เพิ่มมูลค่ามหาศาล งานฝีมือไทยดังไกลถึงญี่ปุ่น

1096 0

(บรรยายหญิง) งานฝีมือของกลุ่มสตรีไทย เป็นที่ยอมรับของลูกค้าชาวญี่ปุ่น ถึงขั้นนำไปจัดแสดงโชว์ ในแกลเลอรีที่ญี่ปุ่นแล้ว (รอวียะ) คนญี่ปุ่นรู้สึกมีชีวิตชีวา รู้สึกตื่นเต้น ที่จะได้เห็นงานแบบใหม่บนผ้ากิโมโน แล้วก็เขาบอกว่า เขารู้สึกว่าผ้าของเรามันร่วมสมัย คือมันไม่เชยค่ะ
(บรรยาย) ผ้าบาติกของนราธิวาส
ประณีต สวยงามขนาดไหน ฟูจิเซ็นเซ จะพาไปพิสูจน์กันถึง
นราธิวาสกันเลยค่ะ
(ฟูจิ) ผมไม่ค่อยได้ใส่กิโมโน ไม่ค่อยได้รู้สึกถึงกิโมโน เห็นแล้วอยากใช้เลยครับ
(รอวียะ) จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย สู่แรงบันดาลใจระดับโลก (บรรยาย) ดูให้รู้วันนี้
เปลี่ยนบรรยากาศกันบ้างนะคะ เราเคยไปถ่ายทำในเมืองไทย ที่ภาคเหนือกันมาแล้ว วันนี้เราจะลงใต้กันบ้างค่ะ
ไปจนถึงนราธิวาสกันเลย ที่นราธิวาสมีอะไรดี ๆ ที่คนไทยทำแล้วคนญี่ปุ่นติดใจ เอาไปใช้ถึงแดนซากุระกันแล้ว ฟูจิเซ็นเซจะพาไปรู้จัก
กับเจ้าของเรื่องนี้กันถึงถิ่นเลยค่ะ
(รอวียะ) สวัสดีค่ะ
(ฟูจิ) คุณรอวียะใช่ไหมครับ
ใช่ค่ะ
สวัสดีค่ะ
สวัสดีครับ
ดีใจครับ
ดีใจดีที่ได้เจอค่ะ
ดีใจที่ได้เจอครับ
นี่อย่างไรครับ
คนที่เราอยากเจอนะครับ
คุณรอวียะเป็น
ผู้ที่เอาวัฒนธรรมญี่ปุ่นกับไทยมาเจอกัน แล้วเป็นของที่แบบสุดยอดมาก ๆ จนพวกเราจะต้องตามมา – ขอบคุณค่ะ

– อยากดูแล้วครับ

ก่อนอื่นนี่ไปเลยได้ไหมครับ
ได้ค่ะ
ๆ เชิญค่ะ
– ไปเลยนะครับ

– ได้เลยค่ะ
เชิญค่ะ
– ยินดีต้อนรับสู่นราธิวาสนะคะ
– ขอบคุณครับ
นราธิวาส

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) พื้นเพนี่อยู่ที่นราธิวาส
หรือไม่ใช่คนที่นี่ หรือว่าอย่างไรครับ
ไม่ใช่คนนราธิวาสค่ะ
เป็นคนจังหวัดปัตตานี ครับ

แต่ว่าก็คุ้นเคยกับจังหวัดนราธิวาส เพราะว่า เราก็มีญาติพี่น้องอยู่แถวนี้ เราก็ไป ๆ มา ๆ อยู่ค่ะ
เมื่อก่อนนี้ก็เรียนหนังสือที่จังหวัดปัตตานี ยะลา แล้วก็ไปเรียนหนังสือในกรุงเทพ ฯ แล้วก็ทำงานอยู่ในกรุงเทพ ฯ ช่วงหนึ่ง ในระยะหนึ่งเกือบ 10 ปี นะคะ เรียนหนังสือ ทำงาน หลังจากนั้นก็คิดว่า
ตัวเองอยากจะกลับมาบ้านเกิด ก็เลยคิดว่าพอจะกลับบ้าน เราควรจะทำอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ที่จังหวัดนราธิวาสเขาจะมีสินค้าที่เป็นบาติกอยู่

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) คุยกันกำลังออกรสชาติ ก็มาถึงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ คือทะเลบ้านทอนค่ะ
พี่รอวียะ อยากให้เราได้เห็นว่า… นราธิวาส เหมาะแก่การมาท่องเที่ยวขนาดไหน [เสียงคลื่น] (ฟูจิ) โอ้โฮ มาที่เมืองนราธิวาส
ใกล้สนามบิน แล้วก็มีทะเล ไม่ต้องแย่งกับใครเลย (รอวียะ) ไม่ต้องแย่งเลย เลือกมุมนอนอาบแดดได้เลยนะคะ (ฟูจิ) ที่ญี่ปุ่นนี่คงจะแย่งกันเลย (บรรยาย)

แต่…

เนื่องจากเรามีเวลาไม่มาก จะแวะสูดอากาศได้สักครู่ เราก็ต้องย้ายฐานทัพ ไปหาที่เติมพลังกันต่อก่อนค่ะ
อาหารนราธิวาสแท้ ๆ เป็นอย่างไร จะได้พิสูจน์กันในวันนี้แหละค่ะ

[เสียงดนตรี]

อันนี้เป็นไก่กอและค่ะ
ไก่กอและ แปลว่า ไก่ที่เอาย่าง กอและ เป็นภาษามาลายู แปลว่า ย่าง แล้วก็ทำน้ำซอสราด ก็คือซอสทำจากน้ำกะทิผสมเครื่องแกง อันนี้เป็นแกงกะหรี่ปลาอินทรีค่ะ
ก็เป็นแกงกะหรี่
แต่ว่าใช้ปลาอินทรี ที่เป็นปลาในทะเลนราธิวาส มีสมุนไพรเยอะ อร่อยมาก อันนี้อะไรครับ
(รอวียะ) อันนี้เป็นยำกะทิสดค่ะ
คือจะเอาผักท้องถิ่น เช่น ผักกูด ลูกเพกา หั่น ๆ แล้วก็ลวก ลวกเสร็จแล้วก็เอาปลาผสมกับกะทิ แล้วก็ราด ปรุง ๆ เป็นน้ำยำ อันนี้จะเป็นซุป ซุปกระดูกอ่อนค่ะ
เป็นกระดูกวัวค่ะ
พวกเครื่องพะโล้ค่ะ

แต่ต้มแบบใส ๆ ไม่ได้ต้มข้นแบบพะโล้ ซุปกระดูกอ่อน อร่อยมากเลย อร่อยมากใช่ไหม เป็นน้ำซุปค่ะ
มีสมุนไพรออกมา (รอวียะ) อันนี้ลิ้นย่างค่ะ
(ฟูจิ) ลิ้นย่าง (รอวียะ) นี่อาหารแนะนำเลย ลิ้นย่างครับ
จิ้ม อร่อยมากเลย คือแค่แตะอย่างเดียวก็อร่อยมาก ว้าว (บรรยาย) เปลี่ยนบรรยากาศจากการชิมอาหารญี่ปุ่น มาเป็นอาหารภาคใต้ตอนล่างแท้ ๆ กันบ้างนะคะ ฟูจิเซ็นเซก็ยังฟินเหมือนเดิมค่ะ
นี่ถือว่ามาถึงนราธิวาสเรียบร้อยแล้ว เพราะได้กินอาหารนราธิวาสแท้ ๆ ค่ะ

แต่ว่า
ถ้าจะให้เข้าใจสิ่งที่เป็นจุดเด่น
ของนราธิวาสจริง ๆ พี่รอวียะ จึงพาเราไปพบกับกลุ่มงานฝีมืออีกกลุ่ม ที่บอกว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลกนะคะ อยากเห็น ต้องมานราธิวาสเท่านั้นค่ะ

[เสียงดนตรี]

(สมมาตร์) ตอนนี้เรามาถึงถิ่นใบไม้สีทอง
จังหวัดนราธิวาสนะครับ
ที่บอกว่ามีหนึ่งเดียวในโลกนะครับ
ใบไม้สีทองก็เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นตามเทือกเขานะครับ
อยู่ในป่าดิบชื้น อยู่ในป่าทึบนะครับ
ใบไม้สีทองจริง ๆ แล้วมี 3 สี นะครับ
มีสีนาค สีเงิน แล้วก็สีทองนะครับ
คุณสมบัติของมันก็เป็นเหมือนกับเป็นผ้านะครับ
ทุกคนเห็นแล้วก็นึกว่าเป็นผ้า เป็นกำมะหยี่ (ฟูจิ) คุณผู้ชมดูสิ โอ้โฮ เงางามขนาดนี้ ไม่ได้ประดิษฐ์เอง มันมาตามธรรมชาติ (สมมาตร์) มาตามธรรมชาติครับ
มันนุ่มนวลครับ
นุ่มนวลครับ
(ฟูจิ) นุ่มจริง ๆ ครับ
คุณผู้ชม เหมือนอะไร เหมือนปีกผีเสื้อ
หรือปีกอะไรสักอย่างเนอะ ดูสิ (บรรยาย) โอ้โฮ
เป็นใบไม้สีสวยจริง ๆ เลยนะคะ ทั้งผืนผิว แล้วก็สี เรียกชื่อเล่น ๆ ว่า ใบไม้สีทอง ชื่ออย่างเป็นทางการคือ ย่านดาโอ๊ะ ค่ะ
นอกจากความสวยแล้ว คนที่นี่ยังเชื่อว่ามีใบไม้สีทองในบ้าน จะถือว่าเป็นมงคลด้วยนะคะ แถมคนที่เดินป่าก็ยังพกเหน็บเอวไปด้วย เพราะอะไรกันคะ (สมมาตร์) ชาวบ้านจะเล่าให้ฟังว่า เวลาเขาเข้าป่า เขาจะเอาใบไม้สีทองเหน็บไว้ที่เอว ผมถามว่าทำไมเหน็บไว้ที่เอว เขาบอกว่าเวลาเขาเดินป่าเข้าไป ใบไม้สีทองอาจจะมีกลิ่นสาบของมัน ซึ่งทำให้สัตว์ร้าย
หรือสัตว์เลื้อยคลาน จะไม่เข้าใกล้ อันนั้นเป็นความเชื่อของชาวบ้าน ที่อยู่ในท้องถิ่นนี้นะครับ
(บรรยาย)
เนื่องจากเป็นใบไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ และที่นราธิวาส ก็นำมาทำเป็นของที่ระลึกสวยงามมาได้ 15 ปีแล้ว ฟูจิเซ็นเซ ก็เลยสงสัยค่ะ
ว่า…
ถ้าเราสามารถพบเห็นได้ตามธรรมชาติ ใคร ๆ ก็สามารถเด็ดมาได้หรือไม่คะ (สมมาตร์) คือชาวบ้านเขาจะเห็นจนชินตา เราคนในเมืองพอไปเห็น เราก็จะมีความรู้สึกว่ามันแปลก เพราะว่าใบไม้ทั่ว ๆ ไป
เป็นสีเขียว เป็นสีตองอ่อน
แต่ว่าต้นนี้ทำไมเราถึงมองเห็น
ระยิบระยับ เหมือนสีทอง เวลาเราอยู่ไกล ๆ เราเห็น เหมือนใบโพธิ์สีทอง (ฟูจิ) มันสะท้อนแสง (บรรยาย) เล่ามาเสียขนาดนี้ อยากจะเห็นต้นจริง ๆ กันแล้วละค่ะ
ไหนคะไหน ขอดูหน่อยค่ะ
(สมมาตร์) เห็นไหมครับ
พอถึงหน้านี้ (ฟูจิ) อันนั้นใช่ไหมครับ
(สมมาตร์) ใช่ ๆ เราเดินไปดูใกล้ ๆ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) คุณผู้ชมสวยงามมาก สีชมพู นี่อย่างไรครับ
อยู่ที่ต้นเลยนะ นี่อยู่ที่ต้นเลย ดูสิ ชมพู ๆ อาจารย์ครับ
ตรงไหนครับ
ที่บอกว่า มันสามารถเปลี่ยนเป็นสีเขียวบ้าง เป็นสีนู่นนี่นั่น ตรงไหนครับ
(สมมาตร์) จะเป็นเส้น ๆ สีของมันนะครับ
เส้นสีหรือ
ถ้าเรามาดูหลังใบนะครับ
มันจะเป็นโครงสร้างของใบ มันจะละเอียดมาก ใบไม้สีทองมันจะมีคุณสมบัติ
ที่โครงสร้างของใบมัน มันจะละเอียดกว่าใบอื่น ๆ มาก สิ่งหนึ่งที่เราสังเกตนะครับ
เดิมจะเป็นสีเขียวนะครับ

แต่มันจะมีเส้น เส้นวิ่งที่เป็นเส้นใยครับ
เส้นใยของมัน ตัวนี้จะผลิตสีออกมานะครับ
จากหลังใบ เส้นนี้มันจะวิ่งเห็นไหมครับ
สีมันจะวิ่ง มันก็จะวิ่ง ๆ จนเต็มนะครับ
(ฟูจิ) สวยงามมากเลย (สมมาตร์) จนเต็ม เราก็มีความรู้สึกว่า
ต้องเก็บตอนที่มันสุกนะครับ
เหมือนผลไม้สุก ใบไม้ก็เหมือนกันนะครับ
เป็นธรรมชาติ แล้วนี่คืออะไรครับ
กำลังจะเต็มที่แล้ว – กำลังจะเต็มที่แล้ว
– กำลังจะเต็มที่แล้วนะครับ
(บรรยาย) นับว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากเลยนะคะ ที่นำของในท้องถิ่น
มาพัฒนากลายเป็นสินค้าได้ ซึ่งแนวคิดนี้ก็มีที่มาค่ะ
(สมมาตร์) ผมทำงานอยู่กับศิลปาชีพมานานครับ
ก็เห็นที่สมเด็จ ฯ ท่านช่วยชาวบ้าน แล้วมีความคิดว่า
ผมจะต้องให้ชาวบ้านมีรายได้ จากการเก็บใบไม้แล้วมาส่งผม แล้วผมก็จะออกแบบ แล้วก็นำไปขายจำหน่าย แล้วมันจะเป็นวงจรที่ชาวบ้านจะสร้างรายได้ (บรรยาย) จากจุดเริ่มต้น ที่ต้องการจะสนับสนุนให้ชาวบ้านมีรายได้ ผ่านไป 15 ปี ก็ถือว่าประสบความสำเร็จค่ะ
เพราะมีการเปิดตลาดต่างประเทศแล้วด้วย (ฟูจิ) มีชาติไหนที่ชอบใบนี้แล้วรับซื้อบ้างครับ
(สมมาตร์)
ถ้าถามต่างชาติก็คือญี่ปุ่นครับ
หรือ ญี่ปุ่นเลย เดี๋ยวผมช่วยแชร์เลย ดีไซเนอร์จากญี่ปุ่นมา มาที่นราธิวาส มาเหมือนกับน้องที่มานี่แหละ เขาบอกว่าผมมีของดี เหมือนเพชรนะครับ
(ฟูจิ) ใช่ (สมมาตร์)
แต่ผมต้องไปหามืออาชีพทำ ต้องมีการออกแบบ (บรรยาย) และตอนนี้ก็กำลังจะก้าวไปอีกขั้นค่ะ
คือมีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของทางภาคใต้ กำลังจะพัฒนาใบไม้สีทอง หรือย่านดาโอ๊ะนี้ ให้เป็นวัสดุที่คล้ายหนัง เพื่อนำไปตัดเย็บต่อไปได้ค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) มีความภูมิใจอย่างไรบ้างครับ
(สมมาตร์) ชาวนราธิวาส
มีความภาคภูมิใจนะครับ
ที่บ้านเขามีพันธุ์ไม้
ที่หายากของโลกเลยนะครับ
เวลาไปไหนมาไหน ชาวนราธิวาสจะนำใบไม้สีทองไปฝาก เป็นของฝากนะครับ
ภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองมี ขอถามความรู้สึกนิดหนึ่งนะครับ
ในฐานะผู้มาเยือนนราธิวาสครั้งแรก รู้สึกอย่างไรครับ

ที่ได้มาเห็นบรรยากาศนราธิวาส ที่ผมรู้สึกก็คือ
มีคนใส่ผ้าแบบนี้เยอะ ๆ หน่อย อาหารก็อร่อยไม่เคยเห็น แล้วก็มีความตื่นเต้น ใบไม้ก็นุ่มมาก ธรรมชาติมาก มีที่เที่ยวเยอะ อาหารก็ไม่เคยกินมาก่อน

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) วันแรกที่นราธิวาส
ผ่านไปอย่างประทับใจนะคะ พอตกค่ำ เมื่อทีมงาน
ออกไปรับประทานอาหารเย็น เราก็พบว่าที่นราธิวาส มีสี่แยกชิบูยะด้วย เอ๊ะ อะไรนะคะ สี่แยกชิบูยะที่นราธิวาส หลอกกันเล่นหรือเปล่าคะ (ฟูจิ) ตอนนี้เรามาอยู่ที่อะไรครับ
นี่ (ณฐินี) สี่แยกบายพาส
แต่ว่าคนที่นี่เขาเรียกกันว่า สี่แยกชิบูยะ (ฟูจิ) สี่แยกชิบูยะ (ณฐินี) คนนราธิวาส
จะออกมาเที่ยวกันช่วงกลางคืน ครับ
ดียังมีมอเตอร์ไซค์มาเต็มเลย เต็มเลยค่ะ
แล้วก็ออกมานั่งทานชากาแฟกัน (ผู้ชายเสื้อแดง) ปกติผมเป็นคนปัตตานี ก็มาได้แฟนที่นี่
แต่พอผมนั่งอยู่ที่นี่มันแฮปปีมีความสุข เพราะในเมืองมีทะเล แล้วก็สโลว์ไลฟ์ (ฟูจิ) สโลว์ไลฟ์ด้วย (ผู้ชายเสื้อแดง) สโลว์ไลฟ์มันรถไม่ติด
มันสบายมากครับ
(บรรยาย) ต้องไปสัมผัสด้วยตาตัวเองนะคะ นราธิวาสรอทุกคนอยู่ค่ะ
หลังจากพักผ่อนอย่างมีความสุข จากประสบการณ์วันแรกแล้ว วันที่ 2 ของทริปนราธิวาส เราจะได้เห็นกันชัด ๆ ว่า งานผ้าบาติกของที่นี่ได้รับคัดเลือก ให้เป็นสินค้าส่งออกไปถึงญี่ปุ่นได้อย่างไร ตามฟูจิเซ็นเซไปต่อค่ะ
(ฟูจิ) วันนี้เป็นวันที่ 2 มาดูที่ เดอ นารา นี้เขามีกระบวนการอย่างไร ต้องดูให้ครบทุกกระบวนการเลย แล้วพี่อยู่ที่ไหนนี่ นี่ ไป ๆ สวัสดีครับ
(รอวียะ) สวัสดีค่ะ
เป็นอย่างไรคะ หลับสบายไหมคะเมื่อคืนนี้ สบายดีมากครับ
– คืนแรกที่จังหวัดนราธิวาส
– ใช่ครับ
ได้ข่าวว่าไปทานอาหารท้องถิ่นด้วย โรตีใช่ไหมคะ ใช่ครับ
แล้วก็ไปชิบูยะนราธิวาสด้วย มีชิบูยะนราธิวาสด้วย (ฟูจิ) ทุกท่านกำลังทำอะไรกันอยู่ครับ
(รอวียะ) ตอนนี้กำลังลงสีค่ะ
กำลังลงสีผ้า (ฟูจิ) อันนี้คืออะไรครับ
(รอวียะ) อันนี้คือปากกา
ที่ใช้ในการเขียนลายบาติก – เราเรียกว่าชานติ้ง
– ชานติ้ง (รอวียะ) ชานติ้งนี่ก็จะเป็นอุปกรณ์
ที่มีรูอยู่ข้างบนหัว แล้วเราก็จะตักน้ำเทียนที่ร้อน ๆ นะคะ อย่าลากเร็วเส้นจะบางนะคะ นี่ลากเร็วเส้นบางอีก เส้นจะบางแล้วเทียนก็จะทะลุ สีจะทะลุ ต้องลากแบบช้า ๆ ค่ะ
สนุกไหมคะ (ฟูจิ) ตื่นเต้นครับ
เพราะว่า ลองคิดดูว่า
ถ้าเราเขียนบนผ้าไหม เขียนครั้งเดียวพลาดไม่ได้ (รอวียะ) คลื่นหรือไส้เดือนคะ

[หัวเราะ]

(ฟูจิ)

[หัวเราะ]

เริ่มกลม (รอวียะ) คลื่นแถวบ้านไม่ค่อยจะแรงใช่ไหมคะ เวลาเขียนต้องกลั้นใจไหมคะ
ถ้าไม่กลั้นใจเส้นมันจะขยุกขยิก

[หัวเราะ]

(รอวียะ) เดี๋ยวเป็นลมนะ กลั้นมาก ๆ เห็นไหมพอกลั้นแล้ว เส้นมันอาจจะสวย (ฟูจิ) ไม่สวยเลย มันเป็นโค้ง ๆ

[หัวเราะ]

(ฟูจิ) แสดงว่าเขียนอย่างไร จะเขียนเก่งอย่างไร – ล้างไม่เก่ง ล้างไม่ดี ก็มีปัญหา
– ใช่ [อุทาน]

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) มาถึงก็อยากลองเลยนะคะ ฟูจิเซ็นเซ พี่รอวียะก็ใจดี ให้ได้ลองหลายอย่าง ที่มั่นใจว่า จะไม่ทำให้งานเสียหายค่ะ
ต้องเท้าความกันนิดหนึ่งนะคะว่า… ในตอนนี้มีลูกค้าชาวญี่ปุ่น ที่มาดูงานผ้าบาติกของพี่รอวียะ ในนามของ ร้านบาติก เดอนารา แล้วเกิดถูกใจมาก จนมีการสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นชุดกิโมโน ออกแสดงที่แกลเลอรีในโตเกียวค่ะ
ซึ่งก็มีการร่วมงานกันมาสักระยะหนึ่งแล้ว การทำงานกับคนญี่ปุ่นยากง่ายอย่างไร พี่รอวียะจะเล่าให้เราฟังค่ะ
(รอวียะ) กิโมโนที่เราได้รับออร์เดอร์
จากญี่ปุ่นนะคะ (ฟูจิ) จากญี่ปุ่นมาอยู่ที่นราธิวาส (รอวียะ) อันนี้ก็ลักษณะ
แพตเทิร์นของญี่ปุ่นนะคะ คือเป็นลักษณะลายร่อง
แต่กิโมโนของญี่ปุ่นนี่จะยาวมากนะคะ คือหนึ่งตัวเสื้อใช้ผ้าประมาณ 13 – 14 เมตร คืออันนี้มันเป็นงาน
เขาเรียกว่าเป็นงานฝีมือของแถบนี้ค่ะ
คือ งานบาติก งานบาติกก็จะมีในแถบเอเชียใต้นะคะ ก็คือ
เนื่องจากนราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีรอยต่อเชื่อมกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งทางโน้นเขาก็ทำบาติก (บรรยาย)
ถ้ามีคุณผู้ชมที่ทำงานฝีมืออยู่ และอยากจะรู้ว่า ทำอย่างไร ถึงจะขายงานให้คนญี่ปุ่นได้ ต้องตั้งใจดูสิ่งที่พี่รอวียะเล่าให้ฟังดี ๆ นะคะ เพราะงานบาติกของที่นี่ ที่พัฒนาร่วมกับคนญี่ปุ่น ไปได้ไกลถึงโตเกียว และได้ไปจัดแสดงในย่านกินซ่า ซึ่งถือว่าเป็นย่านหรูของโตเกียวมาแล้วค่ะ
(รอวียะ) คนที่ทำงานที่นี่ก็เป็นชาวบ้านค่ะ

(ฟูจิ) ครับ
ที่อยู่ในบริเวณรอบ ๆ จังหวัดนราธิวาส คือจริง ๆ แล้ว เขาต้องชอบทำงานแบบนี้ด้วย คนเหล่านี้เขาจะชอบทำงานเงียบ ๆ ทำงานศิลปะอะไรอย่างนี้ค่ะ
พอเขามาสมัครมาทำงาน แรก ๆ เราก็ให้เขาลองลงสีก่อน เพราะพื้นฐานคือ ให้เขาลองลงสีก่อนว่าเขานี่ (ฟูจิ) ทำได้ไหม
(รอวียะ) ทำได้ไหม ก็คืออาจจะมีคนช่วยสอนเขา จับพู่กันอย่างไร ลงสีอย่างไรก็ลงไป แล้วก็พอเราเห็นว่าคนนี้เขาหน่วยก้านดีนะ ลงสีนี่ดูท่าทางจะพัฒนาต่อได้ นอกจากลงสีก็ลองให้เขาหัดเขียนภาพ (บรรยาย) คนทำงานมีฝีมือ ก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง
แต่ว่าการออกแบบ ก็สำคัญไม่แพ้กันนะคะ (ฟูจิ) ที่นี่มีอะไรที่แตกต่างจากที่อื่น ที่คนอื่นเขาไม่มีบ้างไหมครับ
ก็นอกจากว่าเราเป็นงานวาดมือ ที่เรามีความชำนาญสูง เรายังมีสีที่แตกต่าง เพราะว่าปกติบาติกที่เราเห็นทั่ว ๆ ไป เราจะเห็นสีสันสดใสใช่ไหมคะ บาติกของเราสีจะค่อนข้างแบบเบรก เป็นสีเอิร์ทโทน สีพาสเทลบ้าง หรือว่าสีที่เป็นไปตามสมัยนิยม อยากทราบว่าการที่จะเป็น 5 ดาว ต้องมีอะไรบ้าง เราก็ต้องพัฒนา พัฒนาคุณภาพของงาน อย่างงานบาติก
เราก็ทำงานให้มันดูมีเส้นที่สวยนะคะ มีความเนี้ยบ แล้วก็มีการออกแบบที่เข้ากับ
แต่ละผลิตภัณฑ์ หรือว่าตามความต้องการของลูกค้า คือเราก็ต้องเรียนรู้ว่า
ลูกค้าของเรามีความต้องการอะไร เขาชอบอะไร เขานิยมอะไร อะไรแบบนี้ค่ะ
(บรรยาย)
ถ้าจะเรียกว่า
ทุกท่านที่ทำงานกับพี่รอวียะ คือศิลปินก็ไม่ผิดนะคะ ทุกคนทำงานแบบใช้ใจ ใช้ความชำนาญมาก ๆ ค่ะ
ทักษะเหล่านี้นั่นเองค่ะ
ที่ทำให้เกิดงานดี ๆ จนไปไกลได้ถึงญี่ปุ่นกันเลย

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) นี่คือกำลังเขียนกันจริง ๆ เลย (รอวียะ) ค่ะ
เมื่อสักครู่ ที่คุณฟูจิดูผ้าที่เขาลงสี ตอนนี้คือมาดูว่า
ผ้าที่ลงสีตอนนั้นเขียนอย่างไร นี่เขียนลายคลื่นแบบญี่ปุ่นนะคะ (ฟูจิ) นี่เขียนโดยไม่ต้องมีอะไรเลย (รอวียะ) นี่เห็นไหมคะ เขาจำแพตเทิร์นได้แล้ว อยู่ในสมองเขาเลยค่ะ
(ฟูจิ) สุดยอด (รอวียะ) นี่ก็เป็นคลื่นญี่ปุ่น แล้วนี่ก็เป็นลายพิมพ์ของนกชิโดริญี่ปุ่น คือ พอเราทำงานกับญี่ปุ่น เราก็เหมือนได้รู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ดังนั้น ความเชื่อของคนญี่ปุ่นว่า นกชิโดริ เป็นนกที่เป็นมงคลใช่ไหมคะ เป็นนกที่มีความแข็งแกร่งอะไรอย่างนี้ สู้ภัยลมหนาว แล้วเขาก็เลยพยายามเอาความเชื่อ
ใส่ลงไปในผ้าด้วย นี่คือของคนญี่ปุ่น (บรรยาย) แล้วเพราะอะไร
คนญี่ปุ่นถึงมาเห็นงานของเดอ นาราได้คะ นี่คือจุดสำคัญของการพัฒนางานเลยนะคะ (รอวียะ) เราก็มีโอกาสได้ทำผ้าพันคอ ที่เป็นผ้าบาติกวาดมือค่ะ
ไปออกงานไทยพาวิลเลี่ยนในปี 2015 เป็นศาลาไทย ที่ไปอยู่ในงานโตเกียวกิฟต์โชว์ แล้วที่พาวิลเลียนของเรา ก็จะมีคนญี่ปุ่นที่มาเดินในงาน หรือแวะเข้ามาดูสินค้าหลาย ๆ อย่างค่ะ
แล้วตัวเองก็มีโอกาสเจอกับลูกค้าของเรา ซึ่งเขาก็มาดูงานไทย ตอนนั้นเขามาดูย่านลิเภา เขาก็มาเห็นว่า เราก็มีผ้าบาติก เขาก็เลยชมว่าเขียนผ้าบาติกสวยนะ อยากจะให้เขียนผ้าบาติกบ้าง
แต่ว่าเขาบอกว่าเขาไม่ใช้ผ้าพันคอ เขาอยากจะให้เราเอาผ้าบาติก
ไปเขียนบนผ้ากิโมโน (บรรยาย) จากจุดเริ่มต้นที่มีคนญี่ปุ่นสนใจ อยากให้ทำผ้าบาติกเป็นผ้าสำหรับชุดกิโมโน อุปสรรคก็เกิดมาหลายอย่างค่ะ
เช่น ความยาวของผ้า ลักษณะเนื้อผ้าไหมญี่ปุ่น ที่มีความยืดหยุ่น พริ้วไหว
มากกว่าผ้าไหมไทย (รอวียะ) พอเราคุยว่าเขาอยากจะทำผ้ากิโมโน
แล้วมันเป็นผ้าไหม เราก็เตรียมเลยว่า
เราจะเอาอะไรไปให้เขาดูบ้าง ก็เตรียมผ้าไหมไทย ก็ไปสั่งผ้าไหมไทยจากโคราช ซึ่งเป็นผ้าไหมที่มีคุณภาพดีที่สุดเลย (ฟูจิ) แสดงว่าเราก็ลงทุนเหมือนกัน เราคิดทำการบ้านอยู่เหมือนกัน ใช่ เราก็ทำลวดลายตัวอย่างให้เขาดู เสร็จเราก็เอาไปให้เขาดู ปรากฏว่าพอเราเอาไปให้เขาดู เขาก็เอาผ้าม้วนกิโมโนมา 2 ม้วน ครั้งแรกเลย
พอเราจับผ้าไหมญี่ปุ่นที่เขาเอามา เราก็บอกว่าผ้าพริ้วนะคะ
แต่เราไม่แน่ใจนะว่าจะดูดซับสีไหม เพราะเราไม่เคยใช้ เราก็เลยบอกเขาว่า
โอ้โฮ ผ้านี่แพงมากนะคะ หลาหนึ่งก็เกือบพันเลยอะไรอย่างนี้ค่ะ
เขาก็หัวเราะ เขาก็บอกว่าใช่แพงมาก เราก็บอกว่ากลัวที่จะทำ ขอบคุณมากที่ให้โอกาสเราทำ เขาบอกว่าไม่เป็นไร พอเราบอกว่าเรากลัวที่จะทำ เขาบอกไม่เป็นไร
อันนี้เป็นผ้าที่มีตำหนิแล้ว เขาอยากจะให้เรามาลอง

[เสียงดนตรี]

เรื่องลายครับ
มันมาอย่างนี้เขาสั่งมาอย่างไร คือลายที่ทำกิโมโน ที่ทำกับดีไซเนอร์ของญี่ปุ่น ก็ส่วนหนึ่งก็เป็นลายที่เรามีอยู่แล้ว เขาก็จะมีลุกบุ๊ก เป็นโบรชัวร์ของเรา ที่เขาเห็นว่าเรา
ทำงานแบบไหนบ้างที่ถนัด อะไรอย่างนี้ เขาก็จะเลือกลายนั้นมาให้เราทำส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเขาอาจจะเอางานของเขา มาผสมผสานกับงานที่เราถนัด หรือว่าบางส่วนก็จะเป็นงานที่ทำขึ้นมาใหม่เลย คือ เขาออกแบบลายมาให้เรา
ทำแม่พิมพ์ใหม่เลย (บรรยาย) เมื่อได้ลายตามที่ทางญี่ปุ่นต้องการแล้ว รายละเอียดอื่น ๆ ก็ตามมาอีกมากมายค่ะ
ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด ที่ทุกคนในกระบวนการผลิตจะต้องเรียนรู้ แล้วก็ทดลองกันใหม่ค่ะ
เช่น เรื่องการใช้สี การลงลาย และจะต้องส่งไปให้ทางญี่ปุ่น
ตรวจทุกกระบวนการ ก่อนลงมือทำจริง ๆ ซึ่งแม้จะไม่ใช่งานง่าย

แต่…

ถ้าใจสู้แล้ว ก็มีทางเป็นไปได้ค่ะ
(รอวียะ) เคยถามเขาว่า คนญี่ปุ่นรู้สึกอย่างไรบ้างคะ
กับผ้าบาติกที่เราทำไป เขาบอกว่า
คนญี่ปุ่นรู้สึกมีชีวิตชีวา รู้สึกตื่นเต้น ที่จะได้เห็นงานแบบใหม่บนผ้ากิโมโน และเราก็เลยถามว่าทำไมเขาถึงชอบ เขาบอกว่าเขารู้สึกว่า ผ้าของเรามันร่วมสมัย คือใช้ได้ทุกสมัย คือมันไม่เชยค่ะ
(บรรยาย) อยากเห็นไหมคะว่า บาติกเมื่อนำไปทำเป็นผ้าสำหรับกิโมโน
จะสวยขนาดไหน ผ้าผืนที่ฟูจิเซ็นเซกำลังดู แม้จะไม่ใช่ผืนจริง คือเนื้อผ้าไม่เหมือนผ้าไหมญี่ปุ่นเสียทีเดียว
แต่ก็คล้ายมากแล้ว สวยไหมคะ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) ผมไม่ค่อยได้ใส่กิโมโน ไม่ค่อยได้รู้สึกถึงกิโมโน เห็นแล้วอยากใช้เลยครับ
(รอวียะ) ต้นแบบนี้เราก็ใช้ผ้าไหมธรรมดา
ที่เรามีอยู่นะคะ
แต่ว่าผ้าจริงของเขา ก็คือเป็นผ้าที่มีเทกซ์เจอร์ค่ะ
จะมีแบบนี้ค่ะ
(ฟูจิ) มันนุ่ม มันมีเม็ด ๆ มีลาย (รอวียะ) มีเม็ด ๆ ค่ะ
บางทีคือผ้าญี่ปุ่น เขาจะเป็นผ้าที่แบบมีเทกซ์เจอร์พิเศษ แล้ว
แต่ละชิ้น
เขาจะใช้ฤดูกาลที่แตกต่างกัน คือเราก็ได้เรียนรู้ตรงนั้นด้วยว่า การทำผ้ากิโมโน อันนี้เป็นกิโมโนฤดูร้อน ฤดูหนาว ความหนาบางของผ้าก็แตกต่าง แล้วก็ลวดลายก็แตกต่างกันอีก
ถ้าเป็นฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อนก็จะลายแบบหนึ่ง คนญี่ปุ่นมีความละเอียดมาก – ในการคิดถึงที่จะใส่เสื้อผ้า
– ใส่ใจเลยนะ (บรรยาย) แน่นอนค่ะ
ว่า
การทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่น จะต้องให้มุมมองอะไรที่แปลกใหม่
กับพี่รอวียะแน่ ๆ แล้วอะไร คือสิ่งที่พี่รอวียะได้เรียนรู้บ้างคะ งานของญี่ปุ่นที่เขาออร์เดอร์มา
มันละเอียดมากไหมครับ
ก็จริง ๆ แล้วงานที่ทำกับญี่ปุ่น
ดูเหมือนง่ายนะ คือ
ถ้าคนที่ทำบาติก พอเห็นงานบาติก
ที่ญี่ปุ่นออกแบบมา ก็รู้สึกว่ามันก็ไม่ยาก งานธรรมดาดูง่าย ๆ เรียบ ๆ
แต่ในความง่ายของญี่ปุ่นมันมีรายละเอียดอยู่ คือเขาจะมองไป 360 องศาเลยค่ะ
เขาจะมีข้อระวัง
ให้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างเช่นว่า คุณทำผ้าออกมาสวย แล้วคุณใส่ในแพ็กเกจจิงที่มันคม มันอาจจะไปทำให้เนื้อผ้าของเขา
เป็นขุยขึ้นมาได้ อะไรอย่างนี้ค่ะ
ก็คือนอกจากว่าความละเอียดของงานแล้ว ยังมีความละเอียดในการจัดเก็บอะไรอย่างนี้ค่ะ
การส่งมอบอะไรอย่างนี้ค่ะ
(บรรยาย) และแม้การทำงาน
จะต้องปรับตัวมากมาย ทำความเข้าใจในขั้นตอนแบบคนญี่ปุ่น
อีกนับไม่ถ้วน
แต่ทุกอย่างคือการเรียนรู้ และเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น การพูดคุยทำความเข้าใจกัน หาจุดที่ต้องแก้ไขให้พบ นั่นคือทางออกค่ะ
และคนญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะเข้าใจ แล้วก็ปรับตัวไปด้วยกันด้วยค่ะ
(รอวียะ) พอวันที่จะลงงานจริง ๆ เขาก็จะเครียดมาก คือจะแบบว่า (พนักงาน) เครียด (ฟูจิ) อย่างไรครับ
เล่าให้ฟังหน่อย (รอวียะ) เล่า ๆ (พนักงาน) พอของจริง ๆ ของญี่ปุ่นใช่ไหม ใจสั่นนะ (ฟูจิ) หรือ ใจสั่นเลย (รอวียะ) เขากลัว (พนักงาน) กลัวว่าจะผิดตรงนั้น จะผิดตรงนี้ (ฟูจิ) แล้วงานไทยไม่สั่น
แต่งานญี่ปุ่นใจสั่น (พนักงาน) ใช่ค่ะ
(ฟูจิ) เพราะว่า (รอวียะ) มีผืนเดียว (พนักงาน) เพราะมีผืนเดียวค่ะ
ที่เขาส่งมา (รอวียะ) คือจะบอกเขาว่า
เวลาทำงานออร์เดอร์ญี่ปุ่นต้องมีสติ คือ ต้องครองสติไว้ อย่าทำงานแบบเรื่อยเปื่อย เผลอ ๆ อะไรอย่างนี้ค่ะ

ถ้าวันที่ลงงานจริง ก็ต้องเชิญมานั่งเป็นมอนิเตอร์ค่ะ
(ฟูจิ) ก็คือต้องมานั่งดู คอยดู สังเกตเลย (รอวียะ) ใช่ ก็ต้องมาดู คือพอเขาจะลงปุ๊บ โอเคได้แล้ว ลงเลย เริ่มลงเลย (ฟูจิ) คอยดูเลย (รอวียะ) จะต้องมีการตัดสินใจ ต้องมีคนที่มาช่วย คือ
ถ้าเราไม่มา เขาจะแบบไม่อยากจะทำ เขาจะรู้สึกว่าไม่กล้าทำ ให้พี่มาดีกว่า อะไรอย่างนี้ค่ะ
(บรรยาย) ที่สำคัญที่ทำให้ทางกลุ่มเดอ นารา
ภูมิใจมากก็คือ ลูกค้าญี่ปุ่นอยากให้ทำโลโก้เดอ นารา
ประทับลงบนผ้าด้วย เพื่อให้คนที่เห็นรู้ว่าผ้าผลิตมาจากที่ไหน ถือเป็นการให้เกียรติกันมากเลยนะคะ (รอวียะ) ญี่ปุ่นเขาจะอดทนกับเรานะ ในการที่ให้เราพัฒนาตัวเอง พัฒนาฝีมือ
แต่ตัวเราต่างหาก
ที่จะไม่อดทน ส่วนใหญ่พวกเราชอบทำงานง่าย
เพราะฉะนั้นอะไรที่มันยาก ๆ ยุ่งยาก เราไม่ค่อยจะมีความอดทนในการทำเท่าไร
แต่พอเรามีตรงนั้น เราก็จะได้ความไว้เนื้อเชื่อใจจากเขา และทำให้เราก็มีโอกาสได้ทำงานดี ๆ
อะไรอย่างนี้ค่ะ
มีงานที่ดีมีคุณภาพ แล้วก็ได้มูลค่าที่คู่ควรกับงานอะไรอย่างนี้ค่ะ
(บรรยาย) จริง ๆ เราอยากจะใช้คำว่า ทั้งสองฝ่าย ทั้งไทยและญี่ปุ่น ต่างต้องปรับตัวเข้าหากัน ในการทำงานใหม่ ๆ นะคะ เพราะการที่คนญี่ปุ่นเลือกงานของไทยเรา ก็เพราะเห็นจุดเด่นที่งานฝีมือในญี่ปุ่นไม่มี ฝั่งไทยเราก็ต้องปรับตัว ในการทำงานร่วมกับคนต่างวัฒนธรรม จนเกิดชิ้นงานที่สวยงามขึ้นมาได้นะคะ ตอนหน้าเราจะเดินทางตามไปถึงญี่ปุ่นค่ะ
เพื่อจะดูว่าผ้าบาติกของไทย ไปไกลถึงขั้นอวดสายตาชาวญี่ปุ่น
ในแกลเลอรีแล้ว จะสวยงามอลังการขนาดไหน ติดตามกันให้ได้นะคะ พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ
(ฟูจิ) เธอบอกว่า
จิตวิญญาณของคนไทยกับคนญี่ปุ่น มีความคล้ายเยอะมาก รู้สึกถึงความละเอียดอ่อน รู้สึกถึงความใส่ใจ รู้สึกถึงการนอบน้อม อะไรต่าง ๆ มีจิตวิญญาณที่คล้ายกัน มันออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ออกมา ซึ่งคนญี่ปุ่นชอบมาก

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *