คัมภีร์ทำธุรกิจแบบญี่ปุ่นที่คุณอาจนึกไม่ถึง

1206 0

[เสียงดนตรี]

(บรรยายหญิง) ไปรู้จักแขกรับเชิญชาวญี่ปุ่นของเรา

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (คุณกฤตินี) สวัสดีค่ะ

ชื่อ กฤตินี พงษ์ธนเลิศ นะคะ หรือว่านามปากกาว่า
เกตุวดี Marumura ค่ะ
(บรรยาย) อ้าว พูดไทยได้ เธอช่างเหมือนคนญี่ปุ่นมาก
แต่จริง ๆ เธอคือคนไทย
ที่ไปเรียนที่ญี่ปุ่นมาเกือบ 10 ปีค่ะ
พกดีกรีดอกเตอร์กลับมา
พร้อมความรู้แน่น ๆ ในทางธุรกิจแบบญี่ปุ่น
ที่คุณไม่รู้ไม่ได้แล้ว (ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

มีบ้างค่ะ
แล้วก็เคยมีคนญี่ปุ่นเข้าใจผิดว่าเป็นคนญี่ปุ่น แล้วก็นั่งเมาท์คนไทยให้ฟัง อันนี้ก็ถือเป็นการได้ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ค่ะ
ผลงานนะคะ ตอนนี้ก็มีหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่น ทั้งหมด 8 เล่มด้วยกันค่ะ
ก็จะมีทั้งเรื่องราวแบบความรักน่ารักแบบญี่ปุ่น เช่น Japan Love Gossip
กระซิบรักฉบับญี่ปุ่นนะคะ หรือว่าเรื่องราวแนวการตลาด เช่น สุโก้ย Marketing นะคะ ก็การตลาดแบบญี่ปุ่นเป็นอย่างไร เล่มล่าสุดก็จะเป็นเล่มแนวธุรกิจ ก็คือ… ริเน็น สร้างธุรกิจ 100 ปีแบบญี่ปุ่นนะคะ ธุรกิจญี่ปุ่นที่ยั่งยืนเขาทำกันอย่างไร ที่อยากจะเรียนรู้เพิ่มเติมดีกว่าค่ะ
ก็คือเป็นเรื่องของศิลปะการชงชานะคะ คือ
แต่ก่อนเกดจำได้ปีแรกที่เกดไป พอไปเข้าพิธีการชงชาปั๊บ จะรู้สึกว่ามันเป็นพิธีที่กฎเกณฑ์เยอะไปหมดเลย เดี๋ยวต้องขอพูดอย่างโน้น อย่างนี้ก่อน
กับคนข้างหน้า คนข้างหลังนะคะ ต้องหมุนถ้วยชา
แต่พอปีสุดท้ายค่ะ

ที่ตัวเองอยู่ญี่ปุ่นมา 8 ปี แล้วเพื่อนพาไปพิธีชงชาอีกครั้งหนึ่ง จะรู้สึกว่า เป็นพิธีที่สงบจังเลย แล้วก็รู้สึกว่าการชงชามันทำให้จิตใจเราสงบ และก็เป็นการฝึกจิตตัวเองด้วย ทำให้ตัวเองรู้สึกว่า สนใจว่า ชงชาแค่นี้ทำไมเขาเรียนกันทั้งชีวิตเลย มันยากอย่างไรหรือ ก็อยากจะรู้บ้างว่า
มือมันต้องตักน้ำอย่างไร ต้องชงอย่างไร รู้สึกว่า
ถ้ามีโอกาสก็อยากจะศึกษาเพิ่มค่ะ
คนญี่ปุ่นเขาจะเป็นคนที่มี เขาเรียกว่า อุจิ กับโซโตะ นะคะ โซโตะ ก็คือ ภายนอก
ถ้าเจอคนที่ไม่รู้จัก เช่น เป็นแขก เป็นคนที่เราต้องให้ความเคารพ เขาก็จะมีโหมดหนึ่ง คือโหมดแบบ…
ถ้าเป็นผู้ชายจะเป็นโหมดที่เก๊กนิดหนึ่ง ก็คือ… ต้องดูดี ต้องพูดจาเพราะ ต้องพูดสุภาพนะคะ
แต่เมื่อไรที่จบโหมดข้างนอกกลับเข้ามาข้างใน อุจิ ก็คือกลับมาโหมดในบ้าน เช่น กับคนในครอบครัว จากผู้ชายที่สุภาพ เรียบร้อย ดูแลลูกค้าดี ก็จะกลายเป็นแบบ… เฮ้ย ต้มน้ำหน่อย
เฮ้ย ทำอาหารหน่อยสิ ไปบอกภรรยาแบบนั้น
เพราะฉะนั้นคนญี่ปุ่น
จะมีสองโหมดนี้ตลอดเวลานะคะ ผู้หญิงญี่ปุ่นก็อาจจะเหมือนกัน เช่น อยู่ข้างนอกกับเพื่อน ๆ นะคะ เพื่อน ๆ แม่บ้านอาจจะสุภาพเรียบร้อย มาอยู่บ้านกับลูกก็อาจจะดุอะไรอย่างนี้ค่ะ
ก็จะมีความแตกต่าง… คอนทราสต์ (Contrast) กันที่ชัดเจนมาก ๆ คือญี่ปุ่นเป็นประเทศเอเชียเหมือนเราค่ะ
แล้วก็มีความคล้าย ๆ กับประเทศไทยเยอะ
แต่ว่าเขาไม่ลืมแก่นรากของวัฒนธรรมของเขา เขาก็ยังมีคนใส่ชุดยูกาตะทุกปีเวลาไปดูดอกไม้ไฟ ตอนปีใหม่ยังมีคนใส่ชุดกิโมโนอยู่ เราก็รู้สึกว่า ทำไมเขารักษาสิ่งโบราณ… ภูมิปัญญาโบราณของเขาได้ดีจังเลย ก็จะชื่นชมจุดนี้มาก ๆ ค่ะ
อีกจุดหนึ่งที่สนใจญี่ปุ่นคือ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เจอวิกฤติบ่อยมาก เจอแผ่นดินไหว เจอเศรษฐกิจ เจอสงครามโลกนะคะ
แต่ว่าทุกครั้งเหมือนเขาก็จะลุกขึ้นมาได้ เราก็เลยอยากรู้ว่า จริง ๆ
ถ้าเกิดคนที่เจออะไรหนัก ๆ
มาตลอดชีวิตขนาดนี้ ทำไมถึงทำให้เขาอึด หรือว่าเขาตั้งใจลุกขึ้นมาสู้ได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหลาย ๆ เทปในรายการดูให้รู้ ก็คือแนะนำจุดตรงนี้มาตลอดว่า คนญี่ปุ่นเขาพลิกขึ้นมา หรือว่าเขาเอาชนะวิกฤติต่าง ๆ ได้อย่างไรนะคะ (บรรยาย) นี่ยังเป็นรายการดูให้รู้อยู่นะคะ ไม่ผิดรายการแน่ค่ะ

แต่เพราะว่าแขกรับเชิญวันนี้ของเรา น่าสนใจมากจริง ๆ และคุณผู้ชมที่ปลาบปลื้มประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้ว อาจจะรู้จักเธอก็เป็นไปได้ค่ะ
คุณเกตุวดี มารุมูระ ผู้ที่เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องญี่ปุ่น ในเชิงลึกมากมาย ซึ่งทำให้เรารู้จักญี่ปุ่นได้ดีขึ้นมาก สมกับความตั้งใจของเธอ ที่ต้องการจะสื่อสารเรื่องของญี่ปุ่น ที่มีมากกว่าโตเกียวบานาน่า ภูเขาไฟฟูจิ ซูชิ ซาชิมิค่ะ
ซึ่งข้อเขียนของเธอก็ออกแนวความรู้ทางธุรกิจ
เนื่องจากเธอเป็นอาจารย์สอน
เกี่ยวกับเรื่องการตลาดค่ะ
และดูให้รู้ ก็เคยสัมภาษณ์เธอมาแล้ว ในเรื่องเกี่ยวกับการมองคนญี่ปุ่น
ในอีกแง่มุมหนึ่งค่ะ
(คุณกฤตินี) ทีนี้เราก็ดูดฝุ่นไปเรื่อย ๆ ไม่ได้อะไร แล้วรุ่นพี่ในชมรมก็ดุ บอกเกตุซังต้องแบบดูดฝุ่นให้ดี ๆ สิ เดี๋ยวคนอื่นที่มาใช้ต่อสกปรกทำอย่างไรล่ะ (บรรยาย) แล้ววันนี้ฟูจิเซ็นเซ จะมาคุยอะไรกับคุณเกดอีกบ้าง ต้องติดตามค่ะ
และในสถานการณ์วิกฤติ Covid-19 นี้ ซึ่งเราก็ต้องระวังรักษา Physical Distancing หรือ Social Distancing กันหน่อย อาจทำให้รู้สึกอึดอัดไปบ้างนะคะ
แต่เพื่อความปลอดภัยค่ะ
(ฟูจิ) อาจารย์ไปเรียนที่ญี่ปุ่นมา แล้วตอนนี้ก็ทำเกี่ยวกับญี่ปุ่นอยู่ (คุณกฤตินี) เกดไปเรียนตั้งแต่อายุ 17 เลยค่ะ
พอดีได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปค่ะ
ตอนนั้นก็มีเด็ก ป.ตรี
ได้รับคัดเลือกไป 4 คน เราก็ไปเรียนที่โอซากะก่อน 1 ปี เรียนภาษาญี่ปุ่น 1 ปีเท่านั้นเอง จากนั้นก็ไปเข้ามหาวิทยาลัยโกเบ ที่อยู่เมืองติด ๆ กัน ไปเรียนปริญญาตรี โท เอก ยาวที่ญี่ปุ่นเลย แล้วตอนนี้กลับมาสอนการตลาด
อยู่ที่คณะบัญชี จุฬาฯ ค่ะ
(บรรยาย) การไปใช้ชีวิตนักเรียนนักศึกษาในญี่ปุ่น เมื่อก่อนกับตอนนี้คงจะต่างกันพอสมควรนะคะ เช่น จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น โลกในสังคมออนไลน์ ที่ทำให้เห็น
และก็เข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้สะดวกขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนมาก
ดังนั้นประสบการณ์ที่คุณเกดถ่ายทอด น่าจะเป็นอีกมุม ที่เราอาจจะมองไม่เห็นในปัจจุบันก็ได้ค่ะ
สิ่งที่เรียนรู้และได้จากญี่ปุ่นคงมีเยอะมากมาย
ถ้าพูดแบบเด่น ๆ เลยมีอะไรครับ
(คุณกฤตินี)
เกดว่าได้เรื่องความรู้สึกขอบคุณนี่ล่ะค่ะ
เกดว่าอย่างหนังสือพัฒนาตัวเองของญี่ปุ่น หลายเล่มมาก เขาจะบอกให้ขอบคุณบ่อย ๆ ซึ่งตอนแรกเราไม่ได้คิดอะไรค่ะ

แต่พอลองทำจริง ๆ มันเหมือนทำให้เราเห็นสิ่งละเอียดมากขึ้น (ฟูจิ) มันทำให้เรามีค่ามากขึ้นเนอะ (คุณกฤตินี) แล้วมันมีพลังค่ะ
เวลาเราได้รู้สึกขอบคุณของเราเอง มันเหมือนมันมาจากข้างใน คือ คำขอบคุณภาษาญี่ปุ่น คันจิมันจะเขียนว่า การเกิดสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เมื่อเรารู้สึกว่าสิ่งนั้นมันเกิดขึ้นได้ยาก เราเลยรู้สึกขอบคุณน่ะค่ะ
(บรรยาย) นี่แหละค่ะ
ความลึกซึ้งในแบบญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นไม่เคยคิดอะไรชั้นเดียวนะคะ เขาคิดลึกลงไปมาก
และก็คิดถึงคนอื่นมากด้วยค่ะ
เราเคยสัมภาษณ์คนญี่ปุ่นว่า อะไรคือสิ่งที่พ่อแม่อบรมสั่งสอน และยังติดอยู่ในจิตใต้สำนึก ก็ได้รับคำตอบคล้าย ๆ กันว่า คำสอนเรื่องการทำอะไรแล้วไม่เบียดเบียนใคร หรือไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน นั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตค่ะ
และหนังสือนี้คือ ประสบการณ์ของ… (คุณกฤตินี) ใช่ค่ะ
ของเกดเองค่ะ
– เจออาจารย์สองคน
– ใช่ค่ะ
เจออาจารย์สายโหด กับอาจารย์… (คุณกฤตินี) สายดี… สายสวรรค์

[เสียงหัวเราะ]

อีกคนไม่ใช่ไม่ดี

[เสียงหัวเราะ]

คือทั้งสองท่านมีผลกับเกดมาก ๆ ให้เกดเป็นตัวเกดเองค่ะ

ถ้าพูดสั้น ๆ
นี่คือได้เปลี่ยนแปลงชีวิตคุณเกดอย่างไรครับ
(คุณกฤตินี) คิดถึงคนอื่น คิดถึงคนอื่นเลย (คุณกฤตินี) ใช่ ๆ อาจารย์คนโหดก็จะบอกเสมอว่า Give and Take
ทำอะไรอย่าคิดถึง
แต่ตัวเรา อย่างเช่น สมัยก่อนจะคิดแค่ว่า วิทยากรจะมาสอนอะไรฉันล่ะ ฉันทำโปรเจกต์นี้ฉันจะได้อะไรล่ะ ส่วนใหญ่ก็จะโดนอาจารย์
ตบตีด้วยคำพูดและคำสอนต่าง ๆ ทำให้เรารู้สึกว่า
ทุกครั้งเวลาแค่เราส่งอีเมลไปค่ะ
เราได้คิดถึงคนที่เขารับไหม ว่าเขาจะอ่านอีเมลง่ายหรือเปล่า หรือว่าเวลาที่เราใช้ภาษาอะไร เราไปรบกวนคนอื่นหรือเปล่า อันนี้เป็นสิ่งที่เขาสอนเราเยอะมาก ผมก็เคยมี พอถูกสอน ญี่ปุ่นบอกว่า ต้องคิดถึงคนอื่นก่อน (ภาษาญี่ปุ่น) พอมาเจอคนที่ไม่คิดถึงคนอื่น บางทีเขาจะโกรธเรา หรือว่าเราจะไปโกรธเขาหรืออย่างไรครับ

ถ้ามีโอกาสได้เจอกับตัวเราโดยตรง ก็ใช้ตัวเราค่ะ
เป็นสิ่งที่ทำให้เขาสัมผัส

แต่…

ถ้าเกิดเขายังคิดไม่ได้ ก็หวังว่าจะไปเจอใครที่เมตตาเปลี่ยนชีวิตเขา เพราะตัวเกดเองก็เหมือน
ได้รับความใจดีจากคนญี่ปุ่นเยอะมาก จนตัวเองก็เปลี่ยนเหมือนกัน (บรรยาย) ฟังแล้วก็รู้สึกเลยนะคะว่า การที่คนเรามองเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ ดี ร้าย
ถ้าเราคิดว่าสิ่งนั้นคือบทเรียน เราก็จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดนะคะ หนังสือทุกเล่มของคุณเกตุวดี นับว่าเป็นประโยชน์ในการมองโลกมากค่ะ
และก็มีอะไรครับ

ที่น่าแนะนำเกี่ยวกับเรื่องแรงบันดาลใจ
ถ้าเป็นแรงบันดาลใจ ก็จะมีเล่ม อย่ายอมให้ใครเหยียบฝันน่ะค่ะ
อย่างเกดรู้สึกว่า บางคนจะโดนความฝันคนอื่นตีเต็มไปหมด หนังสือเล่มนี้เกดรู้สึกว่า
จริง ๆ ความฝันมีหลายแบบ คนที่เหมือนกับฝันว่า
อาชีพเขาเป็นอาชีพช่างซักผ้า แล้วโดนดูถูกมาตลอดเวลา อยากจะกู้ชีพให้กับอาชีพนี้จังเลย ให้คนมายอมรับให้ได้ ก็เป็นเรื่องของคุณลุงช่างซักผ้า ก็ได้เห็นว่าการที่เราทุ่มเททำเพื่อคนอื่น มันไม่มีคำว่าสูญเปล่าค่ะ
(บรรยาย) แม้ว่าจะกลับมาเมืองไทยนานแล้ว
แต่คุณเกดก็ยังคงไปมาญี่ปุ่นไทยอยู่ไม่น้อย และก็ยังศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ
การทำธุรกิจในแบบญี่ปุ่นอยู่ เพราะเป็นข้อมูลในการสอนหนังสือด้วยค่ะ
อาจารย์ครับ

ปัจจุบันนี้เรียนรู้หรือศึกษาอะไร เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นต่อเนื่องอยู่ไหมครับ
(คุณกฤตินี) ตอนนี้ก็เน้นมาดูเรื่องธุรกิจญี่ปุ่น การบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่นมากขึ้นค่ะ
ก็ได้เจอว่า บริษัทญี่ปุ่นเขามีวิธีการบริหารที่มันแตกต่าง มันมีด้านจิตใจกับความผูกพัน ความสัมพันธ์ ที่มันตีค่าด้วยเงินไม่ได้อะค่ะ
แล้วพอเรามีทฤษฎีแน่นแล้ว แล้วไปดูจิตใจอีกด้าน เกดว่ามันจะเป็นผู้ประกอบการที่มีหัวใจค่ะ
ที่แข็งแกร่งมากเลย คือคิดเป็น วางลอจิก (logic) วางกลยุทธ์เป็นด้วย
แต่ก็ไม่ทิ้งคนอื่นน่ะค่ะ
(บรรยาย) การสั่งสมประสบการณ์มานาน คุณเกดก็เลยมีข้อมูล
มาเขียนหนังสือดี ๆ อยู่อีกเรื่อย ๆ ซึ่งเล่มล่าสุดคือเล่มนี้ค่ะ
(ฟูจิ) ริเน็น (ปรัชญาการสร้างธุรกิจ… ให้ได้ยั่งยืน 100 ปี ด้วยหลักคิดแบบญี่ปุ่น คือเวลาที่นักธุรกิจจะตัดสินใจทำธุรกิจอะไร จะลงทุน ไม่ลงทุนธุรกิจไหน
ถ้าเราคิดแค่กำไรขาดทุน
มันอาจจะไปได้ระยะหนึ่ง
แต่สมมติหมดรุ่นเราแล้ว หมด Generation เราแล้ว รุ่นลูกขึ้นมาสืบทอดต่อ ความเป็นบริษัทเรา
หรือ Identity บางอย่างมันจะหายไปค่ะ
ญี่ปุ่นจะมีปรัชญาเรียกว่า ริเน็น วิธีร้อยรัดให้ทุกคนไม่ว่าผ่านมาเป็นร้อยปี ยังคงความเชื่อเดิมนี้ไว้ ซึ่งอารมณ์คล้าย ๆ กับกฎประจำตระกูล ที่แบบเราต้องรักษาไว้ ที่เห็นล่าสุดน่ะค่ะ
ก็จะเป็นบริษัทเล็ก ๆ บริษัทหนึ่งในฮอกไกโด เขาบอกริเน็นของเขาคือ… อยากจะสร้างอาริงาโตให้กับธุรกิจตัวเอง คือไม่ว่าเราจะทำธุรกิจอะไร ต้องเป็นธุรกิจที่ได้รับคำขอบคุณนะ ซึ่งมันฟังดูมันดูเรียบง่ายมาก
แต่ลึก ๆ คือ
ถ้าเกิดมีร้านอาหารเป็นพันร้านในเมือง แล้วฉันทำเปิดมาอีกร้านหนึ่ง
คนอาจจะเฉย ๆ อย่างนั้นไม่ทำ

แต่…

ถ้าเกิดฉันทำโรงเรียนอนุบาลล่ะ คุณแม่ญี่ปุ่นไม่มีที่ฝาก Nursery เด็ก
ถ้าฉันเปิดปั๊บ จะมี
แต่คุณแม่วิ่งมาขอบคุณ อย่างนั้นฉันทำ Nursery ก็แล้วกัน (บรรยาย)
แต่ว่าเขียนทั้งหนังสือ และก็บทความลงในเพจมามากมาย ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมาถึงจุดที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่รู้จักกันได้ง่าย ๆ นะคะ (คุณกฤตินี) บางครั้งเกดก็เป็นนะคะ เห็นอะไรที่แบบคนอื่นทำได้ดี เขียนเก่งจัง แล้วเราก็บอกตัวเองว่า เราคงเขียนไม่ได้เท่าเขาหรอก เขาเก่งนี่ เขาสะสมความรู้มานี่
แต่มันมีแวบหนึ่งที่เกดคิดขึ้นได้ว่า การที่เราบอกว่าเราทำไมได้หรอก มันคือการหาข้ออ้างให้กับตัวเองเท่านั้นหรือเปล่า หาข้ออ้างที่จะไม่ทำแล้วให้ตัวเองสบายใจ เคยเชิญโคชญี่ปุ่นนะคะ โคชฟุตบอลมาสอนให้กับเด็กไทย ทีนี้พอเขาเห็นเด็กไทยซ้อม เขาก็บอก นี่คุณเรียกว่าซ้อมหรือ คือคุณก็เตะบอลไปเรื่อย ๆ สิ่งที่โคชบอกคือ การฝึกคือการเอาชนะ สิ่งที่เราทำไม่ได้ให้ทำให้ได้ แล้ว
ถ้าคุณฝึกเตะ
ทำสิ่งที่คุณถนัดไปเรื่อย ๆ แบบนี้ เมื่อไรคุณจะทำทักษะอื่น
ที่มันสัมพันธ์ต่อการไปบอลโลกได้ (บรรยาย) คุยถึงประสบการณ์คุณเกดมานาน ตอนนี้เราอยากให้คุณเกดช่วยดูเทปรายการดูให้รู้ ที่เราเคยถ่ายทำและก็ออกอากาศมาแล้ว โดยลองมาคุยกันว่า เขาเหล่านั้นใช้หลักการ ปรัชญาอย่างไร ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ มาเริ่มกันที่เทปแรกกันเลยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) คนขับรถแท็กซี่มาก่อนแล้ว จะไม่รับเป็นพนักงานครับ
เพราะว่าคนที่มีประสบการณ์ เขาจะไม่เชื่อฟังคอนเซปต์ของการทำงานของที่นี่ ก็เลยอยากจะรับพนักงานใหม่ เพราะว่าเขาจะเรียนรู้แล้วก็เปิดใจ ที่จะเรียนรู้ระบบของบริษัทที่นี่ครับ
คือจากเดิม ต้องบอกก่อนว่า ธุรกิจญี่ปุ่นคนขับแท็กซี่ไม่ได้สุภาพทุกคน
แต่ท่านประธานเขาก็ได้เปลี่ยน จนทำให้คนขับเริ่มเห็นว่า เราไม่ได้เป็นแค่ขนส่งผู้โดยสาร
แต่ว่าการบริการเขาส่งผลถึงชีวิตของคน ซึ่งเขาไม่ได้เห็นงานแค่งานที่ได้เงินเดือน
แต่เขาเห็นคุณค่าของงานที่มากกว่านั้น ริเน็นที่เขาพูดก็คือ
ลูกค้ามาก่อนกำไรมาทีหลัง ซึ่งอันนี้มันเกิดจากเหตุการณ์ที่ว่า ตอนที่จังหวัดได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก แล้วรัฐบาลมาขอให้บริษัทแท็กซี่เจ้าอื่น ไปช่วยรับนักกีฬาหน่อย แล้วให้ค่าตอบแทนสูงขึ้นสองเท่า
แต่ทีนี้บริษัท Chuo เป็นบริษัทเดียวที่ไม่เอา เดี๋ยวไปรับคนในชุมชน
เดี๋ยวคนในชุมชนลำบาก ซึ่งทำให้ยอดขายเขาตกฮวบมากเลยค่ะ
ตอนนั้น
แต่พอหลังจากโอลิมปิกปั๊บ กลายเป็นว่ายอดขายพุ่งขึ้น แล้วได้เป็นที่หนึ่งในจังหวัด เพราะอะไร เพราะว่าคนอื่นที่อยู่ในหมู่บ้าน ในเมือง ไม่มีโอกาสได้นั่ง Chuo แท็กซี่ พอมาได้นั่ง เจอบริการที่ดีแล้วประทับใจค่ะ
แล้วก็เลยติดมาจนถึงบัดนั้น ซึ่ง
ถ้าวิเคราะห์ในแง่ทำธุรกิจ คือเขารู้ว่าลูกค้าโอลิมปิก
เดี๋ยวมาเดี๋ยวไปแหละ ไม่ได้อยู่กับเรานาน
แต่คนที่อยู่กับเรานานจริง ๆ คือคนในจังหวัด
เพราะฉะนั้นทำอย่างไรจะรักษาความเชื่อมั่น Relationship ความสัมพันธ์ของคนในจังหวัดให้ดีที่สุด จุดเด่นของ Chuo แท็กซี่ คือเขามีวิธีการ
ที่ทำให้พนักงานรู้สึกดีกับการทำงานค่ะ
(บรรยาย) พูดมาถึงเรื่องของการขอบคุณ ฟูจิเซ็นเซก็มีเรื่องมาแบ่งปันเหมือนกันนะคะ ผมเคยอ่านจากบทวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มันจะมี 3 กลุ่ม ก็คือ กลุ่มหนึ่งให้เขียนเรื่องธรรมดา กลุ่มที่สองคือ
ให้คิดว่าฉันได้อะไรจากคนอื่นบ้าง แล้วกลุ่มที่สามคือ
ฉันทำอะไรให้กับคนอื่นบ้าง ปรากฏว่ากลุ่มที่สามนี่ มันเหมือนกับว่า… ตัวเราเองตอนแรก ฉันก็เป็นคนไม่ดีนะ ฉันมีโหมดดีบ้างไม่ดีบ้าง อิมเมจไม่ดีบ้าง

แต่…

ถ้าให้เขาเขียนว่า เขาทำอะไรให้กับคนอื่นปุ๊บ สมองก็จะเริ่มคิดว่า ฉันก็เป็นคนดีอยู่นี่ ก็เลยกลายเป็นว่า พอเราทำให้คนอื่น แล้วรู้สึกว่าตัวเองก็เป็นคนดีอยู่นี่ ก็ยิ่งอยากทำให้คนอื่น ให้คนอื่นอีก เขาบอกว่าคนกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่บริจาคเยอะที่สุดเลย การบริการของแท็กซี่มันลึกซึ้ง เราอาจจะไม่ต้องทำตามเขาทุกอย่าง –

แต่…

ถ้าเรารู้แก่นแท้มันจะออกมาเอง
– ค่ะ
แก่นแท้มันคืออะไรครับ
ริเน็นก็คือปรัชญาค่ะ
ปรัชญาก็คือความเชื่อ ทีนี้ข้อที่ต้องระวังคือ บางคนเชื่อมั่นว่าธุรกิจเราต้องเป็นยูนิคอร์น ต้องได้หมื่นล้านบาท มันไม่ใช่
เพราะฉะนั้นคือสิ่งที่เราคิดเพื่อตัวเอง เพราะริเน็นที่ดี ที่จะประสบความสำเร็จ แล้วทำให้คนอื่นตื่นเต้นได้ คือริเน็นที่ว่า… เราจะสร้างประโยชน์ให้กับใคร ทำไม อย่างไร และเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนอื่นค่ะ
(บรรยาย) นี่คือตอนแรกที่ทำให้เราเห็นว่า คำว่า ขอบคุณ ในการประกอบธุรกิจ มีความสำคัญอย่างไร และทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้มากมาย ด้วยคำ ๆ นี้ เพราะอะไร (บรรยาย) ตอนที่ 2 ที่เราจะมาวิเคราะห์กัน เป็นเรื่องของร้านขนมปังที่มีขนมปังปอนด์เท่านั้น
แต่ทำไมขายดีจนมีคนมายืนต่อแถวซื้อทุกวัน ไปดูกันค่ะ
(ฟูจิ) นึกว่ามีขนมปังหลายชนิดนะ มีแค่สองชนิดเท่านั้นนะ แค่สองชนิดจะทำให้คนมานั่งเข้าคิว มานั่งยืนเข้าคิวอย่างนี้เลยหรือ หนึ่งคนสามารถซื้อได้หนึ่งชิ้นเท่านั้น ก่อนหน้านี้มีแค่หนึ่งเมนูด้วยซ้ำไป
ถ้าคุณมีหลายเมนู แล้วมีเมนูหนึ่งที่ไม่อร่อย ร้านคุณจะเสียชื่อ ข้อที่สองก็คือ อยากจะทำเมนูใดเมนูหนึ่งที่มันอร่อย แล้วสุดเจ๋ง สุดอร่อยจริง ๆ โอ้โฮ นุ่มมาก
แค่นี้กลิ่นเข้ามาถึงนี่แล้ว สิ่งที่เกดว่ามันเป็นจุดเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งของ SME ญี่ปุ่น คือ เขาทำอะไรแล้วเขาไปสุดจริง ๆ แล้วเลือกโฟกัสแค่อย่างเดียว
แต่อย่างที่เกดได้เรียนรู้
จากเจ้าของขนมปังร้านนี้ก็คือว่า เขาพูดมาชัดเจนเลยค่ะ
ว่า กว่าผมจะคิดได้ตั้ง 2 ปีแหนะ
ถ้าคนอื่นลอกก็ลอกไปเถอะ ตอนนั้นผมก็ทำอย่างอื่นไปแล้ว คือมั่นใจมากว่ามันลอกยากมาก ซึ่งเราไม่มีทางจะเลียนแบบทุกอย่างตรงนั้น
ให้มันเหมือนเป๊ะ ๆ ได้ ก็เลยคิดว่าอันนี้เป็นสิ่งที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME ไทย ควรจะต้องเรียนรู้ว่า เราไม่ใช่ทำขนมง่าย ๆ แล้วจบ
แต่ขนมเราไปถึงที่สุดแล้วหรือยัง และบางทีไม่ต้องกลัวว่า
ถ้าเราทำอย่างเดียวจะขายไม่ได้หรือเปล่า เพราะว่าท่านโฟกัสแค่ตรงนี้เท่านั้นเอง (บรรยาย) คุณเกดบอกว่า นี่เป็นเรื่องของคนที่คิด และก็ทำมากกว่าคนอื่นจริง ๆ นะคะ จึงเกิดความสำเร็จได้อย่างที่เห็นค่ะ

ดังนั้นความใส่ใจ คือหนึ่งในการสร้างสตอรีในแบบญี่ปุ่น คือไม่ใช่แค่ว่า
เขาอยากจะสร้างสตอรีอะไรก็ได้
แต่สิ่งที่เขาสร้างขึ้นมานั้น เกิดจากความรู้สึกจริง ๆ ข้างในก่อนค่ะ
จึงเกิดเป็นความประทับใจได้ เกดก็ชอบถามลูกศิษย์ตัวเองว่า เทียบสินค้าตัวนี้กับสินค้าของเราเองนะ กับสินค้าคู่แข่ง ให้คะแนนเท่าไร สมมติคู่แข่งในวงการได้สัก 80
ถ้าตัวเองไม่ได้ 160 อย่าเพิ่งทำ อย่าคิดว่าตัวเองดีพอ 100 ไม่พอ ต้อง 160 300 ไปเลย เต็ม 100 หลาย ๆ ครั้งจะเห็นผู้ประกอบการทั่วไปค่ะ
รู้สึกว่าทำพอแล้ว แค่นั้นแหละ ทำเค้กมาแล้วก็ทำเหมือนเดิม จบ พอเราไม่ได้ปรับปรุงปั๊บ พอโดนเจ้าใหญ่
หรือเจ้าอื่นมาลอกเลียนแบบ เราก็รู้สึกว่า ไม่แฟร์เลยโลกนี้
แต่ญี่ปุ่นนะคะ คืออย่างร้านขนมปัง เกดเชื่อว่า จนถึงทุกวันนี้ เขาก็ยังคงพยายามปรับสูตรตัวเองแหละว่า ขนมปังมันดีขึ้นหรือยัง
ทำอย่างไรให้ดีขึ้นได้อีก นี่เป็นคำถามสำคัญมาก ๆ เลย ที่อยากฝากให้คนทำงาน
คนทำธุรกิจได้คิดเหมือนกัน (บรรยาย) และตอนสุดท้าย ที่เรายกมาเป็นกรณีตัวอย่าง ในการวิเคราะห์การทำธุรกิจของคนญี่ปุ่น คือธุรกิจโรงแรม ที่พยายามทำให้ทั้งชุมชนมีพื้นที่ของโรงแรม จนได้รับรางวัล Good Design เอ๊ะ นี่คือโรงแรมอะไรกันนะ ไปดูกันค่ะ
(ฟูจิ) นี่เป็นห้องพัก

แต่ทั้งหมดนี้ ทั้งเมืองนี้คือโรงแรม มีทั้งหมดแค่ 5 ห้องเท่านั้น โรงแรมนี้นะครับ
เป็นที่พักก็จริง
แต่ว่าเธอ จริง ๆ แล้วจะใช้เวลาอยู่กับลูกค้า แล้วก็พาลูกค้าไปแนะนำเมืองให้รู้จักว่า ที่นี่มีอะไร ที่โน้นมีอะไร พูดง่าย ๆ ว่า คนที่มาพักที่นี่ก็คือ เข้ามาเป็นลูกบ้าน
เข้ามาเป็นประชากรในเมืองนี้ เกดรู้สึกว่า
นี่เป็นเสน่ห์ของญี่ปุ่นมาก ๆ เลยค่ะ
คือทำอะไร ทำไปด้วยกัน ทำไปทั้งเมือง เกดว่าสิ่งหนึ่งคือเขาทำให้ทุกคนเห็นว่า การที่เข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะทำให้เศรษฐกิจในเมืองดีขึ้น แล้วเขาเองก็ภูมิใจว่า มีคนมาชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบนี้แหละ จริง ๆ ก่อนที่เขาจะทำตรงนี้ได้ค่ะ
มันมีระบบที่สร้างความไว้วางใจกัน
ของคนในเมือง คือเขาจะมี System บางอย่าง ให้เราได้เจอกับคนอื่น ๆ ในชุมชนได้ง่ายขึ้น แล้วพอเรารู้จักกันอยู่แล้ว อ้าว คุณฟูจิ สวัสดีค่ะ
สบายดีไหม แล้ว
ถ้าคุณฟูจิมาชวนเกดปั๊บ
มาทำโฮเทลกันไหม เออ ๆ โอเค ก็ได้ค่ะ
เพราะอะไร เพราะเรารู้จักกันอยู่แล้ว มันไม่ใช่อยู่ ๆ เราไม่รู้จักกัน แล้วคุณฟูจิก็ อ้าว ทุกคนมาทำโฮเทลกัน ไม่ใช่ เขามีระบบบางอย่างที่ทำให้คนเชื่อมั่น เชื่อใจกัน ก่อนที่จะมาสร้างโรงแรมนี้ มันเลยไม่สามารถเลียนแบบได้ง่าย ๆ
ในประเทศอื่น (บรรยาย) ฟูจิเซ็นเซฟังแล้ว
นึกถึงดูให้รู้อีกตอนขึ้นมาเลยค่ะ
เป็นตอนที่ทำให้เรารู้ว่า การจะสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาบนพื้นที่ดั้งเดิม ต้องมีชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชนด้วยค่ะ
(ฟูจิ) ผมจำได้ก็คือตอนที่ไปถ่ายเรื่องรปปงงิ ตึกรปปงงิกว่าจะสร้างได้ เจ้าของที่หรือหมู่บ้านเขาไม่ยอม เขาฮันไต (คุณกฤตินี) ต่อต้าน ต่อต้าน 20 ปี 30 ปีก็ยังขออีก ๆ จนไปเชิญพวกนั้นเข้ามาอยู่ อาศัยอยู่ในตึก โอ้โฮ ลองคิดดูว่าทุกคนต้องยอมรับทุกคน ทำอย่างไรให้ทุกคนได้ คงมีแผนการไม่เลิกล้มง่าย ๆ เนอะ
แต่ข้อดีของเขา คือเวลาเขาออกแบบอะไร เขาออกแบบมาให้ทุกคนได้ประโยชน์จริง ๆ คือไม่ใช่แค่ออกมาบอกแค่ว่า ทุกคนจะได้ประโยชน์อย่างนี้
แต่ตัวเองได้ประโยชน์มากสุด ไม่ใช่ แล้วอย่างโลกธุรกิจสิ่งที่พวกเราชินคือ… เราก็ทำธุรกิจ ตั้งหน้าตั้งตาทำธุรกิจของเราไป
แต่พอเราลืมชุมชนปั๊บ
บางที
ถ้าเราใส่ใจเขา เขาอาจจะกลายเป็นพลังที่มีมาก ๆ ของเราก็ได้ เกดเล่าให้ฟังตัวอย่างหนึ่งเลย คือบริษัทที่คลองเตย เขาช่วยคนในสลัมมาตลอด ทีนี้จากที่ไม่ได้คิดอะไร มีอะไรก็เอาไปบริจาคคนในชุมชน ปรากฏว่าวันหนึ่งมีม็อบการเมืองช่วงนั้นมา ม็อบเดินทางมา
ตรงหน้าถนนข้างหน้าตรงคลองเตยน่ะค่ะ
แล้วเห็นบริษัทใหญ่
แล้วรู้สึกหมั่นไส้อยากจะทำลาย
แต่คนในชุมชนสลัมคลองเตยออกมา ถือตะหลิวถือกระทะอะไรออกมา แล้วบอกว่า อย่านะ อันนี้คือบริษัทที่ช่วยเรา แล้วม็อบก็แบบ… เห็นคนในสลัมป้องกันอย่างนี้ โอเค ก็ไม่ไป ก็ไปทำความเสียหายที่อื่นต่อไป อะไรอย่างนี้ค่ะ
จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้บริษัทเห็นความสำคัญว่า คนในชุมชนจริง ๆ แล้วที่เรารู้สึกว่า เราให้เขามาตลอด
แต่จริง ๆ มันคือความเอื้ออาทรกันและกัน เราช่วยเหลือกันได้ เยี่ยมเลย (บรรยาย) เรื่องความร่วมมือในชุมชน
สำคัญมากจริง ๆ นะคะ เมืองจะเติบโตก้าวหน้า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้เกิดจากคนแค่หยิบมือเดียว
แต่เกิดจากความร่วมใจ และการเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งญี่ปุ่นมีกลวิธีในการสร้างสิ่งเหล่านี้มาตลอด แบบแนบเนียนมากด้วยนะคะ
ถ้าเราเรียนรู้จากญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะมีการจัดงานเทศกาล เฟสติวัล มัตสึริ ให้มาร่วมแบกศาลเจ้ากัน แล้วผู้ชายทั้งเมือง
ที่ไม่รู้จักกันจะได้มาเจอกัน มาร่วมแบก ร่วมฝ่าฟันอะไรไปด้วยกัน มันทำให้เขาสนิทกัน ปีถัดไปก็ยิ่งร่วมกันมากขึ้น ยิ่งช่วยกันมากขึ้น ซึ่ง
ถ้าบ้านเรามีเทศกาลอะไรแบบนี้ ให้คนมาช่วยกัน มาสนุกสนานด้วยกัน มันอาจจะทำให้คนได้คุ้นหน้าคุ้นตากันบ้าง ระบบญี่ปุ่นเอามาใช้ในประเทศไทยก็คือ เรามีโรงแรมอยู่ แล้วก็
ถ้าจะกินข้าวเขาไม่มีห้องอาหาร ไม่มีที่อาบน้ำ
ถ้าเราไปอาบน้ำก็ไปที่นี่นะ
ถ้าเราไปกินข้าวก็ไปร้านก๋วยเตี๋ยวนี้นะ
ถ้าอยากจะไปกินอะไรก็แล้ว
แต่ก็ไปที่นี่นะ อย่างนี้เป็นไปได้ไหมครับ
เป็นไปได้
จริง ๆ แล้วมันมีเพื่อนเกดทำแล้วค่ะ
อยู่แถวเสาชิงช้า เวลาที่เขาซักผ้าปูที่นอน อะไรพวกนี้ค่ะ
เขาก็จะไปให้ร้านซักผ้าในย่านนั้น ให้คนในชุมชนช่วยซัก ร้านอาหารเขาก็จะทำเป็น Map ว่า มีร้านข้าวแกงป้าน้อย
ร้านโน้น ร้านนี้นิดหนึ่ง ที่น่ารักมากคือช่วงโควิดค่ะ
ช่วงวิกฤติตอนนี้ โรงแรมเขาไม่สามารถให้บริการได้ แทบจะไม่ได้อยู่แล้ว สิ่งที่เขาทำคือเขาเปลี่ยนใหม่ เปลี่ยน Business Model เลย มาทำเป็น Food Delivery คอยรับออร์เดอร์ แล้วก็เอาพนักงานโรงแรม
วิ่งไปส่งของให้ ส่งอาหารให้ เขาก็ทำ Map กราฟิก ถ่ายรูปสวยงามเลยว่า ของทานเด่นย่านเสาชิงช้า
ย่านประตูผีมีอะไรบ้าง แล้วก็ให้คนมาสั่งออร์เดอร์กับเขา ก็เป็นการช่วยเหลือคนในชุมชนให้อยู่ได้ด้วย เพราะอะไร เพราะเขารู้ว่า
ถ้าคนในชุมชนร้านข้าวแกงหายไป เสน่ห์ของความเป็นชุมชนย่านนี้ก็จะหายไป แล้วสุดท้ายถามว่า
ทำไมนักท่องเที่ยวต้องอยากมาที่นี่ล่ะ ก็ในเมื่อมันก็เหมือนเมืองใหญ่ ๆ ที่อื่น
เพราะฉะนั้น
อย่างไรก็ตาม
ต้องรักษาชุมชนไว้ให้ได้ (บรรยาย) น่ารักมากเลยนะคะ แม้ในสถานการณ์วิกฤติ ที่ธุรกิจโรงแรมต้องได้รับผลกระทบมากอยู่แล้ว ก็ยังคิดช่วยเหลือผู้คนในชุมชน รับรองได้ว่า หลังจากนี้ชุมชนก็จะรักโรงแรมเช่นเดียวกันค่ะ
ก็นะครับ

ถ้าใครทำธุรกิจโรงแรม เราคิดถึงให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ที่นี่เป็นประโยชน์ต่อใคร เป็นประโยชน์ต่อใคร เช่น
ถ้าจะไปกินร้านนี้เป็นประโยชน์ต่อร้านนี้
ถ้าไปซักผ้าเป็นแบบนี้ เป็นประโยชน์ต่อทุกคน ก็จะเป็นธุรกิจที่โดดเด่น แล้วทุกคนก็จะเอาเรื่องของคุณมาเล่า แล้วทางทีวีหรือสื่อ เขาไม่ปล่อยคุณแน่นอน แล้วของคุณจะขายได้ดี เพราะอะไรครับ
เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง แล้วใครจะปล่อยให้ธุรกิจของคุณอยู่เฉย ๆ ครับ
มันต้องไปได้ดีแน่นอนครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ต้องขอขอบคุณ
คุณเกตุวดี Marumura มากเลยนะคะ ที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน นับว่าเป็นการสนทนาที่สนุก และก็ได้ข้อคิดบางอย่างจากการทำธุรกิจ และก็การใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่น ได้ลงลึกมากขึ้นไปอีกค่ะ
หวังว่าในอนาคต เราจะได้เดินทางไปญี่ปุ่นพร้อมกับคุณเกดบ้าง เพื่อจะไปสัมผัสประสบการณ์บางอย่าง ให้ละเอียดและก็สนุกกว่าเดิมค่ะ
พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *