คนญี่ปุ่นคิดอย่างไรกับภาษาไทย

1240 0

(บรรยาย) คนไทยเรียนภาษาญี่ปุ่นกันมากมาย แล้วในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นเรียนภาษาไทยกันบ้างหรือไม่ เชื่อคนไทยบอกว่าไม่เผ็ด ไม่ได้ คนไทยใช้… น้ำปลาเยอะ ๆ

[เสียงหัวเราะ] (บรรยาย) ตามฟูจิเซ็นเซ ผู้เป็นคนพยายามสร้างมาตรฐาน
ในการเรียนภาษาไทย ด้วยการจัดการสอบ วัดระดับภาษาไทยสำหรับคนญี่ปุ่นขึ้น (ฟูจิ) แล้วก็มีบริษัทที่จะรับคนญี่ปุ่น
ที่พูดภาษาไทยเข้าไปทำงาน ก็ไม่สามารถรู้ว่าอยู่ในระดับไหน ผมก็เลยคิดว่า เราน่าจะมีการวางแผน การจัดสอบวัดระดับเป็นขั้น ๆ ไป (บรรยาย) ไปดูการสอบ
และการเรียนภาษาไทยที่ญี่ปุ่นกันค่ะ
ภาษาไทยยากประมาณไหนครับ
ยากมากที่สุดในโลก

[เสียงหัวเราะ]

[เสียงดนตรี] (ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) คุณผู้ชมทราบไหมคะว่า มีคนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยกันมากมาย ทั้งในไทยและก็ในญี่ปุ่น จนถึงขั้นมีเปิดสอน เป็นวิชาในมหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียวนะคะ และไม่ได้เรียนกันธรรมดา ต้องสอบวัดระดับความรู้ เพื่อจะได้นำไปใช้ประกอบการทำงานด้วย วันนี้เราจะเข้าไปดูโลกของการเรียนภาษาไทย ของคนญี่ปุ่นกันค่ะ
ว่าเขาจริงจังเหมือนทุกเรื่องในชีวิตขนาดไหน ซึ่งเรื่องนี้ ฟูจิเซ็นเซของเราจะรู้ดี เพราะเป็นตัวตั้งตัวตี ที่ทำให้เกิดการสอบวัดระดับภาษาไทยด้วยค่ะ
ที่มาที่ไปของการสอบวัดระดับภาษาไทย เป็นอย่างไรครับ
ก็คือผมเปิดโรงเรียนสอนภาษา มีคนญี่ปุ่นเขาก็เรียนภาษาไทย
แต่เขาไม่มีที่สอบ เขาเรียนไปเขาอยากรู้เขาระดับไหน ความสามารถภาษาไทยของเขาระดับไหน แล้วก็มีบริษัทที่จะรับคนญี่ปุ่น
ที่พูดภาษาไทยเข้าไปทำงาน ก็ไม่สามารถรู้ว่าอยู่ในระดับไหน ผมก็เลยคิดว่า เราน่าจะมีการวางแผน การจัดสอบวัดระดับเป็นขั้น ๆ ไป ปัจจุบันนี้ทางบริษัทญี่ปุ่นหลายที่ บอกลูกน้องหรือบอกพนักงานบอกว่า
ถ้าคุณจะมาทำงานที่ประเทศไทย จะต้องมาสอบวัดระดับภาษาไทย เพื่อที่จะวัดความสามารถ

[เสียงดนตรี] การสอบวัดระดับภาษา
มันสร้างผลดีอย่างไรครับ
ก็คือ หนึ่งสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้คนที่เรียนหนังสืออยู่แล้ว อยากเรียนมากขึ้นอีก จะได้รู้ว่าตัวเองรู้ระดับขนาดไหน เมื่อมีคนสนใจภาษาไทยมากขึ้น ก็จะเก่งภาษาไทยมากขึ้น เมื่อเก่งภาษาไทย ก็ใช้ภาษาไทยในการต่อรอง คนญี่ปุ่น
ถ้าพูดไทยไม่ได้ กับคนญี่ปุ่นที่พูดไทยได้ ก็จะเป็นคนญี่ปุ่นที่พูดไทยได้ แล้วเข้าใจคนไทยลึกซึ้งกว่า บางทีมีเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นอยู่แล้ว ซึ่งนำมาใช้ในประเทศไทยได้เลย
แต่มีกำแพงกั้นคือภาษา กำแพงกั้นระหว่างภาษาทำให้เราสื่อสารกันไม่ได้ เมื่อสื่อสารกันไม่ได้ เกิดอะไรขึ้นครับ
เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจได้ยากครับ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ใช่แล้วค่ะ
การสอบวัดระดับภาษาไทย จะทำให้เป็นประโยชน์มาก เมื่อคนญี่ปุ่นต้องไปสมัครงาน ที่บริษัทที่ต้องใช้ภาษาไทยค่ะ

แต่สำหรับคนทั่ว ๆ ไปแล้ว ก็ถือว่าเป็นการกระตุ้นความพยายามที่ดี
อย่างหนึ่งเลยนะคะ (ฟูจิ) โอ้โฮ ข้างในนี้มีคนเป็นร้อย เยอะขนาดนี้หรือ มันดูแล้วตกใจมาก อีกสักพักจะมีการสอบเฮียริง (Hearing) ด้วย คำว่า เฮียริง (Hearing) คืออะไร มีการสอบภาษาไทย ถามเป็นภาษาไทย ถามเป็นภาษาไทยแล้วให้ตอบเป็นภาษาญี่ปุ่น

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) อยากรู้ไหมคะว่า คำถามสำหรับการสอบวัดระดับภาษาไทย จะเป็นคำถามลักษณะไหนบ้าง ลองมาฟังข้อสอบกันค่ะ
ใคร นาน ดอกไม้ ตอนนี้ครับ

เสร็จการสอบวัดระดับแล้วครับ
เขาวางปากกากันเรียบร้อยแล้วนะครับ
ก็มีการสอบเขียน และหลังจากนั้นก็มีการสอบฟัง คำถามก็ต้องใช้สมาธิ ก็จะถามนะครับ
ว่า เมื่อวานนี้วันศุกร์
แล้วเมื่อวานซืนนี้คือวันอะไร มีคำถามเป็นปัญหาเชาว์ ถามหลาย ๆ อย่าง การสอบวัดระดับภาษาไม่ได้หมายถึงว่า… การสอบ ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 หรือมหาวิทยาลัยครับ
คือรู้ว่ามีความสามารถทางด้านภาษาขนาดไหน
เพราะฉะนั้นเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือจะเป็นคนระดับไหนก็สามารถสอบได้
ถ้ามีความสามารถภาษาครับ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ตอนนี้หมดเวลาสอบแล้ว เราลองไปคุยกับผู้เข้าสอบกันดีกว่าค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ตอนนี้ก็ถามนะครับ
ว่า สอบไปแล้วเป็นอย่างไร ก็คือบอกว่าใช้ในการสอบเพื่อใช้ทำงาน (ภาษาญี่ปุ่น) เขาบอกว่าสอบระดับ 4 และ 3 เลย เขาบอกว่าใช้ภาษาที่ไหน ใช้ภาษาในการทำงานในประเทศไทย
ดังนั้น
ถ้ารู้ภาษาไทย ก็สามารถทำงานสื่อสารกับลูกน้องได้ดีกว่า (ภาษาญี่ปุ่น) หน้าเหมือนผมเลย นี่ผมใช่ไหม นี่ผมออกข้อสอบ (ภาษาญี่ปุ่น) มาดูหนังสือกันครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) นี่ก็คือหนังสือกวดวิชานะ อ่านว่าอะไรครับ
การสอบวัดระดับภาษาไทย
ข้อสอบและคำเฉลยปี 2016-2017 ระดับ 3 ถึงระดับ 5 แล้วอันนี้ก็คือ… การสอบวัดระดับภาษาระดับ 5-4-3-2 นี่ไง คือการกวดวิชา ระดับ 5 มีอยู่ 896 คำ ระดับ 4 มี 1,277 คำ ระดับ 3 มี 1,691 คำ (ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี] (ภาษาญี่ปุ่น) มาที่นี่เมืองไทยเกือบ 2 ปีแล้ว ไหน ๆ มาเมืองไทยแล้ว ก็จะต้องมีอะไรกลับไปญี่ปุ่น ก็เลยมีการสอบภาษาไทย และก็
ถ้าเก่งภาษาไทยแล้ว จะใช้ภาษาไทย
ในการทำประโยชน์หลาย ๆ อย่าง ก็อยากเรียนให้เก่งขึ้นครับ
(ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) สำหรับคุณผู้ชายท่านนี้ ไม่ได้มาสอบเองนะคะ
แต่พาลูกสาวมาสอบค่ะ
นั่นก็แสดงว่ามีการเรียนภาษาไทย แม้กระทั่งในวัยเรียน
ไม่ใช่วัยทำงานเท่านั้นนะคะ ก็ถามว่าน้องมาตั้งแต่เมื่อไร มาตั้งแต่ตอนอายุ 8 ขวบ ตอนนี้อายุ (ภาษาญี่ปุ่น) อายุ 13 นะครับ
เขาบอกว่าการมีการสอบแบบนี้ ทำให้น้องมีแรงบันดาลใจ บอกว่าอยากตั้งใจเรียน พอเรียนแล้วมีความภูมิใจ แล้วก็เหมือนกับมีการท้าทาย ปีที่แล้วก็มีการสอบ และปีนี้ก็จะมาสอบอีก เหมือนกับมีการยกระดับ
ความสามารถตัวเองขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็จะมีแรงบันดาลใจในการเรียน

[เสียงดนตรี] (ภาษาญี่ปุ่น) ถามว่าท่านมาสอบวัดระดับภาษาไทยระดับไหน ระดับ 3 แล้วทำไมต้องมาเรียน ท่านบอกว่าการที่จะมาเรียนแบบนี้ เมื่อ
ถ้าสอบผ่านระดับ 3 แล้ว มีสิทธิ์อยู่ประเทศไทยนานขึ้น หมายถึงอะไร หมายถึงว่า… ให้บริษัทได้เห็นอย่างไรว่า เขามาอยู่ที่ประเทศไทย แล้วตั้งใจเรียน แล้วเก่งภาษาไทยจริง เทียบกับพนักงานคนอื่นแล้ว เขาเก่งภาษาไทย คนอื่นเขาอาจจะไม่เก่ง

แต่…ถ้าตัวเองเก่งกว่า ตัวเองจะมีโอกาสได้อยู่ประเทศไทย และได้เพิ่มตำแหน่ง เพิ่มระดับให้สูงขึ้น ภาษาไทยยากประมาณไหนครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) การที่รู้ภาษาไทยแล้วมีข้อดีอย่างไร บอกว่าใช้ในชีวิตประจำวัน และซื้อของได้ราคาเท่ากับคนไทย

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ทั้งหมดคือบรรยากาศ… การสอบวัดระดับภาษาไทย
ของคนญี่ปุ่นในไทยนะคะ แล้วที่ญี่ปุ่นล่ะ มีความจริงจังในการเรียนภาษาไทยขนาดไหน ตามฟูจิเซ็นเซไปญี่ปุ่นกันค่ะ
[เสียงเครื่องบิน]

[เสียงดนตรี] (ฟูจิ) ปัจจุบันนี้เรามาอยู่ที่มหาวิทยาลัย Tokyo University of Foreign Studies เป็นมหาวิทยาลัยสอนภาษาต่างประเทศ มีหลายภาษามาก ๆ เลย เราจะมาสัมภาษณ์เด็กญี่ปุ่น ที่เรียนแผนกภาษาไทย ดูครับ
ว่าเขามีเป้าหมายอย่างไร มีเหตุผลอะไรที่จะเรียนภาษาไทย แล้วไปสัมภาษณ์คนไทย ที่เรียนภาษาต่างประเทศ
และภาษาญี่ปุ่นด้วยครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) ไปกันครับ

[เสียงดนตรี] (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) โอ้โฮ นี่มีภาษาไทยด้วย ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระ และเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ นี่คือมหาวิทยาลัย
ที่มีคนมาเรียนภาษาต่างประเทศกันเยอะมาก มาดูกันว่าเป็นอย่างไรเนอะ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ทางมหาวิทยาลัยใจดีมาก ให้เราเข้าไปสังเกตการณ์ ในห้องเรียนภาษาไทยเลยนะคะ เราก็ไม่เคยคิดนะคะว่า จะมีการเรียนภาษาไทย ในหลักสูตรปกติ
ของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นด้วย มาดูกันค่ะ
ว่าเขาเรียนกันอย่างไร (อาจารย์) ไม่ใช่ว่าอยากไป คือไม่ค่อยอยากไป
แต่ต้องไป ในใจไม่ค่อยอยากไปนะคะ เคยเป็นไหม เคยมีไหมคะ มีนะ แล้วเคยมีแบบนี้ไหม ไม่ใช่ว่าไม่อยากไป จริง ๆ อยากไป
แต่ไม่ได้ไป เคยมีแบบนี้ไหมคะ เคยเป็นไหม มีสถานการณ์นี้ไหมคะ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ห้องเรียนนี้ เป็นห้องที่นักศึกษาเรียนภาษาไทย
มาระดับหนึ่งแล้ว อาจารย์ก็เลยพูดภาษาไทยด้วยได้ตลอดเลยค่ะ
ตอนนี้ลองมาฟังภาษาไทย
จากนักศึกษาญี่ปุ่นกันบ้างค่ะ
(อาจารย์) วิทย์อายุเท่าไรแล้วตอนนี้ (อาจารย์) อายุเท่าไรครับ
(อาจารย์) 21 เนอะ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ดูทั้งหนังสือที่ใช้เรียนภาษาไทย ที่อาจารย์พูดหน้าห้อง ทำให้เราเห็นว่า ทักษะภาษาไทยที่เรียนกันในมหาวิทยาลัยนี้ จริงจังมากเลยนะคะ ไม่ได้เรียนแค่พอพูดได้
แต่ต้องฟัง อ่าน และก็เขียนได้ด้วยค่ะ
ลองมาฟังคนที่เรียน… จนเรียกว่าพูดได้ดีกันดีกว่าค่ะ
ว่าดีขนาดไหน (ฟูจิ) น้องชื่อชาลี ใช่ครับ
แล้วใครตั้งให้ครับ
ก่อนหน้านี้เคยเรียนภาษาไทยมาก่อนไหมครับ
ไม่เคยพูดได้ขนาดนี้เลย (บรรยาย) พูดเก่ง
พูดคล้ายคนไทยมาก ๆ เลยนะคะ ฟังแล้วก็ภูมิใจเลยค่ะ
เรียนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยมา 4 ปี ได้ขนาดนี้เลยหรือคะนี่ ลองมาฟังดูว่าแล้วคำไหนถือว่ายากคะ ผมยังไม่รู้เลย ลึกซึ้งนะ (บรรยาย) ขอบคุณมากเลยนะคะ ที่ทำให้เราได้เห็นคนญี่ปุ่นจริงจัง
กับภาษาไทยขนาดไหนค่ะ

[เสียงดนตรี] ส่วนน้องอีกคนรักเมืองไทย ก็เลยเลือกเรียนมหาวิทยาลัยนี้ และเลือกเรียนภาษาไทย เพราะอยากไปเรียนที่เมืองไทยค่ะ
ที่สำคัญน้องบอกว่าอยากบวชด้วยนะคะ หลังจากนี้ไปอยู่มหาวิทยาลัยปี 4 แล้ว จะใช้ภาษาไทยทำงาน หรือจะมีเป้าหมายอย่างไรต่อครับ
(ฟูจิ) อ๋อ เยี่ยมเลย ๆ

[เสียงดนตรี] (ฟูจิ) ชื่ออะไรครับ
ผม ยูกะ ซาโต ค่ะ
คุณยูกะ ซาโตอยู่ปีอะไรครับ
อยู่ปี 4 แล้วเป็นมาอย่างไร
ถึงมาเรียนภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยหลังจากจบการศึกษา แล้วจะไปทำงานใช้ภาษาไทยต่อไหมครับ
(ฟูจิ) การสอบเข้าที่นี่ยากไหมครับ
เขาบอกว่าต้องเรียนเก่ง ๆ ด้วยถึงจะสอบเข้าได้ คือ 200 คน สอบเข้าได้แค่ 20 คน

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) แสดงว่า เราได้หัวกะทิจริง ๆ มาเรียนภาษาไทยในญี่ปุ่นนะคะ

[เสียงดนตรี] ตอนนี้มาฟังอาจารย์คนญี่ปุ่น
พูดภาษาไทยกันบ้าง จะทึ่งขึ้นไปอีกค่ะ
(ฟูจิ) สอนกี่ภาษาครับ
28 ภาษา และก็มีสอนภาษาไทยด้วย อาจารย์ก็เป็นอาจารย์คนไทยด้วย
เป็นอาจารย์ญี่ปุ่นด้วย (ฟูจิ) จะสอนอะไรบ้างครับ
ในหนึ่งปี จะสอนอย่างไรบ้างครับ
(บรรยาย) อาจารย์บอกว่า นอกจากเรียนที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นแล้ว ปี 3 และปี 4 ยังได้ไปเรียนที่ไทยด้วยนะคะ โดยไปเรียนกับมหาวิทยาลัย
ที่ทำสัญญากันไว้ค่ะ
(บรรยาย) อยากทราบไหมคะว่า ทำไมเด็กนักศึกษาญี่ปุ่น
ถึงอยากเรียนภาษาไทย มาฟังกันค่ะ
อนาคตครับ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) คุยกับอาจารย์มานาน เริ่มอยากรู้เรื่องของอาจารย์แล้วค่ะ
ว่าทำไมพูดภาษาไทยได้ดีขนาดนี้ อาจารย์บอกว่าเคยไปเป็น
นักเรียนแลกเปลี่ยนที่เมืองไทยมาค่ะ
ว้าว แสดงว่ามีการเรียนการสอนจริงจัง
มานานแล้วนะคะนี่ (ฟูจิ) แล้วก็ใช้ภาษาไทยบ่อย ๆ (ฟูจิ) แล้วยากหรือเปล่า หรือง่ายครับ
ภาษาไทย

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ส่วนอาจารย์คนไทย
ที่สอนอยู่ในห้องที่เราถ่ายทำไป ท่านมาเป็นอาจารย์ที่นี่ได้อย่างไร คุยกับอาจารย์กันค่ะ
(ฟูจิ) อาจารย์อยู่ที่ญี่ปุ่นมากี่ปีแล้วครับ
(ศ. ดร.สุนิสา) อยู่มาตั้งแต่ปี 1995 ค่ะ
(ฟูจิ) เป็นอย่างไรมาอย่างไรได้เป็นอาจารย์ครับ
มาเรียนต่อปริญญาโท แล้วก็ปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยเคโอนะคะ ก็เรียนทางด้านเปรียบเทียบภาษาค่ะ
เปรียบเทียบภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่นนะคะ ก็ได้มีโอกาสมาเจออาจารย์ที่นี่ แล้วก็อาจารย์ก็เลยชวนมาเป็นผู้ช่วยสอนค่ะ
ก็เลยมาช่วยสอน พอช่วยสอนเสร็จ เรียนปริญญาเอกไปด้วย จบแล้ว พอดีมีตำแหน่งอาจารย์พิเศษว่าง อาจารย์เขาก็เลยชวนมา สนใจจะสอนไหม ก็เลยมาสอนเป็นอาจารย์พิเศษก่อนค่ะ
(ฟูจิ) ทราบว่ามีเด็กญี่ปุ่น
สนใจภาษาไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่เขารับโควตาแค่ 20 คน ใช่ค่ะ
มหาวิทยาลัยนี้มีโควตาให้กับเอกภาษาไทย แค่ 20 คนเท่านั้นเองนะคะ
เพราะฉะนั้นทุกปี ๆ ระดับการแข่งขันจะสูงขึ้นเยอะมากนะคะ ภาษาไทยเป็นสาขาที่เข้ายาก ติดอันดับทอปเท็นของมหาวิทยาลัยนี้นะคะ การศึกษาสำคัญมาก เราก็ค่อยสอดแทรกไปนะคะ ให้เขาเข้าใจเวลาทำงานกับคนไทย เวลาอยู่กับคนไทย เราก็สามารถที่จะ Communication
กับคนไทยได้แบบนี้ เราก็จะสามารถไปด้วยกันได้ อันนี้เป็นพื้นฐานนะคะ หลังจากที่เขาจบไป เขาไปทำงานที่บริษัท เกินครึ่งที่ไปทำงานที่บริษัท
ที่มีสาขาอยู่ที่เมืองไทยค่ะ
ส่วนใหญ่แล้วจะถูกส่งไปทำงานที่เมืองไทย แล้วทุกคนก็จะไม่อยากกลับนะคะ จะรู้สึกสนุกสนาน แล้วก็ประสบความสำเร็จค่ะ
จากการที่เขาได้มาเรียนตรงนี้นะคะ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ยิ่งฟังก็ยิ่งดีใจนะคะ เราคนไทย
ก็รู้สึกเป็นมิตรกับคนญี่ปุ่นเหมือนกันค่ะ
และที่มหาวิทยาลัยนี้ ก็มีนักศึกษาไทยมาเรียนด้วยค่ะ
ลองมาคุยกันดูดีกว่า (ฟูจิ) มาอยู่ที่ญี่ปุ่นประมาณกี่ปีแล้วครับ
แอนมาที่ญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนเมษาปีที่แล้วค่ะ
ตอนนี้ก็ปีกว่า ๆ เกือบ ๆ จะสองปีแล้ว จริง ๆ แล้วส่วนตัวชอบญี่ปุ่นอยู่แล้ว ก็เลย ๆ ตัดสินใจที่จะมาเรียนที่นี่ ก่อนครั้งนี้ เคยมาแลกเปลี่ยนอยู่แล้ว ก็จะพอรู้อยู่แล้วว่าที่ญี่ปุ่นเป็นอย่างไร แล้วก็มารอบนี้ก็ยังไม่ผิดหวังเหมือนเดิม สิ่งที่แอนเห็นชัดเจนจะมีประมาณ 3 อย่าง อันดับแรกคือเรื่องความตรงต่อเวลา ซึ่งอันนี้คือเรารู้อยู่แล้วว่า… เป็นซิกเนเจอร์ของคนญี่ปุ่นอยู่แล้ว อีกอย่างหนึ่งก็คือ อาจารย์เตรียมความพร้อมมาดีมากค่ะ
อาจารย์จะเตรียมมาดีมากว่า วันนี้ในห้องอาจารย์จะพาทำอะไร เป็นเวลากี่นาที อะไร คือตามแผนเป๊ะ ๆ มาก อีกอย่างหนึ่งก็คือนักเรียน นอกจากอาจารย์ที่จะเตรียมความพร้อม นักเรียนก็เตรียมความพร้อมก่อนมาเรียนค่ะ
ทุกคนจะอ่านหนังสือก่อนมาเรียน แล้วก็มาถึงมาคุยกัน แล้วก็อีกอันหนึ่งที่ผมค่อนข้างตกใจ คือว่าเด็กที่นี่ เด็กญี่ปุ่นที่ของไกได ค่อนข้างจะแบบ… คือจริงจังมาก เพราะว่าเวลาอย่างช่วงกลางภาค หรือปลายภาคอย่างนี้นะครับ
ที่จะต้องอ่านหนังสือสอบ
ถ้าผมเข้าห้องสมุด ผมไม่สามารถนั่งได้เลยครับ
เพราะว่าเด็กญี่ปุ่น เขานั่งอ่านหนังสือ เขาจองสถานที่กันไว้แล้วคือนั่งอ่าน ห้องสมุดที่นี่คือเต็มครับ
ซึ่งจะแตกต่างจากบ้านเรา ที่แบบว่าอาจจะโหรงเหรงบ้าง
แต่ว่า
ถ้ามาที่นี่
อยากให้ลองมาสัมผัสจริง ๆ ครับ
คือเขาใช้ห้องสมุดกันเป็นเรื่องแบบปกติมาก แล้วก็นั่งอ่านหนังสือ นั่งเรียนกันแบบว่าจริงจัง จนผม… บางทีผมแบบว่า… ผมไม่สามารถใช้ Space ตรงไหนได้เลย เพราะว่ามันโดนจับจองไปด้วย… นักเรียนญี่ปุ่นหมดแล้วอย่างนี้ครับ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ทั้งสองท่านบอกว่า
หลักสูตรที่ญี่ปุ่นเข้มข้นมาก และอาจารย์ก็ให้ความใส่ใจเต็มที่ ซึ่งก็เป็นตัวอย่างให้ในอนาคต เมื่อตัวเองไปเป็นอาจารย์บ้าง จะได้เป็นอาจารย์ที่ดีเหมือนกันค่ะ
ก็อย่างที่บอกว่า
เวลาที่อาจารย์ให้น้องทำกิจกรรมอะไร ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนไทย หรืออย่างเช่น น้องแสดงละคร อะไรอย่างนี้ค่ะ
เราก็ไปช่วยดูบทบ้าง เพราะว่าน้องเขียน ๆ บทกันเอง อะไรอย่างนี้ค่ะ
เอ๊ะ คำนี้เราว่ามันแปลกนะ หรือว่าเอ๊ะ ปกติคำนี้ไม่ใช้นะ อะไรอย่างนี้ค่ะ
หรือคำนี้ ตรงนี้ควรจะแบ่งวรรคแบบนี้ ๆ อะไรอย่างนี้ ส่วนที่ผมไปช่วยสอน นอกจากภาษา ก็จะมีการนุ่งโจงกระเบนบ้าง อะไรอย่างนี้ครับ
การ
แต่งกายเพิ่งสอนเมื่อวานนี้ เพราะว่าเขาจะต้องแสดงวันที่ 20 นี้ครับ

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) น่าสนุกนะคะ และเราก็พอจะจินตนาการออกว่า นักศึกษาไทยที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็คงจะได้รับความสนใจจากนักศึกษาญี่ปุ่น ที่เรียนภาษาไทยกันพอสมควรค่ะ
เหมือนเป็นที่พึ่งได้อะไรทำนองนั้นละค่ะ
กำแพงภาษาเมื่อทลายลงได้แล้ว ความเป็นมิตร ความเข้าใจ จะเพิ่มขึ้นเองโดยปริยายนะคะ
ดังนั้นการสร้างมาตรฐานต่าง ๆ ในการเรียนการสอนภาษาไทย ก็เป็นประโยชน์มากจริง ๆ ค่ะ
ข้อสอบการสอบวัดจะมีสมาคม ตอนนี้มันเป็นสมาคม
สอบวัดระดับภาษาไทย โดยไม่แสวงหากำไร ซึ่งผมมีแรงบันดาลใจมากเลย ที่อยากจะสร้างสมาคมนี้ การสอบวัดระดับภาษาไทยนะครับ
ตอนนี้นะครับ
ก็จะมีระดับ 5-4-3-2-1 ปีหนึ่งจะมีการสอบ 2 ครั้ง ก็จะมีคนมาเรียน มาสอบประมาณ 2,000 คน สอบตั้งแต่ที่ โตเกียว
โอซากะ นาโงยะ และกรุงเทพ ฯ เป็นเวลาเดียวกัน พร้อมกัน

[เสียงดนตรี] (บรรยาย) ระดับความสามารถ
ในการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทย สำหรับคนญี่ปุ่นมีทั้งหมด 5 ระดับค่ะ
ซึ่ง
แต่ละระดับมีความรู้ที่ต่างกันไป ระดับความยากง่ายนะครับ
ก็มีระดับ 5-4-3-2-1 นะครับ
ระดับ 5 คือ ระดับที่ง่ายที่สุด และระดับที่ยากที่สุดคือ ระดับ 1 พูดง่าย ๆ ก็คือ… คนไทยบางทีอาจจะสอบไม่ผ่าน ขนาดนั้นเลย และไม่ได้คะแนนเต็ม เพราะมันจะมีการถามลึกซึ้ง และก็อาจจะมีพวกการันต์ ไม้โท หรือประโยคที่ถามแล้ว คนไทยยังจะตอบไม่ได้ และคนญี่ปุ่นเองก็ทำไม่ได้ ต้องคนที่รู้สองภาษาถึงจะทำได้ (บรรยาย) การมีมาตรฐาน ก็จะทำให้การนำไปใช้งานสะดวก
ง่ายดายขึ้นนะคะ ไม่อย่างนั้นคนคงไม่สอบกันเป็นพันคนต่อปี เราดีใจที่เห็นคนญี่ปุ่นรักเมืองไทย และรักภาษาไทยนะคะ อาริงาโต โกไซมัส ค่ะ
พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *