[เสียงดนตรี]
(บรรยายหญิง) โควิดมาเวลาเรียนหายไป ทั้งไทยและญี่ปุ่นเกิดปัญหาไม่ต่างกัน (พี่เซะ) สวัสดีครับ
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) โรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ต้องปรับตัว เพื่อให้เกิดวิถีใหม่อย่างไรกันบ้าง ที่จะทำให้การศึกษาของเด็ก ๆ ยังดำเนินไปได้อย่างเหมาะสมที่สุด (สริตา)
ถ้าในห้องเรียนจริง ๆ
ก็ได้ทำการทดลอง หรือว่าได้เจอเพื่อน ๆ เจออาจารย์จริง ๆ ค่ะ
(ณัฐชนน) ก็ต้องปรับตัวครับ
แต่ว่าก็อยากเจอเพื่อน ๆ อยู่ครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (สัญญา) วิถีใหม่เราก็ต้องเป็นผู้ริเริ่ม หรือผู้กล้าที่จะริเริ่มนวัตกรรมอะไรใหม่ ๆ (ดร.เสาวรัจ) แล้วนักเรียน
ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์อีกครึ่งหนึ่ง คุณครูจะสามารถ
ที่จะให้การเรียนรู้กับเขาได้อย่างไร โดยการที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (บรรยาย) ตามฟูจิเซ็นเซไปหาคำตอบ ทั้งในไทยและญี่ปุ่นกันค่ะ
(ฟูจิ) ที่บ้านจะต้องมีการวัดอุณหภูมิ แล้วเอาตัวอุณหภูมิโชว์ให้กับโรงเรียน (คุณอามาตา)
แต่ว่าเราเจอปิดเทอมไป
เดือนหนึ่งกับหนึ่งอาทิตย์ไปเลย
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย)
ถ้าถามว่าเรื่องใดที่เป็นหนึ่งในเรื่องใหญ่ ที่สังคมกำลังพยายามคิดหาหนทาง และก็วิธีการบริหารจัดการ เพื่อให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด การศึกษาคงเป็นหนึ่งในคำตอบนั้นนะคะ วันนี้ดูให้รู้อยากจะนำเสนอเรื่องการศึกษา
ในช่วงโควิด-19 ที่บ้านเราและที่ญี่ปุ่นค่ะ
ซึ่งทั้งนักเรียน ครูอาจารย์ และผู้ปกครอง ล้วนต้องปรับตัวกันนะคะ เรามาเริ่มต้นกันที่โรงเรียน ซึ่งมีความพร้อมในระดับหนึ่ง
ในเมืองไทยกันก่อนนะคะ (ฟูจิ) ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ โรคระบาดโควิด-19 อาจจะลดลง
แต่เราห้ามประมาท การ์ดอย่าตก
ดังนั้นการเรียนการสอนของโรงเรียน ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เขามีการเปลี่ยนแปลงในการสอนกันอย่างไร ไปดูให้รู้กันดีกว่าครับ
ทางนี้เลยครับ
อิกิมาโช ไปกันครับ
[เสียงดนตรี]
(ฟูจิ) อาจารย์วิวัฒน์ใช่ไหมครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) อาจารย์วิวัฒน์บอกว่าเรียนที่ญี่ปุ่นมาก่อน
[เสียงหัวเราะ]
– อาจารย์อยู่ญี่ปุ่น 10 ปี
– ครับ
– เรียนตั้งแต่…
– เรียนตั้งแต่ไฮสคูล (High School) ครับ
ไฮสคูล จนถึง… จนถึงปริญญาโท (บรรยาย) คุยกันถูกคอเลยนะคะ ได้ขึ้นต้นเป็นภาษาญี่ปุ่น ได้ความรู้สึกของดูให้รู้ในญี่ปุ่น
ออกมานิดหนึ่งเลยค่ะ
โรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนที่เป็นต้น
แบบ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ของประเทศเลยนะคะ และมีโรงเรียนในเครือข่ายทั่วประเทศ อีกกว่า 300 โรงเรียน
ที่จะต้องเติบโตไปด้วยกันค่ะ
ซึ่งทางโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ก็มีการอบรมครูออนไลน์อยู่
แต่เดิมแล้ว
ดังนั้นความเชี่ยวชาญ
ในเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ ต้องมีพอตัวค่ะ
และวันนี้ที่เรามาถ่ายทำ ก็เป็นวันแรก
ของการเรียนออนไลน์ของเด็ก ๆ นะคะ คุณครูหรือเด็กนักเรียน
ต้องมีการปรับตัวอย่างไรครับ
(ดร.วิวัฒน์) ในช่วงเรียนออนไลน์ นักเรียนเราก็ปรับตัวเยอะนะครับ
ผู้ปกครองก็กังวลว่า
นักเรียนจะจัดการตัวเองได้หรือเปล่า เราก็บอก โอเค
อย่างนั้นตอนเช้าตื่นขึ้นมา 8.15 น. เรามาโฮมรูมออนไลน์
(Homeroom Online) กันก่อน นักเรียนทุกคน
จะต้องมาโผล่หน้าบนจอให้คุณครูเห็น มาคุยกันก่อนว่า วันนี้เราจะเรียนอะไร และตอนเย็นก็จะมีโฮมรูมอีกรอบหนึ่ง เพื่อมาสรุปว่านักเรียนเรียนอะไรไปบ้าง ธรรมดาสอนแล้วอยู่ต่อหน้าก็ดี การสอนเด็กก็จะเข้าใจ
แต่…
ถ้าอยู่ไกล ๆ ความรู้สึกที่อยากจะเรียน – ทำอย่างไรให้เด็กอยากเรียนต่อ
– ใช่ครับ
เนื่องจากสอนอยู่วิชาหนึ่งก็เหมือนกัน ตอนอัดเทปเราก็… คือพูดไปโดยที่ไม่เห็นว่า คนฟังทำหน้าอย่างไร เป็นอะไรที่ยากมากครับ
และก็ต้องวางแผนว่าต้องให้แบบฝึกหัดไป แล้วนักเรียนควรจะใช้เวลานานขนาดไหน ส่งกลับมาแล้วตรวจ แล้วจะมาฟีดแบก (Feedback) นักเรียนอย่างไร อันนี้ก็จะเป็นสกิล (Skill)
ที่พวกเราไม่เคยมีมาก่อน ก็ต้องมาฝึกกันในช่วงนี้ครับ
(บรรยาย) นี่คือการเตรียมตัว สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ที่เด็ก ๆ มีความพร้อม คือเป็นเด็กโตหน่อย และก็มีอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์นะคะ ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้ จะทำในช่วงที่ยังไม่เปิดเทอม
แต่…
ถ้าเปิดเทอมแล้ว เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคขึ้นมาอีก จะทำอย่างไรดีคะ (ฟูจิ) ในกรณีเวิสต์เคส (Worst Case) เลยครับ
สถานการณ์กลับมาไม่ได้ เซ็นเซมีวิธีการ หรือไอเดียอย่างไรครับ
ครับ
คือเราต้องเริ่มคิด
จากจุดที่แย่ที่สุดก่อนครับ
มันจะทำให้ที่เหลือคิดง่ายขึ้น เราไม่พูดถึงโพสต์โควิด (Post Covid) นะครับ
ตอนนี้เราพูดถึงวิตโควิด (With Covid)
อยู่กับมัน เราก็เลยวางแผน อย่างเช่น เราไปขอคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อบอกว่า หลักสูตรเรา
อาจจะต้องสลับนิดหน่อยนะ วิชาที่เล็ก ๆ ที่เอานักเรียนเข้ามาไม่ได้ จะขอชิฟต์ (Shift) ไปปีหลัง ๆ ได้ไหม ฟังบรรยายที่เราต้องเอานักเรียน
มาเข้าห้องหอประชุม เราเปลี่ยนไปฟังบรรยายออนไลน์ได้ไหม การที่ต้องไปทัศนศึกษา
เราไป Virtual Visit ได้ไหม – อย่างไรครับ
– ก็คือหมายความว่าเขาไปดูทัวร์ แล้วครูคนหนึ่งเอากล้องติดหมวกไป และคุณครูเดินไปแทนนักเรียน แล้วให้นักเรียนบอกว่าคุณครูช่วยดูทางนี้ คุยกันเรื่องนี้หน่อยได้ไหม ก็อยู่ในแผนที่ว่า
ถ้าเกิดเราเข้าไปไม่ได้จริง ๆ มันก็มีเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เราจัดการได้ ให้นักเรียนได้เอกซ์พีเรียนซ์ (Experience) ได้ ให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ขึ้นได้นะครับ
(บรรยาย) แม้ว่าอาจารย์จะบอกว่า แนวคิดนี้อาจจะจัดทำขึ้น
ถ้าสถานการณ์เกิดไม่ดี เปิดเทอมจริง ๆ ไม่ได้
แต่ฟังดูแล้วก็น่าสนใจไม่เบาเลยนะคะ (ฟูจิ) ปัจจุบันนี้
คือโรงเรียนปิดอยู่ใช่ไหมครับ
ในที่อื่น ๆ ของที่นี้เปิดแล้วหรือครับ
(ดร.วิวัฒน์) ใช่ครับ
ดูอาจจะดูเงียบ ๆ อยู่นะครับ
แต่ว่าเราก็ได้ขออนุญาตท่านรัฐมนตรีแล้วว่า เราขออนุญาตเปิดวันนี้เป็นวันแรกครับ
เปิดก่อนที่อื่นเลย ครับ
เพราะว่ามันไม่สามารถอัดการเรียนการสอน เข้าไปกรกฎาคมจนถึงกันยายน
มันอัดไม่ไหวครับ
เนื้อหาเราเยอะมาก แล้วก็เริ่มสอนแล้ว ผมไปดูได้ไหมครับ
ได้ เชิญเลยครับ
ๆ คุณครูตื่นเต้นเหมือนกันได้สอนวันแรกออนไลน์ – อยากไปดูครับ
– ประสบการณ์ครั้งแรกของคุณครูเลยครับ
เป็นประโยชน์กับพวกเรามากเลยครับ
[เสียงดนตรี]
(ครูเคมี)
บอกว่าเป็นการเกิดสารประกอบหนึ่งโมล จากธาตุในสภาพที่เสถียร ก็คือตัวนี้มีคาร์บอน… (ฟูจิ) เด็ก ๆ จะฟังแล้วเข้าใจได้ขนาดไหน เพราะว่าที่ห้องเรียนกับที่แบบนี้ต้องมีการปรับ
แต่…
ถ้าชินแล้วคงจะไปได้ดี และก็ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางด้วย คิดว่านี่จะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ในวิถีใหม่ในอนาคตเลย (บรรยาย) วันนี้เป็นวันเปิดเทอมวันแรก
ในแบบออนไลน์ คุณครูทั้งหลายเตรียมการเรียนการสอน
มาเต็มที่เลยนะคะ และจัดการสอนกันอยู่หลายห้อง หลายวิชาค่ะ
(ดร.วิวัฒน์) มีอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ที่มุมกล้องซ้ายล่างเห็นไหมครับ
คืออาจารย์อยู่อีกห้องหนึ่งไม่ได้อยู่ห้องนี้
แต่ว่าคือสอนห้องเดียวกัน
แต่อาจารย์อยู่คนละที่ ทุกห้องจะต้องมีอาจารย์ 2 คน
แต่อาจารย์ 2 คน
ไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่ห้องเดียวกันก็ได้ คนสอนก็สอนไป
คนที่จะต้องดูนักเรียนตอบคำตอบ ช่วยแอสซิสต์ (Assist) ก็จะมีอีกคนหนึ่ง (ฟูจิ) อาจารย์อีกท่านหนึ่ง อยู่อีกห้องหนึ่ง (ดร.วิวัฒน์) ห้องเรียนเดียวกัน
แต่ว่าคุณครูนั่งคนละห้อง นักเรียนถามคำถามหลาย ๆ บรรทัดเข้ามา คนสอนอยู่ฟังไม่ทัน คนนี้ก็จะตอบให้ (ฟูจิ) ผมว่าอันนี้สำหรับออนไลน์ เจ๋งมากเลย (บรรยาย)
เรียนและสอนกันเป็นทีมเวิร์กเลยนะคะ ตอนนี้เราอยากคุยกับเด็ก ๆ ว่า เรียนออนไลน์แบบนี้รู้สึกอย่างไรคะ (ฟูจิ) น้อง ๆ ทุกคน สวัสดีครับ
ๆ เรียนออนไลน์แล้วรู้สึกอย่างไรครับ
(ภูวพัศ) การเรียนออนไลน์… มันจำเป็นจะต้องที่จะมีความใส่ใจ ในการที่เราจะไปศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองก่อน (สริตา) ในช่วงที่ให้เราไปศึกษาก่อนค่ะ
ซึ่งเวลาตรงนั้น เราจะสามารถเลือกเวลาได้เลยว่า อยากศึกษาตอนไหน อะไรอย่างนี้ค่ะ
คือทางโรงเรียนเขาไม่ได้บังคับ (ชฏาพร) ก็ทำให้ฟอลโลว์ (Follow)
เนื้อหาตามไปได้ง่ายค่ะ
ก็ทำให้เหมือนกับเราเข้าใจเนื้อหามาบางส่วนแล้ว มาได้เข้าใจอีกรอบในห้องค่ะ
ก็คือเก็บส่วนที่ตกหล่น ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ
(ฟูจิ) เรียนออนไลน์อย่างนี้
มีปรับตัวอะไรบ้างไหมครับ
(ณัฐชนน) ก็ต้องปรับตัวครับ
แต่ว่าโรงเรียนก็ให้โอกาส ในการได้ทดลองเรียนก่อนอาทิตย์หนึ่ง ทำให้เราปรับตัวง่ายขึ้นครับ
(ฟูจิ) ทุกทีจะนั่งข้าง ๆ กับเพื่อน แล้วถามเพื่อนหรือคุยกับเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์
แต่ตอนนี้มันเหมือนกับอยู่คนเดียว รู้สึกแตกต่างอย่างไรไหมครับ
ก็ต้องปรับตัวครับ
แต่ว่าอยากเจอเพื่อน ๆ อยู่ครับ
(สริตา)
ถ้าเรียนห้องเรียนจริง ๆ
ก็ได้ทำการทดลอง หรือว่าได้เจอเพื่อน ๆ เจออาจารย์จริง ๆ ค่ะ
อ๋อ ไม่ได้ทดลอง เมื่อไม่ได้ทดลองแล้วจะเกิดอะไรครับ
(สริตา) ก็เพราะวันแรก
เหมือนเราเห็นภาพมากขึ้น ตอนนี้เราเรียนทฤษฎี
แต่ว่าเราไม่เห็นภาพที่ชัดเจน
เท่ากับการทดลองนะคะ อ๋อ เข้าใจแล้ว ก็คือเหมือนไปดิสนีย์แลนด์
แต่เราไม่ได้ไปเล่นรถไฟเหาะด้วยตัวเอง (ครูชีววิทยา) เห็นแค่วิดีโอดิสนีย์แลนด์ (ฟูจิ) เห็นดิสนีย์แลนด์วิดีโอเฉย ๆ
อะไรอย่างนั้นใช่ไหมครับ
แล้วทางผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วม ในการช่วยปรับอะไรเยอะไหมครับ
(สริตา) เหมือนจะคอยเตือนว่าอย่าลืมดูคลิป
แต่ว่าไม่ได้มานั่งดูกับเราด้วย (บรรยาย) สังเกตเห็นอะไร
ในห้องเรียนออนไลน์บ้างคะ ดูสิคะว่าน้อง ๆ ใส่ชุดนักเรียนมานั่งเรียนด้วยค่ะ
แม้ว่าอาจารย์ไม่ได้บังคับ
แต่น่าจะเพราะคิดถึงโรงเรียน ก็ใส่ชุดนักเรียนเรียนอยู่ที่บ้านกันเลยค่ะ
น่ารักมากเลยนะคะ กว่าจะได้ผลงานที่น่าพึงพอใจขนาดนี้ คุณครูทั้งหลาย
น่าจะทำงานกันมาหนักมากเลยใช่ไหมคะ
[เสียงดนตรี]
และมีข้อดีในออนไลน์ตรงไหนบ้างครับ
ข้อดีในมุมมองของตัวเอง คิดว่ามันก็สนุกดี มันก็ท้าทาย คือปกติ พอเราทำแล็บ (Lab) ตอนที่เราทำจริง ๆ เราเห็นผลโน้นนี่นั่น เด็กก็สนุกตื่นเต้นระหว่างเรียน
แต่โจทย์ของเรา คือเราจะทำอย่างไร ให้เด็กเขาตื่นเต้นกับการทดลองของเรา เราก็ให้ฝึก ให้เขาได้อ่าน แล้วเราก็มีความรอบคอบมากขึ้น
ในการแพลน (Plan) แล็บต่าง ๆ คือแล็บ บางครั้งเราต้องเทสต์ (Test) ก่อน เราต้องเช็กหรือบางอย่างในห้องเรียน บางทีเราอาจผิดพลาดได้ เพราะเราอยู่ด้วยกัน เราเคลียร์กันได้
แต่พออยู่ข้างนอกให้เด็กเขาดูจอ ดูกล้อง
ถ้าผลที่มันผิดพลาด เดี๋ยวเด็กเขาไปสรุปคาดเคลื่อน มันก็ทำให้เขาเสียเวลากับสิ่งนั้น อย่างที่สาขาทุกคนเราจะวางแผนด้วยกันเลย ว่าเราจะทำแล็บอะไร เราจะถ่ายคลิปแบบไหน แล้วให้เด็กเรียนรู้ในลักษณะอย่างไรบ้าง อันนี้ก็คือส่วนหนึ่ง
ที่เรานำมาใช้ในการสอนออนไลน์ อันนี้เป็นของเว็บไซต์ของต่างประเทศ
แต่ว่าอันนี้เขาก็ฟรีออนไลน์ให้เรา เราก็สามารถเข้าไป อย่างเช่น อาจารย์กุ้งจะสอนพวกเกี่ยวกับโมเลกุลนะคะ ก็เข้าไป คือรวบรวมแล็บ รวบรวมกิจกรรมไว้เยอะ แล้วเด็กเอง อย่างเช่น โมเลกุล เราบอก โมเลกุลมันสั่นอย่างไร
มันจับกันอย่างไร ให้เด็กไปศึกษาล่วงหน้า หรือว่าหลังคลาส (Class) อย่างนี้ค่ะ
เวลาไปดูกันนี่ นานไหมครับ
วิชาหนึ่ง 1.5 หน่วย คือ 3 คาบ ๆ ละ 50 นาที คุณเรียนกับเรา
ที่เป็นแบบซิงโครนัส (Synchronous) ที่แบบเจอกัน พร้อมกัน 50 นาที 100 นาที ก็คืออยู่ในสิทธิ์ของเวลาวิชานี้นะ คุณก็ใช้ตอนไหนก็ได้ 100 นาทีนี้ (บรรยาย) นี่คือในฝั่งของการเรียนการสอน แบบที่อาจารย์คนไทยในเมืองไทย
พยายามพัฒนา เราก็เลยอยากรู้ว่า ที่ต่างประเทศนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ที่โรงเรียนนี้มีอาจารย์มาจาก
ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ซึ่งอาจารย์บอกว่า ปัญหาของการที่เด็ก ๆ
ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้กันทุกบ้าน ก็เป็นปัญหาแบบเดียวกับที่อเมริกามี
แต่…
ทั้งนี้ทางอเมริกา ได้มีการใช้สื่อออนไลน์ ในการเรียนการสอนมานานแล้ว และอาจารย์ก็มองเห็นว่า การสอนออนไลน์มีข้อดีข้อเสียที่น่าสนใจนะคะ [เสียงบรรยากาศการสอน] (บรรยาย) ส่วนข้อเสียก็คือ ไม่สามารถสื่อสารทางกายได้
เหมือนอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ สัมผัสความรู้สึกกันไม่ได้
ดังนั้นอาจารย์บอกว่า ต้องใช้การสื่อสารแบบ Heart to Heart คือใช้หัวใจสื่อถึงกันค่ะ
และแม้จะหมดช่วงโควิด-19 ไปแล้ว ท่านก็อาจจะนำการสอนออนไลน์ มาสอนควบคู่ไปด้วยค่ะ
[เสียงดนตรี]
ฟังคุณครูจากโรงเรียน
ที่มีความพร้อมมาก ๆ กันไปแล้ว ตอนนี้เราจะไปคุยกับครู… ในโรงเรียนต่างจังหวัดกันบ้างค่ะ
ว่าการรับมือในช่วงนี้
เพื่อให้เด็ก ๆ ยังเรียนได้อยู่ จะต้องทำอย่างไรกันบ้าง ครูสอญอ คุณครูเลือดใหม่ จากโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย
จังหวัดขอนแก่น แขกรับเชิญของเราเมื่อหลายปีก่อนค่ะ
ก็ที่ต่างจังหวัดของเรา ก็มีทั้งเรียนผ่านทางไกลครับ
แล้วก็ซึ่งเรามองว่าการเรียนทางไกล หรือเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต หรือว่า DLTV – มันก็ตอบโจทย์เด็กแค่บางกลุ่มครับ
ใช่ ๆ
แต่อีกบางกลุ่มก็ไม่ตอบโจทย์เลย (ฟูจิ) แสดงว่าคุณครู
ต้องทำงานหนักมากขึ้น จะต้องหาวิธีให้เด็กที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต เราจะสอนอย่างไร ง่ายที่สุด เราก็ลงไปในชุมชนครับ
เข้าไปถามเด็กเลย แล้วก็เข้าไปคุยกับผู้ปกครองเลยว่า พอเขาไม่พร้อม เขาอยากจะเรียนอยู่ไหม
ถ้าอยากจะเรียน มันมีวิธีการเรียนแบบไหนบ้าง ที่เราจะทำงานไปด้วยกัน แล้วเรียนไปด้วยกันในสถานการณ์แบบนี้ ทางทีมครูกับนักเรียนก็เลยต้องมาคุยกัน มาออกแบบด้วยกันว่า เราจะเรียนและเราจะออกแบบ
การเรียนรู้ไปด้วยกันอย่างไรบ้าง ที่มันจะตอบโจทย์ทั้งตัวครูกับตัวนักเรียนจริง ๆ แล้วเราดีไซน์ (Design) ออกมา แล้วประชุมออกมาเป็นอย่างไรครับ
คือทางครูก็คือคุยกันครับ
ทีมครูก็เลยถูกแบ่งเป็น 2 ทีม ทีมหนึ่งก็คือเราก็สอนออนไลน์ ไม่ต้องสอนเยอะ ก็สอนแค่ 4 วิชาหลัก อีกวิชาหนึ่งที่เป็นวิชาทักษะ อย่างเช่น สังคม ศิลปะ การงานอาชีพ วิชาเหล่านี้
สอน หรือไปจัดการเรียนรู้กับเด็กในชุมชน มีทั้งสอนในวัด สอนในศาลากลางบ้าน หรือสอนริมทางรถไฟ อะไรอย่างนี้ครับ
ก็ออกแบบตามบริบทของพื้นที่เลยครับ
เราโฟกัส (Focus) ไปที่ช่วงมัธยม ส่วนน้องเล็ก ๆ เรายังไม่ออกแบบอีกทีมหนึ่ง เพราะว่าเรายังเป็นห่วงอยู่ เพราะว่าเด็กเล็กแล้วก็ผู้ปกครองเอง อาจจะยังเห็นว่ามีข้อจำกัดบางอย่างครับ
แล้ววิถีชีวิตใหม่ของสอญอ คิดว่ามันคืออะไรครับ
วิถีใหม่เราก็ต้องเป็นผู้ริเริ่ม หรือผู้กล้าที่จะริเริ่มนวัตกรรมอะไรใหม่ ๆ ซึ่งผมว่าคนในชุมชน หรือว่าในสังคมของเราอยากได้แบบนี้ และเราก็เอาตัวเรานี่แหละ ทำให้เป็นบทเรียนกับเพื่อนเรา กับนักเรียนของเรา (บรรยาย) ขอบคุณ
คุณครูสัญญา หรือครูสอญอของเด็ก ๆ มากเลยนะคะ นี่คือการปรับตัวในสภาวะที่เด็กมีความไม่พร้อม ครูคือผู้ช่วยคนสำคัญมากจริง ๆ ค่ะ
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) ต่อไป
เราจะไปคุยกับหน่วยงานที่ทำการวิจัย ถึงปัญหาต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อดูมุมมองสำหรับเรื่องวิถีใหม่ ในการศึกษาช่วงโควิด-19 นี้ค่ะ
(ฟูจิ) คิดว่าในช่วงโควิด-19 ควรจะเรียนออนไลน์ดีหรือไม่ดี คือสถานการณ์
ที่มันมีการระบาดของโควิด-19 นะคะ คือคิดว่ามันต้องเป็นสถานการณ์ที่มันปรับ
แต่มันไม่ตายตัวค่ะ
สมมติว่า
ถ้าหากว่าเรามีการให้เปิดเรียน… สำหรับจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่ำนะคะ
แต่…
ถ้าปรากฏว่า เกิดมีการติดเชื้อกันขึ้นมา มันต้องรีบเข้าไปดูให้เร็วว่า คลัสเตอร์ (Cluster) นี้เราสามารถระบุได้ไหม แล้ว
ถ้าหากว่ามีแบบนี้ อาจจะต้องมีการปิดบางชั้นเรียนไหม คือมันไม่ใช่เป็นระบบที่ตายตัว
แต่ว่ามันต้องเป็นระบบที่ยืดหยุ่นได้ ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม คือ
ถ้าหากว่าเราเอาเทคโนโลยี
มาใช้กับนักเรียนแล้ว แปลว่าเราต้องมั่นใจว่า นักเรียนทุกคนในชั้นเรามีเทคโนโลยี เพราะ
ถ้าหากว่ามันเป็นลักษณะที่ นักเรียนครึ่งหนึ่งมี อีกครึ่งหนึ่งไม่มี มันหมายความว่า
คุณครูก็ต้องหาวิธีในการที่จะบอกว่า แล้วนักเรียนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์อีกครึ่งหนึ่ง คุณครูจะสามารถ
ที่จะให้การเรียนรู้กับเขาได้อย่างไร โดยการที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (บรรยาย) ข้อสังเกตที่ถูกนำขึ้นมาพูดถึงก็คือ
ถ้ามีเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้ แล้วทางโรงเรียนจะทำให้เด็กกลุ่มนั้น เรียนทันเพื่อนได้อย่างไร ซึ่งอาจจะยังไม่พบคำตอบในช่วงนี้นะคะ จากข้อมูลของกองทุนสุขภาพทางการศึกษา เขาบอกว่ามีประมาณ 7 แสนคนนะคะ และส่วนนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเราพบว่าจากข้อมูล
ของกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา เด็กกลุ่มนี้ ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มีประมาณเกือบ 3 แสน ก็ประมาณเกือบ 1 ล้านนะคะ – เกือบ 1 ล้านคน
– เกือบล้านคน เด็กชั้นไหนที่น่าจะเรียนออนไลน์ได้แล้ว แล้วระดับไหน ยังไม่ควรที่จะเรียนออนไลน์ เด็กเล็กก็คือตั้งแต่… – ประถมลงไปจนถึงอนุบาล อะไรอย่างนี้ค่ะ
– ประถม 6 จนถึงอนุบาล ค่ะ
ผลการศึกษาในบางประเทศ เช่น ในโรมาเนียบอกว่า พอมีการให้อุปกรณ์แบบนี้กับเด็กเล็ก ก็ใช้เล่นเกมคอมพิวเตอร์เยอะขึ้นก็มี ขณะที่อย่างบางประเทศ เช่น จีน ซึ่งพบว่ามันส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็ก เป็นเพราะอะไร
เป็นเพราะว่ามันไม่ใช่แค่อุปกรณ์
แต่เป็นเพราะว่าเขาใส่เนื้อหา ในสิ่งที่เด็กต้องเอาไปใช้ในการเรียนรู้จริง ๆ อันนี้ถึงบอกว่าเป็นโจทย์ที่สำคัญมาก คือ
ถ้าหากจะให้อุปกรณ์ไปแล้ว ต้องไปพร้อมกับซอฟต์แวร์ที่อยู่ในนั้น ที่เด็กได้เอาไปใช้จริง ๆ (บรรยาย) และสิ่งที่ทางสถาบันวิจัย
เพื่อการพัฒนาประเทศไทย อยากจะเน้นต่อไปนี้
เราก็คิดว่าสำคัญมากจริง ๆ ค่ะ
ในเรื่องของสิ่งที่เราบอกว่า การแก้ปัญหาเชิงพื้นที่มันถึงสำคัญมาก ๆ เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 ก็คือว่ามันไม่สามารถที่จะบอกว่า เป็นนโยบายเดียวทั้งประเทศได้
แต่ว่านโยบายนั้นควรจะต้องให้เหมาะสม ตามสภาพพื้นที่ ตามสภาพของโรงเรียน ต้องให้เรียกว่าอิสระ หรือว่าความยืดหยุ่นพอสมควร กับผู้อำนวยการโรงเรียนหรือว่าคุณครู ในการที่จะจัดการปัญหานั้น (บรรยาย) ทั้งหมดที่เราฟังไป
เป็นของฝั่งเมืองไทยนะคะ
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) ส่วนทางญี่ปุ่น ซี่งก็เผชิญกับสถานการณ์วิกฤติ จากโควิด-19 ไม่ต่างจากเรา เขามีวิธีจัดการกับการศึกษาในช่วงนี้อย่างไร มีคุณแม่ชาวญี่ปุ่นที่มีลูก
กำลังเรียนอยู่ระดับประถมและก็มัธยม มาแบ่งปันประสบการณ์ให้เราฟังกันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) เธอบอกว่าในโรงเรียนรัฐบาลนะครับ
ก็จะไม่มีการสอนกัน ไม่มีการสอนทางออนไลน์ ก็จะมีกระดาษเอาไปทำการบ้านที่บ้าน พอทำการบ้านที่บ้าน
ถ้าไม่รู้ก็จะถามทางไลน์ มีไลน์กลุ่ม
แต่พอดีโชคของเธอก็คือว่า ลูกทั้งคู่ไปเรียนพิเศษอยู่ เด็กประถมจะมีคุณครูเรียนตัวต่อตัว
แต่พี่ชายอยู่ ม.5 ก็จะเรียนเป็นกลุ่ม เรียนทางซูม (Zoom)
หรือทางไลน์ (Line) แบบนี้ครับ
(บรรยาย) คุณแม่ชาวญี่ปุ่นบอกว่า การต้องเรียนอยู่บ้าน
มีทั้งจุดดีและก็จุดด้อยนะคะ ข้อดีก็คือ… ตอนนี้พอมีเวลาอยู่บ้านด้วยกันมากขึ้น ก็จะทำกิจกรรมด้วยกันมากขึ้นไปด้วยค่ะ
ส่วนข้อเสียคือ… การต้องเรียนออนไลน์ ก็มีการบ้านนะคะ ทำให้ลูกชายคนโต
ต้องใช้เวลาอยู่กับกองการบ้านเยอะมาก
แต่ว่าตอนนี้โรงเรียนในญี่ปุ่น เปิดเทอมมาตั้งแต่ต้นเดือน แล้วทางโรงเรียนมีมาตรการอย่างไร ในการระวังป้องกัน
การแพร่กระจายของเชื้อโรคบ้างคะ (ภาษาญี่ปุ่น) ก็ถามว่าที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง เธอก็ตอบว่า แบ่งกลุ่มไปเรียนหนังสือ เช่น ในห้องเรียนมีอยู่ 30 คน วันจันทร์ พุธ ศุกร์ กลุ่มหนึ่ง กลุ่มเอ วันอังคาร พฤหัส เสาร์ เป็นกลุ่มบี เด็กนักเรียนอยู่ในห้องจะได้อยู่ห่างกัน (ภาษาญี่ปุ่น) ถามว่า ที่โรงเรียนมีมาตรการอะไรบ้างนะครับ
บอกว่าไม่มีอะไรมาก ให้มาล้างมือที่โรงเรียน เพราะที่โรงเรียนจะมีที่ล้างมือ ไม่มีแอลกอฮอล์ แล้วตอนเช้าที่บ้านจะต้องมีการวัดอุณหภูมิ แล้วเอาตัวอุณหภูมิโชว์ให้กับโรงเรียน เป็นการดูแลตัวเองครับ
ให้เด็กเอาหน้ากากไปและก็ใส่ตลอดเวลา และก็เอากระดาษทิชชูไปด้วย และก็เอาน้ำกระติกไปเอง จะไม่แบ่งกันกิน เวลาหิวน้ำ ก็จะไม่กินของโรงเรียน จะต้องกินน้ำของตัวเอง (บรรยาย) นี่คือมุมมอง
ของคุณแม่ญี่ปุ่นท่านหนึ่งนะคะ คนต่อไปที่เราจะไปคุยด้วย เป็นคุณแม่ที่อยู่ญี่ปุ่นเช่นกัน
แต่เป็นคุณแม่คนไทย ที่เราเคยพาไปรู้จักครอบครัวนี้แล้ว ครอบครัวคุณก้อย พี่เซะ และก็น้องคิริค่ะ
(คุณอามาตา) พี่เซะ สวัสดีครับ
หน่อย (พี่เซะ) สวัสดีครับ
(ฟูจิ) สวัสดีครับ
ๆ เป็นอย่างไรบ้างครับ
เป็นอย่างไรบ้าง ตอนนี้ก็คือเปิดเรียนแล้วใช่ไหมครับ
(คุณอามาตา) เปิดเรียนแล้วค่ะ
เปิดเรียนแล้ว ก็คือเปิดเรียนตั้งแต่วันที่… ต้นเดือนหกค่ะ
คือจริง ๆ ต้องบอกว่าเราเจอมา 3 แบบน่ะค่ะ
คือในช่วงตั้งแต่เดือนสามเป็นต้น
มา ก็คือแบบแรก ก็คือหยุดเรียนไปเลย ปกติมันจะมีช่วงปิดเทอม… ประมาณต้นเดือนสี่ แค่สองอาทิตย์
แต่ว่าเราเจอปิดเทอมไป เดือนหนึ่งกับหนึ่งอาทิตย์ไปเลย และก็เคสที่ 2
ก็คือไปเรียนแบบสลับ สลับวันเว้นวัน คือเพื่อที่จะ… เขามีเหมือนกับลด ให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนเหลือครึ่งหนึ่งค่ะ
พอสเต็ปที่ 3 ก็คือตั้งแต่เดือนหก เป็นต้น
มา ก็คือเปิดเรียนตามปกติ ตอนนี้ก็คือไปทุกวันตามปกติค่ะ
แล้วตอนช่วงที่ปิด น้อง ๆ เขาทำอะไรกันครับ
เป็นกิจกรรมอย่างเช่นว่า อะไรที่เราสามารถทำได้ เป็นกิจกรรมในบ้าน หรือกิจกรรมในสวนข้างบ้าน ทำสวน ทำกับข้าว หรือการออกไปในชายป่า หรืออะไรพวกนี้ค่ะ
ซึ่งมันเป็นกิจกรรม
ที่เขาก็ได้ประโยชน์เหมือนกัน
แต่ว่าก็ไม่เสี่ยงในเรื่องของโควิด อะไรอย่างนี้ค่ะ
(บรรยาย) คุยกันไปได้สักพัก พี่เซะจะต้องออกไปซ้อมฟุตบอลแล้วค่ะ
ทีนี้ก็เหลือน้องคิริ ที่จะยอมมาเข้ากล้องกับคุณแม่ไหมนะ มาดูกันค่ะ
คุณก้อยบอกว่า
โรงเรียนของพี่เซะและก็น้องคิริ ก่อนหน้านี้ไม่มีการเรียนออนไลน์
แต่จะให้เด็กไปรับการบ้านมาทำอาทิตย์ละวันค่ะ
คือมีทั้งการบ้านและก็เฉลยมาให้ด้วย
แต่เด็ก ๆ ก็จะทำการบ้านได้นะคะ ไม่ได้เป็นเรื่องยากเกินไป เพราะอะไรถึงทำได้ คุณก้อยจะเล่าให้ฟังค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (คุณอามาตา) คือต้องบอกว่า
แต่ละบ้านและก็เด็ก
แต่ละคน อาจจะมีความแตกต่างกัน อย่างเช่น ตอนนี้พี่เซะเขาไม่มีปัญหาเรื่องเรียน อย่างคิริมีค่ะ
เรียนแล้วมีความไม่เข้าใจในบางจุด ซึ่งสำหรับคิริ ป.3 เราสามารถสอนให้ได้ เพราะว่ามันยังไม่ถึงกับยากเกินไป สำหรับเด็กคนอื่น ๆ
อาจจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน ก้อยมองว่า ณ จุดนี้ก็คือว่า โรงเรียนน่าจะกำลังเอาช่วงนี้ค่ะ
ช่วงที่เปิดเรียนปกติในช่วงเดือนหก แล้วก็ช่วงเปิดเรียนในช่วงของวันเสาร์ครึ่งวัน อาจจะเอาช่วงนี้มาทบทวนบทเรียนซ้ำ แล้วก็สอนเพิ่มเติม ในจุดที่เด็ก ๆ ยังขาดความเข้าใจ ตอนนี้เปิดเทอมแล้ว
มีมาตรการอย่างไรบ้างครับ
มีกฎมาค่ะ
ก่อนไปเรียนต้องให้เช็กอุณหภูมิร่างกาย
เพราะฉะนั้นเวลาก่อนไปเรียนก็คือว่า ต้องคอนเฟิร์มตัวเองก่อนว่า หนึ่ง คือไม่มีไข้ สอง คือร่างกายสบายดี แล้วก็ปิดหน้ากากอนามัยไป
ตั้งแต่ออกจากบ้านไปเลย เป็นมาตรการเบื้องต้น ตอนนี้ไปโรงเรียนก็คือเดิน คือเดินไปโรงเรียนประมาณกลุ่มละ 10 คน (บรรยาย)
แต่การที่วันเปิดเทอมถูกเลื่อนออกไป จากเดิมนานอยู่เหมือนกัน แล้วเด็ก ๆ จะเรียนเนื้อหาได้ครบอย่างไรล่ะคะ สำหรับการเรียนที่จะมีการปรับ ก็คือปิดเทอมใหญ่ก็จะลดสั้นลง ใช่ ๆ ได้ข่าวอย่างนี้ เพื่อที่จะทดแทนในส่วนที่เด็ก ๆ หยุดเรียนไป เพื่อที่จะเสริมในจุดนั้นขึ้นมา
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) ขอบคุณ
คุณก้อย
และก็ครอบครัวมากนะคะ คิดว่าตอนนี้ระบบการศึกษา
ในทุก ๆ ประเทศทั่วโลก ก็คงจะต้องพยายามค้นหาวิธี และก็คำตอบที่อาจจะไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด
แต่ต้องเป็นการทดลอง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่สุดค่ะ
เอาใจช่วยทั้งเด็ก ๆ
ผู้ปกครอง และก็คุณครูนะคะ เราจะผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกันได้แน่ค่ะ
[เสียงดนตรี]
พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่น ที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ