อยากทำธุรกิจกับคนญี่ปุ่น…ต้องคนนี้

2357 0

(บรรยายหญิง)
ถ้าอยากทำธุรกิจกับคนญี่ปุ่น จะเริ่มที่ตรงไหนดี (กันตธร) ก็ญี่ปุ่นมี 47 จังหวัด ผมเคยทำงานให้ทั้งหมด
ประมาณ 29 จังหวัดครับ
ตอนนี้

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย)
ถ้ามีไอเดียที่อยากไปไกลถึงแดนซากูระ
แต่ไม่รู้จะนำไปทำให้เป็นจริงได้อย่างไร ใครจะช่วยได้ (ฟูจิ) ถามว่า คุณกันตธรเป็นใคร คุณกันตธรเป็นซูเปอร์ฮีโร่ (Super Hero) (กันตธร) คือผมก็ทำธุรกิจประสานงานอยู่ แล้วก็งาน ส่วนใหญ่จะเป็นพวก
Business Matching กับ Event ปีที่แล้วมีงานจัด ชื่อ เอฟไอที (FIT) (ฟูจิ) เอฟไอที (FIT)
(กันตธร) งานเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง ประมาณ 120 กว่าบูทมั้งครับ
วันนี้ดูให้รู้มีคำตอบ ตามฟูจิเซ็นเซไปด้วยกันค่ะ
(กันตธร) แม่ผมสอนมาบอกว่า
ถ้าไม่รู้ให้ยอมโง่ครั้งเดียวครับ
เวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต
ที่เราจะได้สัมผัสกับงานจริง ๆ มีอยู่แค่ประมาณ 8 ปี ต่อให้คุณเป็นซามูไร

แต่…

ถ้าคุณถือดาบทื่อ ๆ คุณฟันไม่ชนะหรอก คือสิ่งที่ผมให้ความสำคัญ
ในชีวิตส่วนตัวผม คือการ…
ถ้าเทียบก็คือ
เหมือนการลับคมของดาบซามูไร (ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ทำรายการดูให้รู้มาหลายปี เราพบว่า คนไทยอยากทำธุรกิจ
กับคนญี่ปุ่นกันไม่น้อยนะคะ ทั้งธุรกิจระดับเล็ก ใหญ่ และก็มีคำถามมาเสมอว่า การจะเข้าไปติดต่อทำการค้า
กับคนญี่ปุ่นยากง่ายอย่างไร วันนี้เรามีคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ทำงานอยู่ในแวดวง
ไทย-ญี่ปุ่น มามากกว่า 10 ปี จะมาเฉลยให้เรารู้กันค่ะ
(ฟูจิ) คุณผู้ชมครับ

วันนี้ผมมาอยู่ที่ประเทศไทย ทำไมถึงมาที่นี่ครับ
มาเจอท่านประธานท่านหนึ่งนะครับ
ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ
ถ้าเราต้องการไปขายของที่ประเทศญี่ปุ่น
แต่เราไม่รู้ว่าจะติดต่อใคร แล้วคนญี่ปุ่นอยากมาทำธุรกิจที่ประเทศไทย ไม่รู้ว่าจะติดต่อใคร คนคนนี้เป็นสะพานเชื่อม
ระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น และ ญี่ปุ่น-ไทย ท่านหน้าตาเป็นอย่างไร หล่อเหลาอย่างไร ไปดูกันครับ
อิคิมาโช ไปกันครับ
ห้องท่านประธานอยู่นี่ ไปเจอกันดีกว่า (ฟูจิ) คนนิจิวะ (กันตธร) คนนิจิวะ (ฟูจิ) สวัสดีครับ
(กันตธร) สวัสดีครับ
คุณกันตธรใช่ไหมครับ
ครับ
ใช่ครับ
ยินดีต้อนรับครับ
ผม – ดีใจที่ได้เจอกันครับ

– ครับ
(ฟูจิ) แล้วในช่วงนี้เป็นอย่างไรครับ
(กันตธร) ตอนนี้ส่วนใหญ่ก็ทำงานที่บ้านครับ
Work from home ครับ
ก็มีเฉพาะบางส่วนที่มาทำงานที่ออฟฟิศ
แต่กลายเป็นว่างานยุ่งครับ
ตอนนี้ เพราะว่าทางบริษัทผม… ส่วนใหญ่จะทำงานเป็น Event Organize และประสานงานธุรกิจ
ให้ลูกค้าที่เป็นภาครัฐญี่ปุ่น ที่นี้ตอนนี้ก็เลยกำลังคุยกับพวกภาครัฐญี่ปุ่นอยู่ว่า เราสามารถที่จะหางาน
หรือว่าคิดมาตรการอะไร ที่จะช่วยร้านอาหารญี่ปุ่นที่อยู่ในเมืองไทย เพราะ
ถ้าร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทยปิดกิจการไป วัตถุดิบญี่ปุ่นที่จะส่งจากญี่ปุ่นมา ก็ส่งได้น้อยลง
เพราะฉะนั้นเขาก็เลยพยายามว่า จะทำอย่างไรก็ได้ ให้ตัวร้านอาหารญี่ปุ่นที่อยู่ในเมืองไทย ยังสามารถดำเนินกิจการได้ ผมก็พยายามจะคุยกับเขา และก็ทำงานกับเขามาค่อนข้างเยอะครับ
ในการช่วยผู้ประกอบการญี่ปุ่น ตั้งแต่บริษัท SME ถึงบริษัทใหญ่ ที่จะให้มาทำธุรกิจในเมืองไทยครับ
ผม เป็นมาอย่างไร
คือเคยอยู่ที่สถานทูตไทยในญี่ปุ่น ใช่ครับ
ผมไปอยู่ญี่ปุ่น 10 ปีครับ
ก็ไปเรียนปริญญาตรีที่โน่น เสร็จปุ๊บก็ทำงานที่สถานทูตไทยที่โตเกียว กลับมาเมืองไทยผมก็ไม่มีอะไรติดมือมาเลย เพระว่าผมเรียนเมืองไทยแค่ ม.6 กลับมาผมก็เป็นล่ามฟรีแลนซ์ (Freelance) ก่อน สิ่งที่ผมทำได้อย่างเดียวตอนนั้นก็คือ
เป็นล่ามฟรีแลนซ์ พอเป็นล่ามให้เขา เขาก็ถามต่อว่า ทำอย่างนั้นได้ไหม ทำอย่างนี้ได้ไหม ผมไม่มีตังค์ ผมก็ต้องทำทุกอย่างที่ผมทำได้ ก็ไม่ปฏิเสธงาน
แต่ว่าสิ่งที่พวกผม
หรือบริษัทผมพยายามทำอยู่ตอนนี้ก็คือว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้บริษัทญี่ปุ่น ที่เขาอยากทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทย ก็ได้เจอกับคนไทยที่อยากทำธุรกิจกับที่ญี่ปุ่น (ฟูจิ) แสดงว่ายังมีบริษัทญี่ปุ่นอีกเยอะ
(กันตธร) ครับ
ที่อยากจะมาเปิดที่ประเทศไทย
แต่ไม่รู้จัก ญี่ปุ่นมีบริษัทอยู่ 4 ล้านบริษัทครับ
(ฟูจิ) 4 ล้านบริษัท 4 ล้านบริษัทครับ
คิดว่ายังคงมีอีกเยอะครับ

ที่ยังไม่รู้จักผมครับ
ก็ญี่ปุ่นมี 47 จังหวัด ผมเคยทำงานให้ทั้งหมด
ประมาณ 29 จังหวัดครับ
ตอนนี้ เป็นคนเดียวในประเทศไทย
ถ้าเป็นที่คนไทยทำน่าจะมีผมคนเดียวครับ
(บรรยาย) โอ้โฮ นี่เราพบกับตัวจริงเลยนะคะนี่ เป็นคนไทยคนเดียว
ที่ประสานงานความร่วมมือทางธุรกิจ ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น อย่างจริงจังเป็นทางการ และทำในระดับองค์กรขนาดใหญ่ด้วย อยากฟังรายละเอียดการทำงาน
ของคุณกันตธรลึก ๆ แล้วละค่ะ
(กันตธร) นี่ก็มีห้องสัมมนาครับ
นั่งแบบเก้าอี้อย่างเดียว
ก็ประมาณเกือบ 50-60 คนครับ
คือผมก็ทำธุรกิจประสานงานอยู่ แล้วก็งาน ส่วนใหญ่จะเป็นพวก
Business Matching กับ Event งานอิเวนต์ (Event) ที่ผมเคยทำที่ใหญ่ที่สุด ก็ปีที่แล้วมีงานจัด ชื่อ เอฟไอที (FIT) งานเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเองที่พารากอน ชั้น 5 ผมก็มีพาร์ตเนอร์ (Partner) ฝั่งญี่ปุ่น และก็ทางเมืองไทย
ผมเป็นออร์แกไนเซอร์ (Organizer) ที่จัดอยู่ประมาณ 120 กว่าบูท (Booth) มั้งครับ
(ฟูจิ) เจ๋งมากเลย ก็เป็นคนสร้างบูท โอเปอเรต (Operate) งาน (ฟูจิ) สร้างบูท ใช่ แล้วก็เจอกับจังหวัดต่าง ๆ ที่เขาอยากจะมาประชาสัมพันธ์ แล้วก็บวกบริษัททัวร์ โรงแรม (ฟูจิ) ญี่ปุ่นก็ได้รายได้ดีด้วย (กันตธร) ครับ
ๆ (ฟูจิ) และก็คนไทยได้ไปเที่ยวด้วย (กันตธร) ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครับ

(ฟูจิ) ดีจังเลย

[เสียงหัวเราะ]

สนุก ได้ทำหลาย ๆ อย่างครับ
ก็ตั้งแต่เรื่องอุตสาหกรรม (ฟูจิ) หลายอย่างมาก
(กันตธร) ปีที่แล้วมีสตาร์ตอัป (Startup) เครื่องมือแพทย์ อาหาร และก็มีท่องเที่ยว ที่ผ่านมาทำมากี่สิบบริษัท –
ถ้า SME ญี่ปุ่น ก็เกือบสองพันกว่าบริษัทครับ

– 2,000 บริษัท – ครับ
สองพันกว่าบริษัท
– โอ้โฮ (บรรยาย) ทั้งหมดที่เล่ามาคือประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในงานนี้มาถึงสิบปีแล้วค่ะ
เป็นสิบปีที่เกิดจากการสั่งสมความรู้ ในเรื่องเกี่ยวกับญี่ปุ่นมาตั้งแต่อายุ 18 ปี เมื่อได้ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เคยผ่านการทำงานทั้งพนักงานส่งพัสดุ พ่อครัวในร้านอาหาร จนไปถึงการได้ทำงานในสถานทูตไทยในญี่ปุ่นค่ะ
ซึ่งงานนี้นี่แหละค่ะ
ที่ทำให้ได้เห็นนโยบายทั้งไทย-ญี่ปุ่น และก็กลายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ในอนาคตการทำงานมากค่ะ
ทำงานที่สถานทูตดีอยู่แล้ว ทำไมกลับมาเมืองไทยครับ
แค่มีความรู้สึกว่า… ผมค่อนข้างได้รับโอกาสจากคนอื่นมาเยอะ ทีนี้สิ่งหนึ่งที่ผมอยากทำมาก ๆ ก็คือว่า ผมอยากจะเหมือนส่งคืนครับ
ส่งคืนสิ่งต่าง ๆ ที่ผมได้รับมาให้กับคนเยอะ ๆ คุณออยเป็นคนที่ Active
มากกว่าคนอื่นหรือเปล่า ถึงมีโอกาสมากกว่า เพราะธรรมดาแล้ว
ทุกคนมีโอกาสคล้าย ๆ กัน คือโอกาสมันเดินผ่านเราไปตลอดเวลา ใช่ เพียง
แต่เราจะเห็นว่ามันเป็นโอกาสไหม คืออย่างตอนนี้ทุกคนจะคิดว่า ไม่มีงาน ทุกคนไม่ซื้อกัน
แต่ผมก็คิดก่อนแล้วว่า
ถ้ามันจะเป็นอย่างนี้ไปอีกครึ่งปี หนึ่งปี ผมไม่รอดแน่ ๆ มันก็จะทำให้เราคิดต่อไปว่า แล้วทำอย่างไร คือเราต้องนึกภาพก่อนครับ
ว่า เราจะเจ๊งอย่างไรครับ
คนที่รู้ว่าทำอย่างไรบริษัทจะเจ๊ง ขอแค่เขาทำกลับกันครับ

แล้วบริษัทจะไม่เจ๊ง กลับกันก็คือ
ถ้าอะไรจะเจ๊งอย่าทำ ทำทุกอย่างที่ตรงข้าม
ที่จะทำให้บริษัทเจ๊งทั้งหมด อย่างเช่น
ถ้าเรารออยู่เฉย ๆ เรารู้ว่าเจ๊งแน่ ๆ
ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำ คือ ห้ามรอครับ
ผมก็ประชุมกับทีมผมเสร็จปุ๊บ ผมติดต่อลูกค้าที่เป็นลูกค้าประจำ อย่างเจโทร และหน่วยงานส่งเสริม SME ของญี่ปุ่น บอกเขาเลยว่า บอกตรง ๆ เลยนะครับ

ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปไม่ใช่เฉพาะธุรกิจผม ธุรกิจหลาย ๆ ธุรกิจกำลังจะเจ๊ง ผมก็เลยปรึกษาเขาตรง ๆ เลย มีอะไรที่ให้ผมช่วยได้บ้าง เราก็คุยกันกับลูกค้า
ว่ามันมีปัญหาอย่างนี้ คุณช่วยผมได้ไหม ผมบอก
ถ้าผมทำอะไรได้
ผมพยายามทำทุกอย่างครับ
ผมทำงาน ผมทำธุรกิจ
ผมชอบคิดอย่างนี้ครับ
ว่า เราต้องทำในสิ่งที่คนอื่นเขาทำไม่เป็น หรืออาจจะทำได้
แต่ไม่อยากทำ ไม่กล้าทำ แล้วยิ่งทำ ลูกค้าก็จะยิ่งเห็น งานส่วนใหญ่ที่ผมได้มา ก็เป็นงานที่ผมลองทำดูก่อน จากที่ยังไม่ต้องมีลูกค้า ไม่ต้องมีรายได้ อย่ารอว่าต้องจ่ายตังค์ก่อนถึงทำให้ คุณจะไม่ได้งานต่อครับ
ผมจะต้องให้ลองก่อน ไอเดียพวกนี้ได้จากไหนครับ

ถ้าพูดถึงเรื่องวิธีการคิด
หรือ Mindset นะครับ
อย่างแรกเราต้องเห็นภาพ เราประสบความสำเร็จในหัวก่อนนะครับ
ภาพที่ผมประสบความสำเร็จในหัวตอนนี้ก็คือว่า ผมสร้างงาน สร้างธุรกิจให้กับทั้งสองประเทศนะครับ
สุดท้ายผมอาจจะโชคดี ผมอาจจะได้รางวัลจากราชวงศ์ญี่ปุ่น หรืออะไรผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คุณเป็นคนหนึ่งนะ
ที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น
เพราะฉะนั้นที่อยากจะแนะนำก็คือ ต้องนึกภาพตัวเองให้ออกก่อนครับ
ว่าตัวเองประสบความสำเร็จ
เห็นภาพตัวเองอย่างไร เสร็จแล้วที่เหลือก็แค่มาวางแผนครับ
ว่า สมมติผมอยากได้อะไรสักอย่างตอนอายุ 60-70 ผมก็จะนึกย้อนมาว่า
ถ้า 70 ผมเป็นอย่างนี้ 60 ผมต้องทำอะไร 50 ผมต้องทำอะไร 40 ผมต้องทำอะไร มองภาพเป้าหมายยาว ๆ แล้วก็ค่อย ๆ วางแผน ที่เหลือคือ ลองทำ ครับ
(บรรยาย) ไม่แปลกใจเลยนะคะ ที่คุณกันตธรมีความก้าวหน้า
ในการทำงานมาได้ขนาดนี้ เพราะแนวคิดเบื้องหลัง
ในการดำเนินชีวิตดีมากจริง ๆ ค่ะ
คือมองเป้าหมายสุดท้าย แล้วพยายามก้าวไปทีละขั้นให้ถึงจุดนั้น ไม่ใช่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ และที่สำคัญอีกอย่างคือ… เดินเข้าไปหาโอกาส ไม่ใช่ให้โอกาสเดินเข้ามาหาเรา
แต่ก็แน่นอนว่าอุปสรรคต้องเกิด และเมื่อเกิดแล้ว ทำอย่างไรต่อดีละคะ (ฟูจิ) แล้วอุปสรรคที่เคยเจอแบบหนัก ๆ อย่างนี้ แล้วข้ามมันมาได้อย่างไร
หรือว่าจัดการอย่างไร ที่เรียกว่าวิกฤติมากสำหรับผมครั้งหนึ่ง ก็ตอนช่วงปี ค.ศ. 2015
ที่ผมเคยได้งานใหญ่ ที่แบบว่าปีหนึ่งเป็นหลัก 10 ล้านบาท แล้วผมก็ถามเขาว่าปีต่อไปจะได้ต่อไหม เขาบอกยังไม่รู้ ๆ พอมาถึง 2016 ปรากฏว่างานไม่ได้ครับ
หมายถึงว่าตอนนั้นเราทุ่มกับเขา แล้วงานอื่นเราแถบไม่ได้ทำ งานอื่นทำน้อยครับ

ใช่ ทำกับเขา แล้วก็… เพราะมันเหนื่อย เพราะมันใหญ่ มันใหญ่ครับ
ผมก็ตั้งสติใหม่ โอเค คราวนี้งานเล็กแค่ไหนผมก็ทำแล้ว งานหลักแสนผมก็ทำแล้ว ก็บอกพนักงานทุกคนนะครับ
ว่า เราต้องโกย ผมบอกว่าต้องใช้โกย จากปีหนึ่งผมรับงานไม่กี่งาน ไม่ถึง 10 งาน งานที่เป็นโพรเจกต์ ปีนั้นกระโดดขึ้นมาเท่าตัว วิกฤติครั้งนั้นมันทำให้ผมต้องปรับตัวก็คือ… รับงานเล็ก ๆ ได้หลายงานมากขึ้นนะครับ
กลายเป็นว่าผมต้องรับคนเพิ่ม รับทีมเพิ่ม ก็กลายเป็นว่าจากที่รันโพรเจกต์ไปน้อย ๆ กลายเป็นว่าตอนนี้… รันโพรเจกต์ได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ โพรเจกต์ เพราะว่าผมก็มีทีม
มี Project Manager หลายคน ที่เรียกว่าโตและก็ได้ประสบการณ์
จากวิกฤติครั้งนั้นครับ
(บรรยาย) เราได้อะไรมากมาย
จากการพูดคุยในครั้งนี้นะคะ และสิ่งที่คุณกันตธรเล่าแล้วดีมาก ๆ ซึ่งคุณผู้ชมสามารถนำไปปรับใช้ได้แน่ คือคำนี้ค่ะ
แม่ผมสอนมาบอกว่า
ถ้าไม่รู้ให้ยอมโง่ครั้งเดียวครับ
อันนี้เป็นคำคมมาก ๆ นะครับ
(ฟูจิ)
ถ้าไม่รู้ ยอมโง่และถามครั้งเดียวครับ
ว่าอย่างตอนนี้ผมเริ่มอายุเยอะแล้ว อยู่ดี ๆ ผมจะไปถามน้องที่อายุน้อยกว่า มันก็จะรู้สึกว่ามีความอาย
มีความอะไรอย่างนั้น ผมจะพูดว่า
ผมขอถามเป็นความรู้หน่อยครับ
ผมจะพูดเสมอ
ถ้าเรื่องไหนผมไม่รู้นะ ผมขอถามเป็นความรู้หน่อย หรือพี่ขอถามเป็นความรู้หน่อย
ช่วยบอกนิดหนึ่งว่า ทำไมมันเป็นอย่างนั้น
ทำไมมันเป็นอย่างนี้ อะไรอย่างนี้ครับ
(บรรยาย) คิดว่าในตัวคุณกันตธรมีคัมภีร์มากมาย ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจหรือทำอะไรก็ตาม แล้วอยากประสบความสำเร็จแบบคนที่มีหัวใจ ซึ่งหัวใจในที่นี้ก็คือ ความต้องการอยากช่วยเหลือ
ผู้ที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ และสร้างธุรกิจร่วมระหว่างไทย-ญี่ปุ่นค่ะ
– ตอนนี้ทำงานให้กับภาครัฐและเอกชนด้วย
– ครับ
ๆ ลูกค้าส่วนใหญ่ของผมที่บอกว่าเป็นภาครัฐนะครับ
ก็จะมีเจโทร (JETRO) เจโทรก็เป็นเหมือน… กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น และก็มีพวกหน่วยงานส่งเสริมอื่น ๆ ครับ
อย่างเช่น ที่ชื่อ SMRJ
ภาษาญี่ปุ่นเรียก ชูโชคิโค มันก็เหมือนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมประเทศไทย ที่ช่วย SME ญี่ปุ่นนะครับ
แล้วก็พวกจังหวัด จังหวัดต่าง ๆ เขาก็จะมีสำนักงานจังหวัด ก็
ถ้าเป็นจังหวัด
ก็จะเป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ ครับ
เรื่องแรกก็คือ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ชวนคนไทยให้ไปเที่ยวจังหวัดเขา และอีกเรื่องหนึ่งก็คือส่งเสริมเรื่องการส่งออก ก็คือเขาก็พยายามจะเอาของดีของหวัดเขา
มาขายที่เมืองไทย ก็มีตั้งแต่ผลไม้ อาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค ก็แล้ว
แต่ครับ
(บรรยาย) คุยมาถึงตรงนี้
เราอยากรู้แล้วละค่ะ
ว่า ความสัมพันธ์ทางธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นนั้น มีมากน้อยเพียงใด อะไรคือกุญแจที่จะทำให้การค้าของสองประเทศ
ประสบความสำเร็จคะ ผมว่าสิ่งที่คนไทยเรามองบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่น เรามองเพื่อเรารอรับโอกาสกับเขา คุณมาลงทุนสิ คุณเอาเทคโนโลยีมาสิ คุณจ้างงานคนไทยเยอะ ๆ สิ
แต่เราไม่ค่อยเคยเข้าไปถามเขาเลยว่า คุณมีปัญหาอะไรไหม คนญี่ปุ่นคุณถูกส่งมาอยู่ที่เมืองไทย คุณไม่สบายใจเรื่องอะไรบ้าง คือเราต้องสร้างพันธะ มิตรภาพ อะไรที่มันเป็นเหตุผล ที่ทำให้เขาได้อยู่ที่เมืองไทย
มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ สิ่งที่จะดึงให้คนอยู่กับคนให้มากที่สุด ที่ผมใช้คำว่า ทรัสต์ (Trust) ความเชื่อถือหรือความเชื่อมั่น ซึ่งสิ่งนี้มันจะเกิดมาได้ ต้องมีสเต็ป (Step) แรกคือการสื่อสาร
เพราะฉะนั้นการที่บริษัทญี่ปุ่นมาลงทุน คนญี่ปุ่นถูกส่งมาทำงานเมืองไทย 3-4 ปีแล้วส่งกลับ ๆ ระหว่างนั้น
ถ้ามันไม่มีการสื่อสาร มันก็จะเป็นแค่นายกับลูกน้อง วันกลับ
คนญี่ปุ่นก็จะไม่มีความประทับใจกับที่เมืองไทย ผมก็มาทำงาน 3-4 ปี
ผมครบวาระแล้ว ผมกลับญี่ปุ่น ที่คุณออยทำงานคลุกคลีกับคนญี่ปุ่น คนไทย อยากทราบจังเลยว่า คุณญี่ปุ่นเขาไม่ชอบอะไรคนไทย เราจะได้ปรับใช้ได้ เวลาที่คนไทยทำงาน คือวิธีการทำงานมันอาจจะไม่เหมือนคนญี่ปุ่น สิ่งที่ญี่ปุ่นเขาแตกต่างกับไทยแล้วกันครับ
แล้วเลือกทำให้รู้สึกว่าไม่ชอบคนไทยก็คือว่า คนไทยสื่อสารน้อยและก็ขาดการวางแผน คนญี่ปุ่นเป็นคนที่ชอบวางแผนมาก เพราะว่า…

ถ้าเราย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เขาเป็นประเทศที่อยู่บนเปลือกโลกสี่แผ่นมาชนกัน ภัยธรรมชาติเยอะ ไต้ฝุ่นปีหนึ่ง 20 กว่าลูก ขึ้นฝั่งปีละ 4-5 ลูกทุกปี แผ่นดินไหวปีหนึ่ง
แบบที่สัมผัสได้และสัมผัสไม่ได้ 5-6 พันครั้งต่อปี เขาอยู่กับความเสี่ยงตลอดเวลา การทำงานที่มันซึมซับอยู่ใน DNA ของคนญี่ปุ่น
คือการวางแผนครับ
คนญี่ปุ่นพอเป็นเรื่องของการทำงาน เขาจะเน้นเรื่องของความจริงจัง กลุ่มหรือองค์กรจะถูกขับเคลื่อนได้
ด้วยความซีเรียส (Serious) ผมใช้คำว่า ซีเรียสไดรฟ์ (Serious Drive) ขับเคลื่อนด้วยความเครียด
แต่ของคนไทยนี่เราเป็นฟันไดรฟ์ (Fun Drive) คือกลุ่มหรือองค์กรเราขับเคลื่อนได้ด้วยความสนุก
แต่ผู้บริหารญี่ปุ่นเขาอาจจะมองมุมนั้นไม่ออก มันก็เลยทำให้เขารู้สึกว่า คนไทยเหลาะแหละ ไม่จริงจัง เปิดเพลงระหว่างทำงาน กินขนมระหว่างทำงาน คุยเรื่องส่วนตัวระหว่างทำงาน อะไรอย่างนี้ กลายเป็นมองเป็นอย่างนั้นไป
แต่คนไทยก็มองว่า ทำไมคนญี่ปุ่นต้องซีเรียสจริงจังมากขนาดนั้น แค่ทำงานไม่ใช่หรือ อะไรอย่างนี้ครับ
ก็เลยทำให้คนญี่ปุ่นและคนไทย อาจจะมีบางส่วนที่ไม่ได้คลิก (Click) กัน
ร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับ
ถามว่าคนญี่ปุ่นซีเรียสตลอดเวลาไหม มีใครนั่งซีเรียสในร้านเหล้าไหม ไม่มี ทุกคนหัวเราะคุยเรื่องขำ (ฟูจิ) ตะโกนกัน โอ๊ย แบบว่าเต็มที่มาก จริง ๆ ญี่ปุ่นก็เป็นคนรักสนุกครับ
เพียง
แต่ว่าในเวลางานเขาต้องทำตัวซีเรียส เพราะว่ามันอยู่ในหน้าที่การงานของเขา พอเดินออกจากบริษัทหกโมง เดินเข้าอิซากายะก็เปลี่ยนโหมดอีกคนหนึ่ง
แต่แค่คนไทยไม่เคยไปสัมผัสเจอตรงนั้นแค่นั้นเอง คือประเทศไทยอาจจะมีแบบว่า ในน้ำมีปลา… (กันตธร) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ก็เลยค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปก็ได้ ไม่ต้องจะต้องทำอะไรเยอะ ทำไมต้องไปลุยถึงขนาดนั้น มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ตรงมุมความคิดหรือถูกส่งมาไหม ผมว่าเกี่ยวครับ
ผมยกตัวอย่างเรื่องเวลา เรื่องเวลา ทุกคนจะรู้ โอ้โฮ ญี่ปุ่นเวลาเป๊ะมาก ลองสังเกตนะครับ
ประเทศที่ค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับเรื่องเวลา
และก็กับเรื่องวางแผน ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่มีฤดูหนาว และก็เป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติ
แต่ประเทศที่อยู่ในเขตร้อน อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และก็มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะ ๆ ไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องเวลาเยอะ เพราะตื่นมาเมื่อไรก็ร้อนทุกวัน
แต่ญี่ปุ่นนี่
ตอนหน้าหนาว โอ้โฮ มันหนาวจริง ๆ คือเขารู้แล้วว่า
พอมีจำกัดปุ๊บ ก็จะเห็นความสำคัญ อย่างที่คุณฟูจิก็ทราบ ทำไมซากูระคนญี่ปุ่นถึงให้ความสำคัญ เพราะมันเป็นสัญลักษณ์
ของการที่จะเริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิ กำลังจะเริ่มร้อน แล้วสำคัญมันบานแค่ อาทิตย์-สองอาทิตย์ ไม่เกิน – โอ้โฮ คุณค่ามาทันที
– ฝนตก ฝนตกปุ๊บ ใบร่วงเลยทันที

แต่…

ถ้าซากูระบานทั้งปีมีใครสนไหม ไม่มีใครสน (บรรยาย)
ถึงแม้ว่าการพูดคุยครั้งนี้ จะไม่ได้มีกิจกรรมให้ทำ อาจจะดูซีเรียสจริงจัง
แต่เราพบว่า เนื้อหาที่คุณกันตธรพูด เป็นสิ่งที่กลั่นกรอง และก็คั้นออกมาจากประสบการณ์ ในการทำงานระหว่างไทย-ญี่ปุ่น และคิดว่าจะเป็นประโยชน์มาก กับคนที่ทำงานกับคนญี่ปุ่น และคนที่ทำธุรกิจร่วมไทย-ญี่ปุ่นค่ะ
ทิศทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
ในมุมมองของคุณออย ผมคิดว่า ผมเห็นโอกาสของทั้งสองประเทศว่า อย่างญี่ปุ่นตอนนี้เขาเป็นสังคมคนชรา ที่เป็นแบบ Super Aging Society แล้วก็ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศเขาเอง
ก็มีน้อยอยู่แล้วนะครับ

แต่สิ่งที่ญี่ปุ่นมีนั่นก็คือ… ประสบการณ์ในการที่จะพัฒนา
ตัวเศรษฐกิจที่ผ่าน ๆ มา แล้วก็เรื่องของการคิด คนญี่ปุ่นเป็นคนที่ชอบคิด ส่วนประเทศไทยเอง
เรามีทรัพยากรธรรมชาติ แล้วเราเองก็มีพื้นที่ติดกับประเทศรอบข้างนะครับ
หลัก ๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นคือ… ผมว่า เมืองไทยจะเป็นฐาน… ที่ญี่ปุ่นจะเข้าสู่อาเซียนได้ดีมาก ๆ ด้วย
เนื่องจากพอคนญี่ปุ่น
บริษัทญี่ปุ่นในเมืองไทยก็มีอยู่เยอะอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ต่อจากนี้ที่น่าจะเป็นก็คือว่า เราจะขยายความร่วมมือเชิงธุรกิจ
ถ้าเป็นใกล้ ๆ ก็จะมีเวียดนาม มีกัมพูชา… มีลาว มีพม่า และก็ลงไปถึงมาเลเซีย ผมว่าน่าจะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหญ่นะครับ
เศรษฐกิจหนึ่งที่ญี่ปุ่นจะมาทำคนเดียวก็ลำบาก ประเทศไทย ญี่ปุ่น น่าจะสามารถที่จะจับมือ เมื่อก่อนญี่ปุ่นมาที่เมืองไทย มาตั้งโรงงาน มาทำอะไร โอเค เราทำมา 50-60 ปีแล้ว ก็คือทำไป คือเราจูงมือ จูงมือไป แล้วก็ไปลงทุน
ในประเทศเพื่อนบ้านกัน ประเทศใกล้ ๆ กัน เพราะว่าอย่างน้อยก็มีประชากร 300 กว่าล้านคน
ถ้าขอแค่ญี่ปุ่นไม่ได้ขายให้ญี่ปุ่นด้วยกัน มาทำร่วมกับคนไทย มาออกด้านข้าง มาทำงานร่วมกับบริษัท SME ไทย มาซื้อขายกับบริษัทไทยที่ระดับใกล้ ๆ กัน แค่นี้ผมว่ามันจะสร้างให้เงินมันหมุน ทำให้เกิดศึก เกิดมูลค่าอีกตั้งเยอะแยะมากมาย
เพราะฉะนั้นแค่ญี่ปุ่นมาซื้อขายกับญี่ปุ่น
เมืองไทยยังได้แค่นี้
ถ้าขยายออกด้านข้าง
ซื้อขายกับบริษัทจะยิ่งได้เพิ่มมากอีกเรื่อย ๆ SME ไทย
ถ้าอยากทำกับญี่ปุ่นก็ติดต่อ… ติดต่อผมก็ได้ ติดต่อเจโทรก็ได้ครับ
ติดต่อเจโทรก็ได้ครับ
บริษัทญี่ปุ่นจริง ๆ
อยากจะทำธุรกิจกับบริษัทไทยเยอะมากเลยนะครับ
ขอแค่
ถ้าเราเป็นฝ่ายที่เราจะพยายามเข้าหาเขา ขอเป็นฝ่ายที่เราพยายามที่จะลองคุยกับเขา ผมว่าโอกาสเยอะมากเลยครับ

โอกาสเยอะมากครับ
(บรรยาย) ฟังแล้ว SME ไทยท่านใดสนใจ ลองติดต่อคุณกันตธรดูไหมคะ เผื่อจะพบเห็นลู่ทาง ที่ทำให้เกิดการเปิดตลาดใหม่ก็เป็นไปได้ค่ะ
และในช่วงโควิดเราจะอยู่รอดอย่างไร หรือว่าเป็นอย่างไรครับ
หลังจากนี้แล้วกันครับ
ผมคิดว่า ย้ำว่าคือเป้าหมายเราต้องชัดนะครับ
เพราะ
ถ้าเป้าหมายเราชัดแล้ว ต่อให้สถานการณ์มันจะดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้นอย่างไร เราจะคิดออกว่า เราควรจะต้องปรับตัวอย่างไร ผมก็คิดเล่น ๆ นะครับ
ว่า
ถ้าโลกมันไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมแล้ว มันมีโอกาสนะครับ
ใช่ อาจจะไม่สามารถคิดวัคซีนขึ้นมา หรือถึงคิดวัคซีนขึ้นมาแล้วมันกลายพันธุ์ โลกเราอาจจะไม่มีวัน
กลับเป็นเหมือนเดิมแล้วก็ได้นะครับ
คือ
ถ้าโลกเราไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิม เราก็ต้องเปลี่ยนตัวเองแน่ ๆ อยู่แล้ว เราไม่รู้หรอกว่ามันจะยืดเยื้อไปเมื่อไร สิ่งที่เราต้องปรับ
ไม่ใช่รอคนอื่น เราก็ปรับตัวเอง เป้าหมายชัด 2. Be Positive มองโลกในแง่ดีเข้าไว้
มีความหวังเข้าไว้ แล้วก็คิดเลยว่า
โลกจะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว แล้วมันจะทำให้เราปรับตัวได้เร็วขึ้น (บรรยาย) จริงค่ะ

ตอนนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับโควิด-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่เราแทบจะนึกไม่ถึงว่ามันจะเกิดขึ้น ความเสียหายดูเหมือนจะยิ่งใหญ่กว่าภัยทางธรรมชาติ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดเสียอีก และเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก แล้วเราคิดว่าจะต้องมีความเปลี่ยนแปลง
ในพฤติกรรมมนุษย์อีกมาก หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้
แต่ขอให้มองเป็นเรื่องของการปรับตัว แล้วเราจะอยู่กับมันได้ค่ะ
อนาคตมีเป้าหมายอย่างไร
และก็อยากสร้างอะไร คือเป้าหมายผมยังคงเหมือนเดิมครับ
เป็นสะพานเชื่อมธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น
แต่ว่า
ถ้าผมทำได้ ผมก็อยากจะเป็นสะพานเชื่อมธุรกิจ
เป็นอาเซียนกับญี่ปุ่น การที่คนญี่ปุ่นจะออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ไปประเทศในอาเซียน เขาไปคนเดียว กับมีคนไทยไปด้วย ผมว่ามีคนไทยไปด้วยเขาต้องใจชื้นมากกว่า – แน่นอนอยู่แล้ว
– อ๋อ อุ่นใจ ใช่ อุ่นใจมากกว่า และก็ผมว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็สูงกว่า ฉะนั้นก็
ถ้าอยากจะขยายก็คือ… จากที่แค่เป็นญี่ปุ่น-ไทย ก็เป็นอาเซียนกับญี่ปุ่นในอนาคตครับ
(บรรยาย) น่าสนใจมากนะคะ
แต่ที่กำลังจะฟังต่อไปน่าสนใจกว่าอีกค่ะ
เพราะเหมือนว่า… เราอาจจะไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย ฟังดูค่ะ
ผมก็เคยมานั่งคิด เผื่อจะเป็นแนวคิดให้กับทุก ๆ คนนะครับ
สมมติว่าผมจะทำงานถึงอายุเท่าไร ผมก็มาดู ปีหนึ่งมี 365 วัน
แต่เรามีหยุดเสาร์-อาทิตย์ใช่ไหมครับ
ผมก็ลบออกไปนะครับ
วันหนึ่งมี 24 ชั่วโมง เราก็นอนกัน 5 6 7 ชั่วโมงแล้ว ก็ลบออกไป ผมก็แค่เอาเวลาที่เราจะได้สัมผัสกับงานจริง ๆ มาลองคำนวณดู ผมคิดเคาะตัวเลขนี้ตอนสักอายุ 30 ครับ
แล้วปรากฏว่า… เวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต
ที่เราจะได้สัมผัสกับงานจริง ๆ มีอยู่แค่ประมาณ 8 ปี – 8 ปีเอง คิดแล้วมันน้อยเนอะ
– 8 ปีเอง น้อยมาก ๆ พอคิดเสร็จปุ๊บผมเห็นเลย…ตายแล้ว พอเห็นอย่างนี้ปุ๊บ Lifestyle ผมก็จะเริ่มให้ความสำคัญ
กับทุก ๆ งาน ทุก ๆ เวลามากขึ้น ก็ต่อให้คุณเป็นซามูไร

แต่…

ถ้าคุณถือดาบทื่อ ๆ ต่อให้คุณเก่งแค่ไหน (ฟูจิ) ฟันยาก
(กันตธร) คุณก็ฟันไม่ชนะหรอก คือสิ่งที่ผมให้ความสำคัญในชีวิตส่วนตัวผมคือการ…
ถ้าเทียบก็คือเหมือนการลับคมของดาบซามูไร (ฟูจิ) วิธีการลับคือ… คือตั้งแต่เรื่องการอินพุต (Input) หาข้อมูล ฟังพอดแคสต์ (Podcast) อ่านบทความ คุยกับคน คือมันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้นอกเวลางาน แล้วกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง มันจะช่วยทำให้ผมทำงานได้ดีกว่าเดิม ทำงานได้เร็วกว่าเดิม และก็ผิดพลาดได้น้อยกว่าเดิมครับ
(บรรยาย) ฟังกันมาร่วมชั่วโมง
มี
แต่ความรู้สึกที่ว่า จริงด้วย อย่างนั้นเลย ทำไมเราไม่เคยคิดมาก่อนเลยนะ เกิดขึ้นในหัวนะคะ คุณกันตธรพูดได้ตรงจุด ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ลักษณะนิสัยของเราที่เหมือนและก็ต่างกัน รวมทั้งหลักในการทำงาน และการใช้ชีวิตที่เราไม่ควรจะมองข้ามเลยนะคะ แม้
แต่ฟูจิเซ็นเซเอง ก็ยังสนุกกับการคุยครั้งนี้มากเลยค่ะ
ถามว่าคุณกันตธรเป็นใคร ผมบอกว่า คุณกันตธรเป็นซูเปอร์ฮีโร่
ถ้าขาดเขา คนญี่ปุ่นอยากมีธุรกิจที่เมืองไทย ก็ลำบากนะ คนไทยจะไปมีธุรกิจที่ญี่ปุ่นก็ลำบากนะ
เพราะฉะนั้นคนคนนี้
เป็นคนที่สำคัญสำหรับประเทศเลย และมีประสบการณ์
เอาบริษัทใหญ่ ๆ ของประเทศญี่ปุ่น มาลงทุน มาเปิดบริษัทที่ประเทศไทย ยิ่งทำให้มีการพัฒนาของประเทศมากขึ้นอีก
ดังนั้นทางรัฐบาลญี่ปุ่น รัฐบาลไทย
ต้องการคนแบบนี้ ท่านเริ่มจากสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือคนธรรมดาอาจจะมองไม่ออก
แต่สร้างขึ้นมาได้ เป็นเรื่องที่น่าเคารพ เป็นเรื่องที่น่ายกย่องมาก ๆ เลยครับ
(บรรยาย)
หากคุณผู้ชมท่านใดที่มีความตั้งใจดี ๆ ในการคิดทำธุรกิจกับชาวญี่ปุ่น และยังไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ไหนดี ลองมาคุยกับคุณกันตธรดูนะคะ ความคิด การวางแผนงาน น่าจะชัดเจนขึ้นมาอีกมากเลยละค่ะ
ต้องขอขอบคุณ
คุณกันตธรมาก และขอให้การสร้างความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในมือคุณกันตธร ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ นะคะ พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *