พิสูจน์ชานมไข่มุกร้านต้นตำรับที่ไต้หวัน

948 0

[เสียงดนตรี]

(บรรยายหญิง) ใคร ๆ ไปไต้หวัน
ก็ต้องชิมชานมไข่มุก แล้วรู้หรือไม่ว่าไข่มุกคืออะไร (ฟูจิ) ไข่มุกราคาแพงนะ ขาว ๆ ที่อยู่ในทะเล
(อลิซาเบธ) ไม่ใช่ค่ะ
(บรรยาย) แล้วไข่มุก
ลงไปอยู่ในชานมครั้งแรกเมื่อไหร่

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ที่ไหน
ฟูจิเซนเซจะพาไปหาคำตอบถึงไต้หวันกันค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาจีน)

[เสียงดนตรี]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ไปไต้หวันกัน

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ใช่แล้วค่ะ
วันนี้ฟูจิเซนเซ จะพาคุณผู้ชมเปลี่ยนบรรยากาศ ไปหาเรื่องน่าดูที่ไต้หวันกันค่ะ
คราวนี้ไม่ได้ไปคนเดียว นอกจากมีทีมงานแล้ว ยังมีน้องล่ามผู้น่ารัก คุณอลิซาเบธ ร่วมเดินทางไปกับเราด้วย เริ่มจากเดินเล่นตลาดกลางคืนกันก่อนเลย ดูซิว่าคนไต้หวันเขากินขนมอะไรกัน และมันจะเกี่ยวข้องกับ
ชานมไข่มุกอันลือลั่นอย่างไรค่ะ
(ฟูจิ) …คุณอลิซาเบธ
มาไต้หวันต้องมากินอะไรกันบ้างครับ
(อลิซาเบธ) ต้องมากินไข่มุกค่ะ
– ไข่มุก
– กินไข่มุก ไข่มุกราคาแพงนะ ขาว ๆ อยู่ในทะเลนี่ ไม่ใช่ ๆ หมายถึงชานมไข่มุก
ที่เขากินกันน่ะค่ะ
คุณฟูจิ – ได้เลยครับ
ไปกินอย่างไรครับ

– ร้านนี้เลยค่ะ
ร้านนี้หรือครับ
ไป (ภาษาญี่ปุ่น) ลืมไปว่าพูดญี่ปุ่นไม่ได้ อะไรเหยิน ๆ ใช่ไหม – เฝิ่นหยวนปิงค่ะ

– เฝิ่นหยวนปิง (อลิซาเบธ) คุณฟูจิแยกไม่ออกระหว่าง
เฝิ่นหยวนกับไข่มุก (ฟูจิ) แล้วที่เหยิน ๆ เหยินอย่างไร
(อลิซาเบธ) คุณฟูจิ… – รู้แล้ว คล้าย ๆ อันนั้นหรือเปล่า
– อะไรคะ คล้าย ๆ กับอะไรนะ เฉาก๊วยไหม ไม่ใช่ เฉาก๊วยจะอยู่ทางด้านนี้ค่ะ
– มันดำ ๆ นี่รากต้นไม้
– ใช่ – แล้วนี่มันโมจิหรือเปล่า เหนียว ๆ
– มีความเหนียว ๆ – จากมันสำปะหลังหรือเปล่า
– ไม่แน่ใจเลยค่ะ
[เสียงไสน้ำแข็ง] (บรรยาย)
ถ้าไปเดินตลาดที่ไต้หวัน จะได้เห็นร้านน้ำแข็งไสแบบนี้โดยทั่วไปค่ะ
ร้านนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น สามารถเลือกใส่ท็อปปิงได้หลายอย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือไข่มุก
หรือเฝิ่นหยวนค่ะ
ซึ่งทำมาจากมันสำปะหลัง เป็นขนมดั้งเดิมของไต้หวัน ก่อนที่จะถูกดัดแปลง
ไปใส่ในชานมจนโด่งดังไปทั่ว และเป็นที่นิยมมาถึงเมืองไทยเราค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ได้ชิมเฝิ่นหยวน
ในแบบของหวานแล้ว เราก็อยากจะรู้แล้วค่ะ
ว่า ต้นตำหรับชานมไข่มุกเกิดขึ้นได้อย่างไร อยากรู้ก็ต้องไปดูค่ะ
ก็ต้องเดินทางออกจากไทเป
ต่อไปยังเมืองไถจง ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านชานมต้นตำรับ ผู้คิดค้นการนำขนมเฝิ่นหยวน
ใส่ลงไปในชานม จนกลายเป็นเมนูยอดฮิต ชานมไข่มุก ที่คนไทยคุ้นเคยกันค่ะ
ตอนนี้ครับ
เราขึ้นชินคันเซนมานะครับ
มาที่เมืองไถจงนะครับ
จากไทเปก็คือเมืองหลวงมาตรงกลาง ก็คือเรียกว่า ไถจง ใช้เวลาประมาณ 50 นาที มาดูอะไรครับ
มาดูไข่มุก ซึ่งเป็นต้น
ตำรับของชาไข่มุก ต้นตำรับของชาไข่มุก มันคือ ไข่มุก แล้วเขากินกันอย่างไร เรื่องราวน่าสนใจ มาถึงไถจง ไปดูกันครับ

[เสียงดนตรี]

[เสียงดนตรี]

โอ้โฮ บรรยากาศน่าสนใจมากเลย วันนี้ผมนัดกับคุณแทมมี่ เพราะเธอเป็นคนที่คิดค้นเรื่องไข่มุก เอามาใส่ในชาไข่มุก เป็นแห่งแรกของโลกเลยนะ ท่านชื่ออะไร ต้องพูดเป็นภาษาจีน
ฝึกไว้แล้วนะครับ
(ภาษาจีน) (บรรยาย) ร้านชานมแห่งนี้ ขายชานมเย็นมาตั้งแต่ปี 1980 คือเมื่อประมาณเกือบ 40 ปีที่แล้ว โดยนำชาแดงมาทำชานมค่ะ

แต่ที่ร้านก็มีชาหลายแบบมาก เช่น ชาดอกไม้ คุยกันมาถึงตรงนี้ เราอยากเห็นใบชาหอม ๆ แล้วละค่ะ

[เสียงดนตรี]

อันนี้คือชาที่พิเศษมาก ๆ เลยนะ ต้องถามเป็นภาษาจีนหน่อยครับ
(ภาษาจีน) (ภาษาจีน) (บรรยาย) ชาสองชนิดนี้
เป็นชาดีของที่ร้าน ซึ่งคัดสรรมาจากแหล่งปลูกในไทเป
และบนยอดเขาสูงค่ะ
ซึ่งรูปแบบของชา
ที่เห็นว่ามีลักษณะใบชาต่างกัน ก็มาจากวิธีการเก็บใบชาค่ะ
และตอนชงก็จะต้องสังเกตดู
ลักษณะภายนอกแบบนี้ด้วยนะคะ ซึ่งจะทำให้พิจารณาได้ว่า
จะต้องใช้ใบชามากแค่ไหน ในการชงให้ได้รสชาติดี
นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องของอุณหภูมิของน้ำ ที่ต้องได้ถึง 90 องศาเซลเซียส

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ต่อไปเราจะได้เห็นการชงชา ในแบบของไต้หวันแท้ ๆ
ที่ไม่เหมือนที่อื่น คือเขาจะชงชาและเทลงในแก้ว 2 ใบ ซึ่งแก้วทรงสูง จะเอาไว้ดมกลิ่นอันหอมละมุน หลังจากนั้นก็จะเทลงแก้วทรงเตี้ย เพื่อจะลิ้มชิมรสชาในลำดับต่อไปค่ะ

[เสียงดนตรี]

กลิ่นหอมมากเลย (ภาษาจีน) ต้องดมก่อน แล้วก็เท แล้วค่อยดื่ม นี่ดม (ภาษาจีน) โอ้โฮ ดื่มแล้วนะ โอ้โฮ อุไมเลยล่ะ (บรรยาย) สำหรับคนไต้หวันแล้ว จะไม่ดื่มชาเสียงดังค่ะ

แต่เน้นว่าเมื่อชาสัมผัสกับลิ้น
ก็จะได้กลิ่นหอม รสชาติละมุนกลมกล่อมที่ตรงนั้นค่ะ
ฟูจิเซนเซจะละเมียดอยู่คนเดียวได้อย่างไร ทีมงานก็ต้องลองด้วยสิคะ (ภาษาจีน) (บรรยาย) ฟินไปตาม ๆ กันเลยนะคะ ต่อไปจะเป็นชาอีกชนิด ลองสังเกตดูนะคะว่า โต๊ะที่ใช้ชงชาอยู่ตอนนี้ก็ไม่ธรรมดา เพราะมีช่องตรงกลาง
ให้เทน้ำที่ไม่ใช้แล้วลงไปได้ด้วย เป็นโต๊ะพิเศษสำหรับการชงชาเลยค่ะ
เห็นการชงชาแบบญี่ปุ่นกันมาหลายครั้ง วันนี้มาดูการชงชาแบบไต้หวันแล้ว ก็ละเอียดพิถีพิถันไม่แพ้กันเลยนะคะ (ฟูจิ) ขออนุญาตนะครับ

นี่เป็นชาอีกอันหนึ่ง จากภูเขาอีกต้นหนึ่ง ภูเขาอีกที่หนึ่ง อยู่ทางด้านไทเป อันนี้ชาอีกที่หนึ่งจะเป็นอย่างไรครับ

[เสียงดนตรี]

โอ้ ไม่อยากดื่มเลย
ถ้าดื่มแล้วต้องติดแน่เลย (ภาษาจีน) (บรรยาย) แล้วดูสิคะ พอชงชาเสร็จ เราจะเห็นว่าใบชาที่ใส่ลงไป 1 ใน 4 ของกานั้น ตอนนี้ได้พองขึ้นมาจนเต็มกาเลยค่ะ
นั่นคือความชำนาญของคนชงชาค่ะ
ที่จะต้องรู้ว่า ใส่ใบชาได้แค่ไหน และชงนานขนาดไหน
ถึงจะได้ชารสชาติดี และแน่นอนว่าท่านจะต้องทำได้ดี เพราะคุณพ่อของท่าน เป็นนักชงชามือหนึ่งของไต้หวันเลยค่ะ
ซึ่งวัฒนธรรมการดื่มชาอันละเมียดละไมนี้ ก็เป็นที่นิยมในหมู่คนชั้นกลาง หรือคนวัยกลางคน
ที่มีฐานะประมาณหนึ่ง มีเวลาที่จะมานั่งดื่มชาแบบนี้ได้ ในขณะที่วัยรุ่นไม่นิยมเลย
ดังนั้นท่านเจ้าของร้านที่เป็นคนรุ่นพ่อ จึงได้คิดที่จะทำเป็นชาเย็นออกจำหน่ายบ้าง เพื่อให้เข้าถึงคนกลุ่มอื่น คือต้องมีรสชาติทั้งหวาน เย็น และหอมค่ะ

และแล้วก็ได้เห็นชาแดง
ที่เป็นชานมต้นตำรับของร้านนี้ค่ะ
(ฟูจิ) นี่คือชาตัวแรก
ในการเอามาใส่ไข่มุก เป็นชาหงฉา เป็นชาสีแดง แล้วก็ตีฟองพิเศษก่อนที่จะมาใส่ไข่มุก เป็นอย่างนี้เลยใช่ไหม (บรรยาย) ฟูจิเซนเซสงสัยว่า เพราะอะไรจึงชงชาเป็นฟองได้ คำตอบไม่น่าเชื่อเลยค่ะ
ท่านบอกว่าในใบชามีสารตัวหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติให้ฟองได้ด้วย พอเชก ๆ เขย่า ๆ ก็จะเป็นฟองสวยงาม
น่าดื่มขึ้นมาได้ทันทีค่ะ
(ฟูจิ) ลองดื่มนะครับ
หอมมาก คล้าย ๆ กับชาบ้านเรา ชาไทย (บรรยาย) แล้วร้านนี้โด่งดังได้เพราะอะไร ท่านบอกว่าไม่เคยทำการตลาดเลยค่ะ

แต่ใช้วิธีปากต่อปากของลูกค้าเอง (ฟูจิ) การที่ชงชาแบบนี้นะครับ

มีวิธีการหลายอย่างมากมาย ซึ่งในสมัยนี้เป็นการตอบโจทย์ก็คือ ทำชาได้ทันทีเลย เร็วเลย แล้วกินได้เลย กินได้เยอะด้วย
ก็เป็นการตลาดที่ดี และสร้างโลกของชาใหม่
ให้คนได้กินและอร่อยด้วย วัยรุ่นก็กินได้ด้วย ทำให้ชามียอดขายไม่ตก
มี
แต่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ภาษาจีน) (บรรยาย)
แต่การไม่ทำการตลาดเลย
ในยุคโซเชียลมีเดียแบบนี้ก็ไม่ได้ ท่านจึงเริ่มทำการตลาด
ด้วยการสร้างการจดจำ เช่น การเผยแพร่เรื่องราว ที่มาของชานมไข่มุกที่ร้านสาขาแรก ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิก
ชานมไข่มุกในไต้หวันเลยค่ะ

ดังนั้นที่เป็นสาขาแรกนั้น
จึงมีลูกค้าต่างชาติ 60-70% เลยค่ะ

[เสียงดนตรี]

เราสัมภาษณ์มา เพิ่งทราบว่า
เธอเป็นคนออกแบบชาไข่มุก ซึ่งเอาไข่มุกเข้ามาในนี้ เรื่องราวเริ่มต้นกำเนิด
จากเธอคนนี้นะเพิ่งรู้ แล้วมันเป็นมาอย่างไร
ถึงมาเป็นการเอาไข่มุกมาผสมในชาได้ ต้องสัมภาษณ์เธอนะครับ
นี่คือไข่มุก ก็คือ ทะปิโอกะ อยากรู้จังเลยว่าไปมาอย่างไร
ถึงมาเป็นชาไข่มุกแบบนี้ (บรรยาย) จากจุดเริ่มต้นของการนำ
ขนมพื้นเมืองเฝิ่นหยวนของไต้หวัน ใส่ลงไปในชา เริ่มต้นจากท่านเอง ที่ลองดูเล่น ๆ
ในโต๊ะประชุมภายในบริษัท อยู่ ๆ ก็นำขนมใส่ลงในชานม พอชิมแล้วพบว่า เอ๊ะ ก็อร่อยดีนะ ก็เลยทำกินกันเป็นประจำ รวมทั้งทำให้เพื่อน ๆ ชิม แล้วได้รับการตอบรับที่ดี จึงเริ่มทำขายที่ร้านในปี 1987 ค่ะ
แล้วมันเป็นกลม ๆ แบบนี้หรือ
ตอนแรก ๆ นี่ เป็นกลม ๆ แบบนี้
แล้วมาผสมในนี้หรือครับ
(ภาษาจีน) (บรรยาย) คำตอบที่ได้คือ เฝิ่นหยวน หรือไข่มุก
ที่ใส่ในชานมที่เรารู้จักกันนั้น มีขนาดเท่านี้เป็นขนาดปกติค่ะ
ซึ่งท่านเองเป็นเด็กที่โตในตลาด กินขนมชนิดนี้เป็นประจำ เป็นความทรงจำที่ดีในวัยเด็ก ก็เลยนึกอยากจะเอาของชอบทั้งสองอย่าง คือชานมและเฝิ่นหยวน มาผสมผสานกันให้ลงตัวที่สุดค่ะ
สำหรับวิธีกินเฝิ่นหยวน
ตามปกติก็ง่าย ๆ ค่ะ
ต้มให้สุก ใส่น้ำตาล
แล้วก็พร้อมอร่อยเลยค่ะ
และ
ถ้าอยากกินแบบเย็น ก็ใส่น้ำแข็งแบบที่ฟูจิเซนเซ
กินไปตอนต้นของรายการค่ะ
(คุณฟูจิ) เราบอกว่าอันนี้ต้องกินกับอันนี้ อันนี้ต้องกินกับอันนั้น ที่ไหนได้มาจากคนเริ่มต้น วัฒนธรรมมาจากคนที่เริ่มต้นคนแรก คุณลองคิดดูครับ
ว่าเอาอันนี้นะครับ
ไข่มุกมาผสมกับนม คนแรกที่ใส่ไป อาจจะดูเชย แปลก

แต่เป็นอย่างไรครับ
มันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัฒนธรรม สร้างขึ้นมา ตอนนี้คนทั่วโลกกินแบบนี้แล้ว
ดังนั้นสิ่งที่เราเริ่มต้นใหม่
แรก ๆ อาจจะดูแปลก
แต่ว่าพอเราเอามาเริ่มต้นใส่กับตรงนี้ กลายเป็นของใหม่
และกลายเป็นของที่ฮิตขึ้นมา นั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียเลย (บรรยาย)
แต่แหม จะนำเฝิ่นหยวน
มาขึ้นร้านชาต้นตำรับอันโด่งดัง ก็ต้องมีจุดที่พิเศษกว่าสิคะ สิ่งพิเศษที่ว่ามี 4 อย่าง คือ ขนาด การไม่ใส่สารกันบูด ไม่ใส่สีผสมอาหาร
และก็ไม่
แต่งกลิ่นค่ะ
ทำให้กระบวนการผลิตเฝิ่นหยวนที่นี่ ต้องทำในห้องแอร์ ที่ควบคุมอุณหภูมิ
ประมาณ 20 องศาเซลเซียส รวมทั้งการขนส่ง ก็ต้องส่งแบบแช่แข็ง เพื่อรักษาคุณภาพด้วย
ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นค่ะ
ผมดื่มมาสักครู่นะครับ
เวลาเคี้ยวมีความหนืด
และก็กินแล้วอร่อยมากเลย คือ ต่างจากบางที่ที่กินแล้วเหลว

แต่อันนี้กินแล้วเด้งดึ๋งแล้วมันนุ่ม กินแล้วเหมือนกับว่า อยากกินอีกครับ
ผมรู้สึกเลยว่ากินแล้วอยากเติมไข่มุกเยอะ ๆ เป็นคนกำเนิดชานมไข่มุก คนนี้นี่นะ โอ้โฮ สุดยอดต้องขอจับมือหน่อย (ภาษาจีน)

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ท่านบอกว่า การที่ท่านเป็นคนคิดค้นใส่ขนมเฝิ่นหยวน
ลงในชานมเป็นคนแรก ก็เหมือนเป็นการทะลายกำแพง
การดื่มชานมเลยค่ะ
เพราะหลังจากนั้น
ก็มีคนนำขนมเฝิ่นหยวน ใส่ลงไปในของหวาน
อีกหลายอย่างตามมาเลยค่ะ
เรียกได้ว่าการทำสิ่งใหม่ ทำให้เปลี่ยนโลกไปเลยก็ว่าได้ค่ะ
อร่อยมาก ๆ ว้าว อร่อยขนาดนี้ ทำไมมันเข้ากับนมได้ดีขนาดนี้ครับ
(ภาษาจีน) (บรรยาย) ท่านบอกว่า
ชาแดงกับขนมเฝิ่นหยวน เหมือนเป็นการจับคู่
แบบบุพเพสันนิวาสได้เลยทีเดียวค่ะ
ฟังดูน่ารักนะคะ เพราะเป็นสิ่งที่คนไต้หวันนิยมทั้งสองอย่าง พอเอามารวมกัน กลายเป็นของที่อร่อยขึ้นอีกหลายเท่า คิดดูสิคะ ดื่มชา
แต่สามารถเคี้ยวขนมหนุบหนับไปด้วยได้ อร่อยทั้งคู่อีกต่างหาก
ฟินไปอีกหลายเท่าเลยค่ะ
มันโด่งดังขนาดนี้
คุณไม่ได้จดลิขสิทธิ์หรือ ตอนนี้คนที่โน่นที่นี่ที่นั่น ทำกันเองเลย ทำไมไม่รีบจดลิขสิทธิ์ไว้ (ภาษาจีน) (บรรยาย) ท่านบอกว่า
ที่ไม่จดลิขสิทธิ์ก็เพราะว่า อยากเผยแพร่วัฒนธรรม
การกินแบบนี้ให้กว้างขวางค่ะ
และตอนนี้ก็กลายเป็น
เครื่องดื่มยอดนิยมในไต้หวัน และหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก น่าภูมิใจมากเลยนะคะ และเพราะการอยากเผยแพร่
เครื่องดื่มชานมที่หลากหลาย ท่านจึงเปิดโอกาสให้พนักงานในร้าน ช่วยกันคิดเอาสิ่งของ
ที่กินกันอยู่ในชีวิตประจำวัน มาดัดแปลงใส่ลงในชานม เพื่อให้เกิดเมนูใหม่ ๆ ขึ้นอีกด้วยค่ะ
โดยจะจัดแข่งขันเครื่องดื่มชนิดใหม่ ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมค่ะ
โดยเครื่องดื่มที่ชนะ ก็จะได้ทำออกจำหน่ายที่ร้านเป็นฤดูกาลค่ะ
ตอนนี้เราตามไปดูร้านสาขาแรก ที่เริ่มจำหน่ายชานมเย็น แบบที่ใส่ไข่มุกหรือขนมเฝิ่นหยวนกันค่ะ
เดินทางมาจากร้านเมื่อสักครู่นี้ มาที่ร้าน ที่เป็นแหล่งกำเนิด
ของชาไข่มุกเลย ปี 1983 ซึ่งเธอเป็นคนคิดค้นจากร้านนี้ แล้วเป็นอย่างไรต้องถามเธอ (ภาษาอังกฤษ) น่าสนใจมาก ๆ เลย
ข้างในเป็นอย่างไร (บรรยาย) การตก
แต่งร้าน
ก็พยายามจะสื่อสารกับลูกค้า ในเรื่องของการชงชา
และการทำไข่มุกค่ะ
เห็นภาพปุ๊บรู้สึกปั๊บว่า ทางร้านพิถีพิถันทุกกระบวนการเลยนะคะ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ตั้งใจ
ตั้งแต่การเลือกทำเลของร้าน ให้ใกล้กับร้านเดิมที่เปิดมาก่อน
ที่จะขายเป็นชานมไข่มุกค่ะ
เพื่อให้ลูกค้าหาได้ง่าย จนตอนนี้มีลูกค้าประจำที่เหนียวแน่น
กันมาตลอด 30 กว่าปีก็มีค่ะ
และนี่ก็เป็นโต๊ะ ที่มีอายุ 34 ปีครับ
ตั้งแต่ตอนที่ท่านเจ้าของมาก่อตั้ง และในช่วงนั้น ท่านเจ้าของจะนั่งตรงนี้ และก็จะมีลูกค้ามานั่งที่นี่
แล้วก็มาขอถามท่านว่า ช่วงนี้ในฤดูกาลนี้ มีชาแบบนี้ จะกินชาแบบไหน
ต้องการรสชาติแบบไหน ช่วงนี้อยากจะกินแบบ
รสชาติขม ๆ หน่อย อยากกินรสชาติที่สดชื่นหน่อย
ก็จะออร์เดอร์ท่าน แล้วท่านก็จะชงชาพิเศษเป็นชาส่วนตัว เป็นชาที่มีรสชาติแตกต่าง ระหว่างลูกค้า
แต่ละคน
จะต่างกันหมดเลยครับ
(บรรยาย) รอฟังและก็รอชิมเลยค่ะ
ท่านบอกว่า ตอนนี้มีเมนูใหม่ 5 อย่าง เช่น ชาเขียว ช็อกโกแลต รสผลไม้เปรี้ยว
มะม่วง น่าลองทุกอย่างเลยนะคะ เมนูใหม่เหล่านี้
เกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น มีความเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะสนใจ สามารถทำขายได้จริง ยังไม่เคยมีคนทำมาก่อนค่ะ
เคล็ดลับของการขายชาที่ดี และสามารถผลิตออกมาแล้วขายได้เรื่อย ๆ ขายได้ดีตลอด มันมีอยู่ 5 ข้อครับ
ข้อที่ 1 คือ รสชาตินะครับ
รสชาติจะต้องอร่อย ข้อที่ 2 นะครับ
คือความเป็นไปได้ ว่าคนจะยอมรับขนาดไหน
ถ้าคนไม่ยอมรับ
ความเป็นไปได้ก็อาจจะขายไม่ได้ ข้อที่ 3 ครับ
คือปริมาณ
ถ้าอร่อยแล้ว
ทำได้แล้ว ปริมาณเราผลิตได้ไม่เยอะ ผลิตไม่ทัน มันก็เป็นไปไม่ได้ ข้อที่ 4 คือ ทุน ทุนในการผลิต
ถ้าทุนแพงเกินไป ผลิตก็อาจขายไม่ได้ นี่ข้อที่ 4 ครับ
และข้อที่ 5 คือ เคยมีมาก่อนในโลกนี้หรือเปล่า
ถ้าผลิตในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน จะเป็นอย่างไรครับ
แปลกตาแปลกใจ ทำให้ผู้คนอยากกินอยากดื่ม และก็มาเรื่อย ๆ นี่คือเคล็ดลับ 5 ข้อครับ
(บรรยาย) ตอนนี้ก็ได้เวลาชิมของดี ตามคุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ชา 5 สี ที่เราเห็นอยู่ มีชาแดงของไต้หวันเป็นเครื่องดื่มตั้งต้น และผสมส่วนผสมอื่น ๆ
ลงไปที่คิดว่าเข้ากันได้ค่ะ
โดยต้องใช้ทีมวิเคราะห์วิจัยถึง 30 คน กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

แต่ละอย่างออกมาค่ะ
ซึ่งแม้จะขายแค่เป็นช่วง ๆ
ไม่ได้ขายตลอด
แต่ไม่น่าเชื่อนะคะ
ว่าบางรสชาติ เช่น ชาช็อกโกแลต รสชาติดี จนมีลูกค้าเขียนจดหมาย
มาถึงท่านประธาน เพื่อขอให้ขายเมนูนี้อีกครั้งเลยค่ะ
นี่ก็คือแก้วมังกรนะครับ
แล้วแก้วมังกรมีการผสมชาข้างในด้วย หมายถึงอะไร มีสูตรพิเศษอย่างไร ก็คงต้องมี
การค้นคว้าวิจัยมีห้องแล็บวิจัยด้วย และนี่คือน้ำมะม่วง ก็คงไม่ใช่น้ำมะม่วงเฉย ๆ บอกว่ามีเนื้อมะม่วงผสมเป็นเชกออกมาด้วย และนี่ก็คือสีเขียว สีชาเขียว ชาเขียวญี่ปุ่น นี่ครับ
ช็อคโกแลต ก็คือไม่ใช่ช็อกโกแลตอย่างเดียว มีชาแดงผสมให้กลมกล่อมได้อีก ก็คงจะมีสูตรเคล็ดลับว่าส่วนชาแดงเท่าไร ช็อกโกแลตเท่าไร ให้เหมาะสมกัน คงจะต้องมีการลองผิดลองถูก
เยอะแยะมากมาย จนมาเป็นแบบนี้ และนี่ครับ
สีขาว คืออะไร ไม่ใช่ชา สำหรับคนที่กินชาไม่ได้ก็เป็นสีขาว คือ นมผสมน้ำผึ้ง ก็มีส่วนผสมของร้านใครร้านมัน คือมีส่วนผสมที่แตกต่าง ไม่ลองกินก็ไม่รู้ครับ

แต่ว่าคงจะเป็นสูตรพิเศษนั่นแหละ (บรรยาย) ท่านบอกว่า
ความหลากหลายเหล่านี้ ถือเป็นหน้าที่ของท่าน
ที่จะต้องทำให้ลูกค้าพอใจ และเห็นว่าทางร้าน
รักษาคุณภาพของชาอยู่เสมอค่ะ
และตอนนี้ฟูจิเซนเซต้องชิมแทนคุณผู้ชม เพื่อจะได้อธิบายถูกค่ะ

ว่ารสชาติเป็นอย่างไรกันแน่ อย่างที่หนึ่งครับ
แก้วมังกรบวกชา – (ภาษาจีน)
– กลมกล่อมมาก (ภาษาจีน) กลมกล่อมมากเลย มังโก มะม่วง

[เสียงดนตรี]

เลือกไม่ถูก คือว่ารักทุกคนอะไรประมาณนั้น หลายใจเลยผม จริง ๆ อยากรักเดียวใจเดียว
ตอนนี้เป็นคนหลายใจไปแล้ว กำลังเลือกแฟนอยู่ เอาอย่างนี้ จินตนาการว่าเป็นแฟนอยู่ แฟนทุกคนสวยหมดเลย แล้วมีนิสัยดีหมดทุกคน นิสัยดี จิตใจดี
แต่เก่งคนละอย่าง คนนี้… ไม่อยากพูด ให้จินตนาการว่าคนนี้เก่งแบบนี้ คนนี้ก็เก่งอีกอย่างหนึ่ง คนนี้ก็เก่งอีกอย่างหนึ่ง แล้วจะให้ผมเลือกอย่างไร

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ลำบากใจแทนฟูจิเซนเซเลยนะคะ เพราะว่าน่ากินทุกแก้ว
และอร่อยทุกอย่าง
แต่ว่าจะดื่มหมดทุกแก้วคงไม่ไหว ซึ่งท่านเจ้าของร้านบอกว่า
ชาทั้ง 5 แบบนี้ เหมือนเป็นเลือดเนื้อ หัวใจของท่านเลยค่ะ

ดังนั้นจะให้บอกว่า
ชอบแก้วไหนเป็นพิเศษคงไม่ได้ และรู้หรือไม่คะว่า วัฒนธรรมการดื่มชามีมา 5,000 ปีแล้ว โดยเริ่มดื่มกันในวังมาก่อน คนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ดื่ม
แต่ทุกวันนี้ก็กลายเป็นเครื่องดื่ม
ที่แพร่หลายขนาดนี้ และท่านคิดว่า ในอีก 5,000 ปีต่อไป ชาก็จะยังคงได้รับความนิยมอยู่ค่ะ
ซึ่งเราก็เห็นด้วยมาก ๆ เลยนะคะ ในโลกนี้ก็เลยทำให้ผมรู้สึกว่า มันยังมีอะไรที่จะต้องคิดค้นอีกเยอะเลย แล้วเราจะเจอมัน ยิ่งสัมผัส ยิ่งเจอ ยิ่งกิน ยิ่งเจอ ในสิ่งที่เราไม่เคยเจอ รู้สึกว่ามีความสุขมาก ๆ เลย ต้องขอบคุณท่านครับ
ที่สละเวลามา และอย่าลืมว่าท่านเป็นใคร ท่านเป็นคนคิดค้นการเอา
ไข่มุกใส่ในชาคนแรกในโลก ขอบคุณครับ
(ภาษาจีน) (บรรยาย) เราคงไม่ต้องสรุปอะไรแล้วนะคะ ฟูจิเซนเซพูดแทนใจเราหมดแล้ว และต้องขอบคุณท่านเจ้าของร้านจริง ๆ ที่อนุญาตให้เราถ่ายทำ เพราะปกติท่านจะไม่อนุญาตสื่อมากนัก
เนื่องจากไม่มีความจำเป็น
จะต้องประชาสัมพันธ์ร้านมากมายอะไร ดังเสียขนาดนี้แล้วค่ะ

แต่ก็ยินดีต้อนรับพวกเรามาก ๆ อย่างที่เห็นค่ะ
หลังถ่ายทำ
เลี้ยงอาหารทีมงานอย่างอลังการมาก ๆ คุณผู้ชมไม่ต้องกังวลนะคะ ทีมงานทุกคนอิ่มเผื่อแล้วล่ะค่ะ
พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณยังไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *