ขายดีได้ใจ ตลาดนัดเกษตรใจกลางเมืองญี่ปุ่น

1081 0

(บรรยายหญิง) ตลาดอะไรบ้าง
ที่เราไปพบกับผู้ผลิตโดยตรง (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) โอ้โฮ
นี่ก็คือ มิโซะ ที่เราเคยไปถ่ายกัน มิโซะที่เป็นธรรมชาติเลย หากินได้ยาก เขาบอกอย่างนี้ (บรรยาย) ไปห้างคงไม่ได้เจอ เห็นว่าผมเป็นผู้ชาย เขาก็เลยให้เจลลีกระเทียมดำ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) เข้าร้านสะดวกซื้อคงไม่ได้เห็น (ภาษาญี่ปุ่น) เอามาให้เลย เราถ่ายรายการอยู่ เอามาให้เราเลย รู้สึกเกรงใจจังเลย น่ารักจังเลย

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตามฟูจิเซ็นเซไปเดินตลาดนัดเกษตรกร กลางเมืองโตเกียวกันค่ะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ดูให้รู้ทำเรื่องตลาดในญี่ปุ่น
มาแล้วหลายแบบ ตลาดสดกับเชฟบุ๊ค (บุ๊ค) นี่
ถ้าผมต้องเลือก ผมต้องเลือกวัตถุดิบ ที่ผมจะใช้ทำอาหารเลยใช่ไหม (ฟูจิ) โอ้โฮ
(บุ๊ค) คือหน้าตาเหมือนหอยแมลงภู่นะ
แต่มันใหญ่มากเลย (ฟูจิ) ที่นี่เขาบอกว่า
มีคอนเซปต์ (Concept) ที่ว่า… จะขายของชิ้นใหญ่ ๆ ชิ้นโต ๆ และอยู่ในราคาที่ถูก (บุ๊ค) แค่วิธีการประกาศยังเห็นได้เลยว่า เขาเน้นคำให้ฟังชัด ๆ
แต่เวลาอยู่บ้านเราบางที… ขอให้คนนี้… ฟังไม่รู้เรื่องเลย พูดอะไรก็ไม่รู้ (บุ๊ค) เดี๋ยว ๆ นี่ 19 บาท เองหรือ โอ้โฮ สวยมาก คือเมืองไทยจะไม่สวยอย่างนี้เลย ไม่ต้องไปหมัก ๆ เนื้อแบบนี้คุณผู้ชม ผมคิดเมนูออกแล้ว ผมตั้งใจจะทำเป็นผัดซีอิ๊วเนื้อวากิว

[เสียงอุทาน]

[เสียงดนตรี) (บรรยาย) ตลาดนัดที่มีกลยุทธ์ ทำอย่างไรให้ขายดีขึ้นมาได้ ในภาวะที่ตลาดเคยซบเซามาก่อน (ฟูจิ) ตอนนั้นประธานสมาคมย่านการค้า ไปบอกว่า ช่วยลดราคาให้หน่อย
ถ้าไม่ลดราคา เดี๋ยวคนจะไม่มาแล้วนะ เพราะคนใหม่อยากจะมาเช่า ก็เช่าไม่ได้ เพราะราคาแพง (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ของฝากและของประจำเมืองโอตสึ อยู่ในร้านนี้ครับ
ก่อนหน้านี้ที่โอตสึ ที่นี่นะครับ
ไม่มีของประจำเมือง ไม่มีของประจำตำบล
ดังนั้นท่านบอกว่า…
ถ้ามาที่นี่ต้องมีของประจำตำบล ประจำเมือง คนนี้เป็นคนคิดครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตลาดนิชิกิที่ได้รับฉายาว่า… เป็นครัวของเกียวโต เพราะเป็นแหล่งรวมอาหารหลากหลาย มาตั้งแต่ประมาณ 400 ปีก่อน จนเมื่อปี ค.ศ. 2006 ได้รับคัดเลือก ให้เป็นตลาดที่กำลังพัฒนา โดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้า
และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งมีร้านในตำนานมากมายที่นี่ค่ะ
(ฟูจิ) ว้าว นี่ร้านแรกนะนี่ ผมอยากกินมากเลย (ภาษาญี่ปุ่น) ข้างนอกนี่นะครับ
อุณหภูมิ 2 องศา เราเดินในนี้ไม่หนาวเลย
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีคือกันลมและกันฝน ร้านเต้าหู้เป็นร้านแบบไหน บอกว่า ท่านเปิดร้านแบบนี้มา 26 ปี เหมือนปาท่องโก๋

แต่ว่าเป็นเต้าหู้มันถึงอร่อยกว่า อุไม อร่อยมากเลย เต้าหู้ที่ร้อน ๆ ครับ
โอยาโกะ ลองดูว่าเป็นอย่างไร – อุไม
– โออิชิ (แปลว่า อร่อย)

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตลาดของทาสแมว เราก็เคยไปมา [เลียนเสียงแมวร้อง] คนญี่ปุ่นเวลาเรียกแมว
สำเนียงแมว เมียว… ก็คือ ยานากะกินซ่า ภาษาไทยนี่อะไรครับ
ก็คือ… เมืองแห่งแมวครับ
เป็นร้านเล็ก ๆ นิดเดียวเองครับ

เล็กจริง ๆ นะครับ
นี่ก็แมวอีกหรือ แมวหมดเลย เมื่อสมัยก่อนตรงนี้นะ เมืองนี้จะมีแมวเยอะมากเลยครับ
ไหน ๆ เป็นแมวแล้ว ก็มีแมสคอต (Mascot) ที่เป็นแมวเลย จะได้เป็นตัวแทนของเมืองครับ
(บรรยาย) แล้วตลาดปลาในตำนานอย่างสึกิจิ เราจะไม่เคยไปได้อย่างไรล่ะคะ (ภาษาญี่ปุ่น) คิวที่เหลืออยู่ไหนรู้เปล่า คิวที่เหลือ… อยู่ด้านนู้นครับ
ไม่ใช่ตรงนี้นะ ในปลามากูโระในหนึ่งตัว
ท่านเคยประมูลได้เท่าไรครับ
ท่านก็บอกว่า อยู่ในราคาเท่ากับรถยนต์หนึ่งคันเลย ตอนที่ไปประมูลแล้ว
จินตนาการว่าปลาที่ประมูลมา เอามาแล่ออกมาแล้ว ผ่าออกมาแล้ว เห็นเนื้อปลาตามที่จินตนาการไว้เลย และมีเนื้อที่สุดยอด เมื่อเอาปลาให้กับคนมาซื้อ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) วันนี้มีอีกตลาดนัดอีกแบบมานำเสนอค่ะ
วิธีที่จะทำให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นกินอย่างไร ก็ต้องไปตลาดนี่แหละค่ะ
ตามฟูจิเซ็นเซไปชิบูยะกันค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) ปัจจุบันนี้เราอยู่ในเมืองชิบูยะ ในเมืองเลยนะ และในเมืองมีตลาด คุณผู้ชมลองจินตนาการดูครับ
ว่า… เกษตรกรมาจากต่างที่ต่างถิ่นกัน มารวมตัวในเมือง แล้วก็มาขายของกันเองเลย และลองสังเกตดูครับ
ว่า…
แต่ละคน ๆ เขาคือเกษตรกรเลยนะ ก็มีการขายของ ขายผัก ขายปลาธรรมดา
แต่จริง ๆ แล้ว
เป็นเกษตรกรมาขายกันโดยตรงเลย และวิธีการขายก็คือ… ให้คนในเมืองมาซื้อกันและมาคุยกัน สร้างความผูกพันกัน ระหว่างเกษตรกรกับคนในเมือง ระบบนี้เป็นระบบที่ได้เห็นเลยว่า อันนี้มันดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร ไปดูให้รู้กันว่า เรื่องราวเป็นอย่างไรครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ฟูจิเซ็นเซอธิบายใหญ่เลยนะคะ เพราะโดยส่วนตัวแล้ว พิธีกรของเราเป็นคนรักสุขภาพมากค่ะ

ดังนั้นตลาดแบบนี้ถูกใจมาก ๆ แน่ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่คืออะไรรู้เปล่า การตลาดเลยนะ
ถ้าให้แล้ว เราปฏิเสธไม่ได้ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) โอ้ นี่ก็คือมิโซะที่เราเคยไปถ่ายกัน มิโซะที่เป็นธรรมชาติเลย หากินได้ยาก เขาบอกอย่างนี้ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ถามเขานะว่ามาจากไหน มาจากนางาโนะ ขึ้นรถมาประมาณสามชั่วโมง เพื่อมาที่นี่ เพื่อขายวันเสาร์-อาทิตย์ แล้วถามว่าขายดีไหม บอกว่าขายดี เพราะอะไร ทำเอง แล้วก็สร้างแบรนด์เอง และก็สร้างการตลาดเอง อย่างนี้แหละถึงจะขายดี

[เสียงดนตรี]

อุไม

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) นี่แหละค่ะ

คือเคล็ดลับหนึ่งของเกษตรกรญี่ปุ่น คือปลูกเอง แปรรูปเอง และจำหน่ายเอง ทำเป็นแบรนด์สินค้าจริงจังเลย และปัจจัยต่อไปที่ทำให้เกษตรกรญี่ปุ่น ที่แปรรูปผลิตผลตนเองอยู่ได้ ก็ด้วยการมีตลาดแบบนี้ขึ้นมา เป็นช่องทางการขายอีกช่องทางหนึ่งค่ะ
การรวบรวมการตลาด เอาชาวนา ชาวไร่จากต่างจังหวัดมาอยู่ในเมือง มารวบรวมกันขายของกันในเมืองแบบนี้ ดูสิ แล้วคนที่มาเข้าคิวคือมาทำอะไรรู้ไหม มาจ่ายเงินค่าเต็นท์ และสร้างความขอบคุณให้กับชาวไร่ ชาวนา เพราะชาวไร่ ชาวนา
ไม่สามารถมาเปิดร้านเองได้
ถ้าไม่มีคุณซากาโมโต จะเปิดร้านไม่ได้ เมื่อเปิดร้านไม่ได้ เขาก็จะขายไม่ได้ เมื่อช่วยแล้ว ตัวเองก็จะมีการขอบคุณ ได้รับการขอบคุณ ได้รับการยอมรับ เข้าคิวกันจ่ายกันอยู่เลยนี่ นี่คือการจ่ายตังค์
ของชาวนา ชาวไร่กันทุกคนเลยนะ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) เขาเรียกว่าตลาดที่ทำให้ผู้ผลิตตัวจริง กับผู้บริโภคมาเจอกัน ซึ่งตลาดแห่งนี้ เปิดมา 11 ปีแล้วค่ะ
คือแถว ๆ ช่วงที่ญี่ปุ่นเกิดเหตุสึนามิ ซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบไปด้วย การมีตลาดแบบนี้
จึงช่วยทั้งคนซื้อ คนขายค่ะ
จากตอนแรกมีเกษตรกรมาออกร้าน 20 ร้าน ตอนนี้มีถึง 90 ร้าน แล้วนะคะ โดยเปิดในช่วงสุดสัปดาห์ และตลาดเกษตรกรแบบนี้ในญี่ปุ่น ก็จัดขึ้นในหลาย ๆ เมือง เช่น ฟูกูโอกะ โอซากะ นาโงยะ หรือโยโกฮามะ ซึ่งเบื้องหลังของการทำตลาดแบบนี้ ก็มาจากปัญหาหนึ่งที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญ นั่นก็คือผลิตอาหารภายในประเทศ
ได้ไม่เพียงพอค่ะ
คือนำเข้ามาก การมีตลาดแบบนี้ ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอาหาร มีกำลังใจ มีช่องทางการขายสินค้า ซึ่งก็น่าจะส่งผล ให้เพิ่มผลผลิตของตัวเองได้ด้วยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) ที่นี่เปิดมานานหรือยัง เขาบอกว่า เปิดมา 11 ปีแล้ว ก็ถามว่ามีใครบ้างมาออกร้าน ท่านก็บอกนะครับ
ว่า ใครก็ได้ที่อยากจะสร้างแบรนด์ตัวเอง อยากจะมาขายเอง ผมก็ถามว่า
คนที่อยู่ที่ฮอกไกโดหรือโอกินาวะมาถึงนี่ ค่าเครื่องบิน ค่าเดินทาง มันไม่ลำบากหรือ ท่านก็บอกว่าแล้ว
แต่คน เพราะบางคนต้องการสร้างแบรนด์ ต้องการขายสินค้าตัวเองให้เป็นที่รู้จัก ก็มาเปิดที่นี่ ก็ได้เหมือนกัน ไม่มีวันหยุดเลย ไม่ว่าจะฝนตก แดดออก หิมะตก
แต่ก็ยังขายอยู่ไม่มีการปิด

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย)
แต่ตลาดนี้
ก็ไม่ได้มีแค่เกษตรกรมาเปิดร้านนะคะ คนกลุ่มไหนที่จะมาค้าขายที่นี่ได้ด้วย มาฟังกันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่ก็คือ Farmer's Market ก็คือตลาดชาวนานั่นเอง
เพราะฉะนั้นจะมีเกี่ยวกับ
สินค้าการเกษตรของชาวนา จะให้เข้ามาก่อน ประมาณ 50% และต่อไปก็จะมีของแปรรูป ของกิน สมัยก่อนต้องออกไปขาย คือร้านที่จะจัดที่นี่ ออกไปเชิญชาวนา ชาวไร่มาเปิด
แต่ปัจจุบันนี้อยู่เฉย ๆ ชาวนา ชาวไร่ ก็จะมาขอออกร้าน ออกบูทที่นี่ครับ
เรามาถามราคากันดีกว่า (ภาษาญี่ปุ่น) อยู่ในราคาเท่าไร ก็คือ… ในหนึ่งเต็นท์
ถ้าเป็นชาวนานะครับ
อยู่ในราคา 8,000 – 13,500 เยน อาหารแปรรูปจะแพงหน่อย
ถ้าเป็นขายของโดยตรงจะถูกหน่อยครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) หลักการก็คือ… เลือกเกษตรกรที่ปลูกพืช ผัก ผลไม้ตามฤดูกาล มีสิทธิ์ให้มาขายก่อน เพราะจะได้สินค้าที่สดใหม่ และช่วยให้เกษตรกรระบายพืชผลได้ด้วยค่ะ
ร้านนี้เป็นร้านที่เรากำลังจะขอสัมภาษณ์ ดูสิครับ
ว่า… เขามีความผูกพันระหว่างชาวบ้านกับคนในเมือง และก็คนขายเป็นชาวนากับคนในเมือง ซึ่งธรรมดาไม่มีโอกาสได้เจอกัน คุยกันไม่จบเลยครับ
มีความผูกพันกัน เป็นอย่างไรที่เมืองนู้นเป็นอย่างไร บ้านเธอเป็นอย่างไร บ้านฉันเป็นอย่างนี้ บ้านฉันบ้านเธอ บ้านเธอบ้านฉัน

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตอนนี้เรามาคุยกับเกษตรกรบ้างค่ะ
มาจากไหน ขายอะไรกันบ้างคะ (ภาษาญี่ปุ่น) ก็นะครับ
มาจากจังหวัดโทจิงิ เมื่อสักครู่นี้เขาคุยอะไรกัน ลองถามท่านบอกว่า กำลังจะขายของที่เกี่ยวกับ… เรื่องทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน เรื่องหวัด เรื่องไข้
ถ้ากินมิโซะนี่นะครับ
เขาบอกว่า คำพูดนี้คือ… (ภาษาญี่ปุ่น) เขาพูดว่าอย่างไร
ถ้าคุณมีเงินจ่ายหมอ จงใช้เงินซื้อมิโซะ หมายถึงอะไรครับ
เพราะ
ถ้าคุณซื้อมิโซะ คุณจะมีภูมิต้านทานในการมีจุลินทรีย์ คุณจะเป็นหวัดยาก คุณจะป่วยยากครับ

เพราะฉะนั้น ตั้งแต่คำสมัยก่อนนะครับ

ถ้ามีเงินจ่ายให้กับหมอ เอาเงินมาซื้อมิโซะดีกว่า คุณจะมีภูมิต้านทานที่ดีกว่า บอกอาหารญี่ปุ่นแข็งแรงกว่านะ เขาอธิบายอย่างนี้ครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) คุณป้ามีไอเดีย
ในการโฆษณาไม่เบาเลยนะคะ เอาเงินที่จะไปหาหมอ มาซื้อมิโซะเพื่อสุขภาพดีกว่า อ่านแล้วอยากจะอุดหนุนเลยนะคะนี่ (ภาษาญี่ปุ่น) เห็นว่าผมเป็นผู้ชาย เขาก็เลยให้เจลลีกระเทียมดำ

[เสียงดนตรี]

ลองดูนะ (ภาษาญี่ปุ่น) … โออิชิ อร่อยมากเลย (ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) อิจฉาฟูจิเซ็นเซอีกแล้วค่ะ
ปกติสินค้าในญี่ปุ่น ก็จะมีให้เลือกมากมายอยู่แล้ว พอได้มาเจอผู้ผลิตโดยตรง เรายิ่งสนุกขึ้นมาอีกนะคะ มาดูร้านต่อไปกันค่ะ
ขายอะไรอีกคะนี่ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ร้านนี้บอกว่า จะกินแอปเปิลที่อร่อยได้ ต้องเป็นแอปเปิลที่สุกจริง ๆ วิธีการกินแอปเปิลที่อร่อยจริง ๆ คือต้องสุกแล้ว ค่อยเด็ดออกมาจากต้น แล้วบอกว่า ท่านมีแอปเปิลอยู่ที่นี่ 10 ชนิดด้วย มี 10 ชนิดไม่พอ ท่านมาทำเป็นน้ำแอปเปิล 6 ชนิดครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตื่นเต้นไปด้วยเลยนะคะ สวนแอปเปิล ทำน้ำแอปเปิลออกมาได้ถึง 6 รสชาติ จะฟินและก็ได้สุขภาพมากขนาดไหนนี่ ฟูจิเซ็นเซบอกหน่อยสิคะว่า
รสชาติเป็นอย่างไรบ้าง (ฟูจิ) เราได้กินแยกกันอย่างนี้เลยแอปเปิล อุไม…

[เสียงหัวเราะ]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่น้ำริงโงะ มี 6 ชนิด กินเทียบกัน คุณลองดูสิว่า… มันจะต่างกันเหมือนขึ้นสวรรค์เลย ใครที่ชอบกินแอปเปิลอย่างนี้ สวรรค์เลย (ภาษาญี่ปุ่น) อ๋อ ต่างกันเลย อันนี้เปรี้ยว ๆ ผลไม้ร้อยเปอร์เซ็นต์ด้วย แล้วก็เป็นผลไม้ที่เด็ดออกมาจากต้นตอนสุกแล้ว โอ้โฮ ได้กินเทียบก็รู้เลยว่าต่างกันเลย (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ก็นะครับ
ท่านบอกว่ามาที่นี่กี่ปีแล้ว บอกว่า 10 ปีแล้ว แล้วก็เปิดมาไปได้ดีไหม เธอบอกว่า เธอจะมาเฉพาะเดือน 2 เท่านั้น เพราะเป็นช่วงของแอปเปิล
ถ้าเป็นช่วงอื่น เธอบอกจะยุ่ง เพราะมีลูกค้าอยู่ที่จังหวัดของเธอ มาจากจังหวัดนางาโนะ ชินชู ก็บอกว่า ช่วงนี้เราโชคดีที่ได้เจอเธอ แล้วผมเป็นแฟนของเธอไปแล้วนะครับ
บอกว่า 10 ปี มีคนมาชอบเธอ และมากินในช่วงเดือน 2 ทักทายกัน ผูกพันกันเลยครับ
ผมถามว่า ขายที่นี่กับขายที่ต่างจังหวัดต่างกันไหม เธอบอกว่าเหมือนกันคือ… พูดง่าย ๆ ว่า
ถ้าขายริงโงะ ขายของแล้วลูกค้าชอบ เขาก็มีความสุข
เพราะฉะนั้น
ถ้ามีลูกค้าเพิ่มขึ้น ๆ จะมีที่ไหน ก็สุขที่นั้น
เพราะฉะนั้น มีลูกค้าเพิ่มขึ้นก็สุขแล้วครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ผู้บริหารจัดการตลาดบอกว่า การมีตลาดแบบนี้ นอกจากช่วยเกษตรกรแล้ว ยังทำให้เกิดความผูกพัน ระหว่างเกษตรกร และก็ผู้ซื้อค่ะ
ซึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน ยังไม่มีตลาดแบบนี้จริงจัง ไอเดียนี้ในตอนนั้น จึงใหม่พอสมควรค่ะ
เอามาให้ใจดีจังเลย เราถ่ายรายการอยู่นะ มาให้เราเลย รู้สึกเกรงใจจังเลย น่ารักจังเลย ไม่ซื้อไม่ได้แล้วนี่

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ระหว่างถ่ายทำ ก็มีพ่อค้าเอาส้มมาให้ลองกินนะคะ ใจดีจังเลยค่ะ
ดูแล้วก็มีความสุขไปด้วย
แต่ว่าร้านนี้เป็นเหมือนร้านที่ไปรับผลผลิต จากเกษตรกรมาจำหน่ายค่ะ
ทางตลาดก็ยอมอยู่บ้าง คือยอมให้พ่อค้าคนกลางมาขายได้
แต่ไม่รับจำนวนมากนะคะ เพราะอย่างน้อยก็คิดว่า… พ่อค้าคนกลางช่วยทำให้เกษตรกรบางคน ที่ไม่สามารถมาขายที่นี่เองได้ ยังพอมีหนทางค้าขายกับลูกค้าตรงแบบนี้ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ร้านข้างหลังนี้
เป็นร้านขายผัก ขายผลไม้ เขาตั้งชื่อว่า Select Shop ก็คือรวบรวมผลไม้อร่อย ๆ มาขาย แล้วแถวนี้มันมีข้อดีอย่างไร เหมือนคล้าย ๆ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์แสดงผัก ผลไม้ ผู้คนที่มาบางคนเป็นเชฟมือดัง มาดูว่า มีผลไม้อะไรที่อร่อย มีผักที่ไหน เมืองอะไร พูดง่าย ๆ ว่า… ใครอยากจะหาของดี ๆ ผลผลิตดี ๆ
มาที่นี่ครับ
หนึ่ง มีความผูกพันกัน สอง ก็คือได้เห็นสินค้าใหม่ ๆ เป็นศูนย์แสดงสินค้าครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) และท่าน
ก็ไม่ได้เป็นคนเปิดให้เช่าตลาดเท่านั้นนะคะ คือจริงจังถึงขั้นว่าเดินทางไปชิมพืชผัก ผลไม้ ถึงไร่นาสวนกันเลย เพื่อจะได้รู้ว่าคุณภาพดีจริงหรือไม่ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) อันนี้เป็นร้านคากิ ก็คือเขาเรียกอะไรนะ ลูกคากิ เอาคากิมาทำขนมปัง และก็ทำไซรัปแบบนี้ และนี่ก็เป็นชา เป็นชาคากิ ก็คือเอาใบมาทำเป็นชา

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) แล้วลูกค้าที่มาเดินตลาดนี้ รู้สึกอย่างไรกับตลาดนี้บ้างคะ (ภาษาญี่ปุ่น) ตรงข้าง ๆ นี้มันมีซูเปอร์มาร์เก็ต
ไม่ไป เธอไม่ไป เธอบอกว่า เมื่อกี้คุยเห็นหน้าเธอไหมครับ
รสชาติต่างกัน ยิ้มแฉ่งเลย ต่างกันเยอะเลย อร่อยมาก หวานมาก มาแล้วคุณจะเลิกไม่ได้ ติดเลย (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) มีความผูกพันมาก แล้วก็ผูกพันจนอยากกินกาแฟ ก็จะไปหากาแฟพิเศษมา ไม่ได้ขายหน้าร้าน
แต่มาขายโดยตรงก็มี ก็คือมีความผูกพันกันแล้ว ก็คือเชื่อผู้ผลิต เชื่อผู้ผลิต เพราะผู้ผลิตของดี ทำจริง เมื่อแนะนำอะไร ก็จะซื้อจริงแล้วคราวนี้ คือซื่อสัตย์กันอย่างนี้ ก็เลยเชื่อใจกันเลย

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตอนนี้ฟูจิเซ็นเซ
จะเดินชมตลาดเองแล้วค่ะ
ว่าจะเจออะไรน่าซื้ออีกบ้าง (ภาษาญี่ปุ่น) นี่ครับ
ปลูกตั้งแต่สมัยเอโดะเลยนะ คนนี้คุณปู่เลยนะ ปู่ทวด และไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และก็ตากเลย กรรมวิธีการตากก็มีอยู่หลายอย่างครับ
ก็จะมีวิธีการ กรรมวิธีต่างกันก็คือ… เอาออกมาทั้งลูกเลย และก็เป็นการตัดนะครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) อันนี้เขาบอกว่า
เวลาเคี้ยวเหมือนกับไม่ได้เคี้ยวเลย อันนี้มันจะนุ่ม อันนี้เป็นมัน มันเทศหรือเปล่าครับ
มันจะหวานมากครับ
ก็คือกรรมวิธีขั้นตอนหลายเดือนมาก ๆ ครับ
ต้องผ่านความหนาวด้วย มันถึงจะหวานออกมาครับ
ไม่ได้ใช้น้ำตาลเลย มันมีความหวานของมันของมันเองเลย สมัยก่อนนี่นะครับ
มันเทศพอเจอหน้าหนาว แล้วมันเน่าเสียหมดเลย วิธีการทำอย่างไร ให้มันเก็บไว้ได้นาน ก็คือการเอามาต้ม แล้วเอามาตากแบบนี้ จะเก็บไว้ได้นาน ทำให้เมืองที่ไม่มีของกิน มีตัวนี้ ทำให้ชีวิตอยู่รอดขึ้นมาได้ นี่คือวิธีการกินสมัยก่อน และก็เอากลับมากินได้ครับ
ท่านก็บอกว่า การมาขายที่นี่ก็มีความผูกพัน และก็ได้เรียนรู้จากลูกค้า ลูกค้าบอกว่ามีแบบนี้ไหม มารูโบชิไหม ก็คือเป็นแบบลูกหนึ่งเลยก็มีนะ ท่านไม่เคยทำมาก่อน เป็นข้อมูลจากลูกค้า ก็ได้ความรู้จากลูกค้า และก็มีการตากแบบนิ่ม แบบแข็งด้วยครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ดีมากเลยนะคะ มาพบลูกค้าด้วยตนเอง ก็จะพบคำตอบว่า… ลูกค้าต้องการอะไร ต้องการแบบไหน เป็นการทำการตลาดแบบหนึ่ง และได้ไอเดียในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ฟูจิ) นี่คืออะไรรู้ไหม นี่คือน้องเด็ก ม.ปลาย นะ แล้วมาจากต่างจังหวัด แล้วก็มาเรียนเรื่องมาร์เก็ตติง (Marketing) เรียนเรื่องมาร์เก็ตติง แล้วก็มาผลิต แล้วก็มาขายกันจริง ๆ เลย มาดูกันครับ
ว่าเป็นอย่างไร (ภาษาญี่ปุ่น) แยมที่ทำจากมะเขือเทศ 12 กิโลกรัม ต้มเหลือ 3 กิโลกรัม ตั้งชื่อว่า แก้มเด็กแดง (ภาษาญี่ปุ่น) นี่เป็นอย่างนี้เลย ทำจากเด็กม.ปลาย แล้วทำแบรนด์ดิง (Branding) แบบนี้ เจ๋งไหม (ภาษาญี่ปุ่น) อร่อยเลย

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ภาษาญี่ปุ่น) อันนี้เขามีทางบริษัทกับทางโรงเรียน มารวมตัวกันนะครับ
ว่า เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ เพราะเป็นโรงเรียน ม.ปลาย ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องการเกษตร ก็ได้มาเรียนรู้จริง แล้วก็มาในเมืองจริง ๆ เพราะมาจากต่างจังหวัด เด็กก็ได้เห็นจริง ๆ ได้เรียนรู้ต่าง ๆ นอกจากทำเองแล้ว ก็ได้รู้ถึงลูกค้าด้วยครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) เริ่มต้นก็คือ เขาขายทางเด็กนักเรียน เป็นเด็กจากตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ไปขายที่นู้นด้วย แล้วก็มาดูว่า ขายของที่โตเกียว คนโตเกียว กับคนที่ตะวันออกเฉียงเหนือ มันจะเหมือนกันไหม หรือการตลาด หรือลูกค้า
จะรู้สึกเหมือนกันไหม มีความผูกพันเหมือนกันไหม มาดูด้วยครับ
แล้วก็ตรงนี้พอดีเขาเปิดรับพอดี ก็เลยมาครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) ก็นะครับ
บอกว่า
ถ้าเขาขายที่ตะวันออกเฉียงเหนือ มันเป็นโฮมทาวน์ ก็คือเป็นบ้านของเขา บอกชื่อโรงเรียน ใครก็ซื้อ
แต่ตอนนี้
ถ้าไม่บอกชื่อโรงเรียน
มาจากต่างจังหวัดนี่ ดูสิว่าตัวเองจะมียุทธศาสตร์ในการขายอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร ดูครับ
ก็เลยต้องลองใช้
ลองผิดลองถูก ดูว่าจะขายได้หรือเปล่าครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) เด็กก็ขยัน ครูก็ขยันนะคะ พยายามทดลองตลาดหลาย ๆ พื้นที่ สิ่งที่เรียนรู้ได้ในตอนนี้ของนักเรียน ก็จะทำให้มีผู้ใหญ่ที่เก่ง ๆ ในญี่ปุ่นขึ้นอีกมากค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) ก็ถามว่ามาจากไหน ท่านบอกว่านะครับ
ด้านโน้นมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นี่ก็คือชิบะ ทุกคนเป็นชาวไร่ ชาวสวน ชาวนาครับ
มาขายกันตรงนี้ครับ
และนี่ก็บอกว่า น้องคนหนึ่งอยู่ที่โตเกียว
แต่บ้านอยู่ภาคใต้ ก็เลยเอาของมาขายเลย อะไรอย่างนี้ครับ
ทุกคนเป็นผู้ผลิต แล้วไม่พอนะ… บอกว่า มีการซื้อกันและมีความผูกพันกัน และสิ่งที่ดีคือคนในเมืองมาซื้อของเธอ และไปเยี่ยมที่บ้านด้วย ไปเยี่ยมบ้านเลยนะ

[เสียงดนตรี]

ตอนนี้ก็กำลังขายของกันอยู่นะครับ
บรรยากาศผู้ผลิตกับลูกค้าครับ

พูดกันตรง ๆ ได้เลย เขาบอกได้ว่า เขาขายอย่างไร ผลิตอย่างไร อธิบายได้ละเอียด เมื่ออธิบายได้ละเอียด ก็จะทำให้คนอยากซื้อ อยากกินกัน อันนี้ยุทธศาสตร์การขายเลย พอได้ชิมปุ๊บเลิกไม่ได้แล้ว
ต้องขาย ต้องซื้อแน่นอน

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) เกษตรกร พ่อค้าแม่ขายทุกคน ตั้งใจอธิบายสินค้าของตัวเองมากนะคะ เราพอเข้าใจได้ว่า… นี่ไม่ใช่แค่การมาขายของ
แต่เหมือนการมาทำความรู้จักตลาด รู้จักลูกค้า แล้วก็อาจจะได้เพื่อนไปด้วย แน่นอนว่าจะต่างจากการที่เรา
ไปซื้อของในห้างขนาดใหญ่ ที่เราแทบจะไม่ได้คุยกับใครเลย
ถึงแม้ว่าซูเปอร์มาร์เก็ตในญี่ปุ่น มักจะติดป้ายหน้าตาเกษตรกรไว้ที่สินค้าด้วย
แต่การได้มาเจอกัน ได้พูดคุยกันแบบนี้ ก็จะดีกว่ามากนะคะ บ้านเราก็มีตลาดแบบนี้เกิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ คนไทยเองก็ชอบตลาดเกษตรแบบนี้ไม่น้อย นอกจากได้กินอาหารดี ได้พบหน้าเกษตรกร แล้วก็ยังได้สุขภาพดีด้วยนะคะ พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *