาษาญี่ปุ่น) (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ภาพที่เราอยู่ตรงนี้เลย คือภาพ 150 ปีก่อน และเห็นตราประทับของร้านนี้ครับ
เป็นลูกกลม ๆ สามลูก หมายถึงอะไร หมายถึงว่า เป็นพาวเวอร์สปอต เป็นที่รวมสามชิ้นอยู่ข้างใน เป็นพาวเวอร์สปอต ก็คือตรงไหน ตำแหน่งไหนที่มีการรวมตัวคน ก็จะมีสามอันนี้
ถูกใช้แพร่หลายกันไป เป็นอย่างนี้ครับ
เริ่มจากที่นี่ครับ
(บรรยาย) คุยเรื่องใบชาคุณภาพดีกันมามากแล้ว จะไม่ไปดูไร่ชา ก็คงไม่ครบถ้วนกระบวนความนะคะ
ดังนั้น ท่านจึงอาสาพาเราไปค่ะ
(ฟูจิ) ท่านนะครับ
ทำสัญญากับเกษตรกร ที่ทำเกี่ยวเรื่องชาอยู่ประมาณ 10 ที่ (บรรยาย) ท่านอธิบายเรื่องการปลูกชา
ให้เรารู้เยอะแยะเลยนะคะ อย่างเช่น ไร่ชาสวย ๆ
สุดสายตาที่เราเห็น ๆ กัน อันนั้นเรียกว่า เซนฉะ ไม่ใช่มัทฉะ แบบชาของท่านค่ะ
เพราะ
ถ้าเป็นมัทฉะแล้ว จะต้องปลูกด้วยการคลุมผ้าสีดำไว้ เพื่อให้เจริญเติบโตช้าลงหน่อย จะได้รสชาติที่ดีกว่าค่ะ
ตลอดทางเราก็เห็นอยู่เหมือนกันค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่ครับ
เป็นพันธุ์ชาที่ชื่อว่าซะมิโดริ เป็นพันธุ์ที่ดูแลยากหน่อยครับ
และบอกว่าต้นนี้เป็นต้น
ที่อายุ 4 ปีครับ
เด็ดตรงไหน มาดูกันครับ
ดูยอดตรงที่มันอ่อน สีอ่อนๆ เห็นไหม คือส่วนที่เกินออกมา เกินมานิดเดียว
ก็ใช้มือเด็ดออกมาเลย (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) เกินมาหน่อยครับ
เด็ดอย่างนี้เลย (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) วิธีการเด็ด คือใช้นิ้วสองอันนะครับ
แล้วก็เด็ด (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ยิ่งเป็นยอดอ่อนอย่างนี้ ที่บอกว่า ชิมเมโจได ชิมเมโจได ชิมเม

[หัวเราะ]

คนญี่ปุ่นไม่รู้จัก หัวเราะใหญ่เลย

[หัวเราะ]

(บรรยาย) สนุกสนานกันใหญ่ค่ะ

แต่ว่ารู้ตัวไหมคะว่า ที่เด็ดไปเมื่อสักครู่นั้น ทำผิดค่ะ
[เสียงร้อง] (ฟูจิ) เมื่อสักครู่นี้เวลาเด็ด เขาบอกว่าห้ามใช้เล็บ ใช้นิ้วอย่างเดียว เพราะว่า
ถ้าเป็นรอยพับนิดเดียวมันจะมีรอยช้ำ จะทำให้รสชาติเปลี่ยนเลย เพราะว่ามีกฎ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ต้องมีเทคนิคในการ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) อ๋อ ให้ดึงเข้าหาตัวนะ ปึก ๆ อ๋อ ดึงเข้าหาตัว

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) หลังจากที่เด็ดชิมเมะเรียบร้อยแล้ว เสร็จแล้วท่านจะใช้เครื่องตัดตรงนี้เลย แล้วก็ค่อย ๆ ปล่อยให้มันเจริญ ใช้เวลาหนึ่งปี มันจะงอกขึ้นมาประมาณเท่านี้ ไม่ใช้แสงที่โดนอย่างจัง ๆ เพราะอะไร เพราะ
ถ้าใช้แสงโดนอย่างจัง ๆ จะทำให้เติบโตเร็ว
จะทำให้เป็นชาที่ไม่อร่อย

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) และทำไมนะครับ
ถึงต้องมีผ้าสีดำ ท่านบอกว่า การที่โดนแดดจัง ๆ จะมีสารที่ชื่อว่า แทนนิน แทนนิน ทำให้ฝาด ทำให้ขม

แต่…

ถ้ามีตัวนี้ สีดำอยู่แล้ว จะเปลี่ยนสารจาก แทนนินเป็นธีอะนีน ซึ่งธีอะนีนจะมีความหวานมาก

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ตัวนี้ครับ
จะมีสองชั้น ชั้นที่หนึ่ง กันแดด ชั้นที่สอง กันไม่ให้หมอกลง
ถ้าหมอกลงเมื่อไร จะทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีแดง และจะใช้ไม่ได้เลย

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ท่านเจ้าของไร่ชาบอกว่า ปกติแล้วต้นชาจะมีอายุเพียง 30 ปี ก็จะให้ผลผลิตที่ไม่ดีแล้วค่ะ

แต่เพราะดินที่ดีของเมืองอูจิ ทำให้ต้นชาที่เรากำลังคุยกันอยู่นี้ มีอายุ 50 ปีแล้ว ก็ยังให้ผลผลิตที่ดีอยู่เลยค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) ต้นนี้ มันรู้สึกแก่ตัวแล้ว มันจะออกลูก ออกดอก ลองสังเกตดูว่าต้นแถวนี้จะไม่มีดอก เพราะอะไรรู้ไหมครับ
เพราะว่าเวลาต้นมันจะอ่อนแอแล้ว มันจะออกดอก ออกผล เพื่อที่จะเหลือลูก เหลือผลให้สืบพันธุ์ต่อ
ดังนั้น
ถ้าไม่ออกดอก ออกผล แสดงว่าต้นยังแข็งแรงอยู่ เมื่อแข็งแรงก็จะอยู่ได้นาน
เพราะฉะนั้นพยายามไม่ให้ออกดอก ออกผล โดยใช้วิธีไหนรู้ไหม เด็ดออกมาแล้วปัก ปักใหม่แล้วจะมีรากขึ้นมา (บรรยาย) เกษตรกร
แต่ละคน
ก็จะมีวิถีของตัวเอง ที่จะเรียนรู้ต้นไม้ที่ปลูกเอง ฟูมฟักมากับมือเองนะคะ สำหรับใบชาที่เด็ดได้เหล่านี้ มีน้ำหนักสามกิโลกรัม
แต่เมื่อเอาไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้ว น้ำหนักที่เหลือจำหน่ายได้ จะเหลือแค่ 500 กรัมเท่านั้นเองค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ต่อไปเราจะตามไปดู
ที่โรงงานผลิตใบชากันค่ะ
ซึ่งก็มีทั้งโรงงานที่เป็นแบบเก่า
แต่ที่ท่านจะพาเรามาชมนี้ เป็นโรงงานแบบใหม่แล้วค่ะ
(ฟูจิ) และนี่ก็คือชานะครับ
ที่มาจากไหนรู้ไหม

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) อาโอยาม่า และ
แต่ละสวนจะไม่ผสมกัน เพราะว่ารสชาติจะต่างกัน อย่างนั้นเลย ใส่ใจถึงขนาดนี้ครับ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) ใช้ไอน้ำเสร็จ
ก็ปล่อยให้มันไหลตรงนี้ และก็เข้าไปข้างในจะมีทำแห้ง โดยให้มันปลิวไป นี่คือขั้นตอนการทำให้แห้งครับ
สังเกตเลยครับ
ว่าเหมือนอะไรครับ
เหมือนผีเสื้อกำลังบินอยู่

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) นี่แหละค่ะ
หน้าตาใบชา ที่ผ่านกระบวนการเสร็จออกมาใหม่ ๆ ชิมดูหน่อยสิคะ (ฟูจิ) เสร็จใหม่ ๆ
หอมเลย กินได้เลยครับ
อือ อร่อย โอ้โฮ อร่อยอย่างเลยหรือ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) กล่องนี้
ถ้าเต็มกล่องแล้วราคาเท่าไร สามหมื่น
หนึ่งแสนเยน อยู่ในราคาหนึ่งล้านสองแสนเยน อยู่ในราคาสี่แสนบาท 10 กิโลกรัม (บรรยาย) กว่าจะได้มัทฉะคุณภาพดี ไม่ใช่ง่าย ๆ นะคะ
ดังนั้น จึงมีราคาแพงค่ะ
เกษตรกรบอกกับเราว่า การได้ใบชาไป
ก็เหมือนซื้อต้นชาทั้งต้นค่ะ
เพราะเด็ดยอดแล้ว ก็ต้องตัดก้านทิ้งให้งอกออกมาใหม่ เพื่อจะเก็บ
แต่ยอดของมันอีกครั้ง และคนขายใบชาอย่างท่านเจ้าของร้าน ก็จะต้องไปคัดคุณภาพอีกครั้ง เช่น เลือกเอาก้านออกให้หมด งานคุณภาพทั้งกระบวนการนี้ จะต้องมีผู้สืบทอดเป็นรุ่นที่ 17 และรุ่นต่อ ๆ ไปให้ได้ค่ะ
และชายหนุ่มร่างใหญ่คนนี้แหละค่ะ
ที่จะมาสืบทอดเป็นรุ่นที่ 17 ต่อไปค่ะ
(ฟูจิ) คือท่านบอกว่า พร้อมไหมที่จะเป็นคนดูแลร้านนี้
และเป็นรุ่นที่ 17 ท่านบอกว่า ยังครับ

ต้องฝึกอีกเยอะเลยครับ
และท่านบอก
ไม่ได้บอกให้กับลูกชายเท่าไร
แต่ว่าให้ลูกชายดูว่าพ่อทำอะไร โตขึ้นก็จะเห็นวิธีการทำมือ ความคิด การลงมือต่าง ๆ จิตใจต่าง ๆ จะเห็นคุณพ่อและก็สืบทอดกันไปครับ
ก็ขอให้ท่านทำเต็มที่ ลูกชายก็จะได้เห็นเองครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ใช่แล้วค่ะ
ทุกอย่างต้องทำด้วยใจ เพราะนี่ไม่ใช่งานโรงงานแบบที่ปั๊ม ๆ
ออกมาเหมือน ๆ กันได้
แต่ต้องใช้ความละเอียดในการคัดสรร และการทำงานทุกกระบวนการ ไปพร้อม ๆ กับการถ่ายทอด
ให้กับคนทั้งในตระกูลและคนญี่ปุ่น รวมทั้งคนทั่วโลกได้เห็นค่ะ
เราขอเป็นกำลังใจ
ในการสืบทอด ภูมิปัญญาเหล่านี้ คงอยู่ไปอีก 500 ปี อย่างที่ท่านหวังนะคะ พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ
(ฟูจิ) มันจะอร่อยจริงทุกอย่างหรือ ผมไม่เชื่อหรอก นี่คือ ปลาไทผสมข้าว (ภาษาญี่ปุ่น) คนสมัยก่อน
จะคิดว่าอะไรที่มันอยู่ในกระป๋อง รสชาติจะตก
รสชาติจะไม่อร่อย ผมบอกเลยว่า
ยุคใหม่ คนใหม่ วิทยาศาสตร์ล้ำหน้าไปเยอะ ยิ่งอยู่ในกระป๋องยิ่งอร่อย

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *