(บรรยายหญิง) ในยุคโควิด
หรือ โควิด-19 เราต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง (สุมิตร) เครื่องนี้จะรับชำระ
ด้วยคิวอาร์โค้ด (QR Code) (ฟูจิ) อ๋อ ครับ
QR Code ไอเดียดีมาก
ต่อไปก็จะจับน้อยลง ๆ ก็ผมเชื่อว่ามันจะเร่งให้คน
ไม่ใช้แบงก์ ไม่จับเหรียญ – ตรงนี้เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิ
– ครับ
เป็นการคัดกรองด่านที่ 1 ก่อน
ถ้าเกิน 37.5 องศา ก็ห้ามเข้า
ถ้าต้องการก็คือขอ… (พนักงาน) ใช่ค่ะ
– ต้องการขอหน่อย อย่างนี้หรือครับ
– ใช่ค่ะ
โอ้ อย่างนี้เลย (บรรยาย) เมื่อหลีกเลี่ยงการใช้
ระบบขนส่งสาธารณะไม่ได้ เราก็ต้องมีมาตรการป้องกัน ทั้งในไทยกับฟูจิเซ็นเซ (ฟูจิ) คุณตุ้ย – สวัสดีครับ
– สวัสดีครับ
(ฟูจิ) คุณตุ้ยเป็นคนคิด
ระบบสมาร์ตแท็กซี่ (Smart Taxi) ด้วย (ตุ้ย) ใช่ – และก็เกี่ยวกับเรื่องโควิด-19 ด้วย
– ใช่ครับ
แล้วพลาสติกมันธรรมดา
หรือไม่ธรรมดาอย่างไรครับ
(ตุ้ย) จริง ๆ แล้วมันคือ
พลาสติกกันน้ำ ที่ใช้ทั่วไปในบ้านเรานี่แหละ ก็มีความหนาระดับหนึ่ง เพื่อให้มันทนแรงเสียดทานด้วย – ช่องซิป
– นี่ช่องซิปที่… กรณีที่ผู้โดยสาร… ไม่สามารถชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ มิเตอร์ราคาเท่าไรปุ๊บ เราก็จะจ่ายเงินทางช่องซิปนี้
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) และในญี่ปุ่นซึ่งเรามีพิธีกรรับเชิญ พาเราไปเกาะติดสถานการณ์ เขาคือใคร ตามไปกันเลยค่ะ
(บีหรุซัง) ตอนนี้ก็จะทำการจ่ายเงิน
ด้วยบัตรเครดิตนะครับ
[เสียงเครื่องจ่ายเงิน] อันนี้ก็แปลว่า
เสร็จสมบูรณ์นะครับ
(ภาษาญี่ปุ่น)
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย)
ถ้าจะใช้คำจำกัดความ ช่วงเวลาที่คนไทยหรือคนทั้งโลก กำลังเผชิญอยู่นี้ว่าช่วงเวลาอะไร ก็คงต้องตอบว่า เป็นยุคโควิด-19 หรือเรียกสั้น ๆ ว่ายุคโควิด และอยากให้เราทุกคนตระหนักว่า นี่เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของยุคนี้เท่านั้น เพราะองค์การอนามัยโลกบอกว่า ชาวโลกน่าจะต้องอยู่ในช่วงเวลานี้กับโควิด-19 รวม ๆ แล้วประมาณ 18 – 24 เดือนค่ะ
ดังนั้น พวกเราจะต้อง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิต และต้องคงพฤติกรรมนั้น
ไว้เป็นเวลานานด้วยนะคะ วันนี้เราก็เลยจะพาไปดูเรื่องเหล่านี้ ในระบบรถโดยสารสาธารณะ ที่เราหลีกเลี่ยงการใช้ไม่ได้ และ
ถึงแม้เราจะไปญี่ปุ่นด้วยตัวเองกันไม่ได้
แต่เราหาวิธีทำให้คุณผู้ชม ได้ชมเรื่องเหล่านี้ในญี่ปุ่นได้แน่นอน ตามมานะคะ (ฟูจิ) ในภาวะโรคอุบัติใหม่ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ดูให้รู้จะเป็นสะพานเชื่อม ระหว่างประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น ว่าผู้คนจะมีการใช้ชีวิตวิถีใหม่กันอย่างไร ไปดูให้รู้กันครับ
ทางนี้ครับ
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) เรามาเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอสกันเลยค่ะ
คือทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัย เมื่อเข้าไปใช้ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสค่ะ
ถ้าไม่มี เขาก็มีจำหน่ายให้ด้วย นอกจากนั้น … ก็มีการวัดอุณหภูมิร่างกายว่ามีไข้หรือไม่ รวมทั้งก่อนเข้าไปใช้บริการ จะมีแอลกอฮอล์ล้างมือไว้ให้ใช้ และหลังใช้บริการแล้ว ก็ควรจะต้องล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เช่นกันค่ะ
ปัจจุบันนี้ครับ
ผมอยู่กับท่านนก สุมิตร ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการของบีทีเอสครับ
สวัสดีครับ
ท่านครับ
เวลาเข้าไปเข้าคิวจะมีการเว้นระยะด้วยหรือครับ
(สุมิตร) ครับ
ก็คือตรงนี้ที่เห็น – จะมีมาร์กกิง (Marking) อย่างนี้ครับ
– อ๋อ ครับ
– มาร์กกิงครับ
ประมาณ 1 เมตร
– อ๋อ ครับ
นี่ ๆ (ฟูจิ)
ถ้ามีคนเยอะก็คือแบบเข้าคิวรอไป (คุณสุมิตร) ครับ
ก็ต้องเข้าคิว
ดังนั้นในช่วงนี้
ถ้ามีมาใช้บริการก็เผื่อเวลานิดหนึ่ง เพราะว่ามีการคัดกรอง
ดังนั้นคิวก็จะยาวขึ้น
ถ้าไม่อยากเข้าคิว ก็หลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน อย่างตอนนี้ไม่เร่งด่วน ผู้โดยสารก็จะน้อย ดีจังครับ
ถ้าช่วงเย็นผู้โดยสารก็จะเยอะหน่อย ระบบขายตั๋วเราก็เป็นใช้คิวอาร์โค้ด (QR Code) เป็นแคชเลส (Cashless) เครื่องนี้ก็จะรับชำระด้วย QR Code อ๋อ ครับ
QR Code ตอนนี้เราอยู่หมอชิตนะครับ
เราก็เลือกว่าเราจะไปที่ไหน สมมติเราจะไปอโศกใช่ไหม ก็สามารถที่จะหยอดเหรียญ
ตามราคา หรือใช้ QR Code (ฟูจิ) ไอเดียดีมากเลย
ต่อไปก็จะจับน้อยลง ๆ (สุมิตร) เพราะว่าผมเชื่อว่า มันจะเร่งให้คนไม่ใช้แบงก์ ไม่จับเหรียญนะครับ
แล้วตั๋วเรา
ถ้าเป็นตั๋วสะสม เราใช้ออนไลน์ได้ ใช้มือถือเหมือนกัน เดี๋ยวผมสาธิตให้ดูครับ
อ๋อ ดีครับ
ๆ – เราก็สแกน
– ไปอโศก สแกน ออกมาแล้ว อ๋อ… – เจ๋งเลย
– ตั๋วนี้ก็สามารถใช้งานได้เลย
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) จากตรงนี้… เราลองเข้าไปดูการทำงานจริง ๆ กันเลยดีกว่า ว่าเราต้องทำตัวอย่างไรบ้าง
เมื่อขึ้นรถไฟฟ้าค่ะ
ตรงนี้ก็จะเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิครับ
เป็นการคัดกรองด่านที่ 1 ก่อน
ถ้าเกิน 37.5 ก็ห้ามเข้า แล้วก็จะดูว่ามีหน้ากากผ้าไหม หน้ากากอนามัยไหม – อันนี้ดูด้วย
–
ถ้ามีเจ้าหน้าที่ก็จะให้เข้าใช้บริการ (สุมิตร)
แต่…
ถ้าอุณหภูมิสูง บางทีเดินตากแดดมาร้อน ๆ ก็ให้พักก่อนแป็บหนึ่ง แล้ววัดซ้ำ ซ้ำอีกที แล้วก็มีห้องพยาบาล เรามีห้องพยาบาลให้นั่งพักก่อนแป๊บหนึ่ง
[เสียงดนตรี]
(คุณสุมิตร)
ถ้าเกิดผู้โดยสารไม่รู้ว่า
จะยืนมาร์กตรงไหนนะครับ
เกิดยืนผิดจุด ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาแนะนำ – อ๋อ เสื้อแดงนี้หรือครับ
– ครับ
(สุมิตร) บางทีช่วงเร่งด่วน
น้องเขาจะมีบริการเจลแอลกอฮอล์ให้ครับ
บางคนอยู่ข้างล่างลืม น้องเขาก็มาบริการเจลแอลกอฮอล์ให้ –
ถ้าต้องการก็คือขอ
– ใช่ค่ะ
– อย่างนี้หรือครับ
ต้องการขอหน่อย อย่างนี้หรือครับ
– ใช่ค่ะ
– โอ้ อย่างนี้เลย เพราะว่าจริง ๆ แล้วจุดดีนี่ ช่วงเร่งด่วนผู้โดยสารผ่านจุดคัดกรองใช่ไหมครับ
ก็อาจจะไม่อยากรอคิวนาน ก็เลยมีเจ้าหน้าที่คอยบริการให้บนนี้ – อย่างนี้เลย
– ก็เป็นการลดความเสี่ยงไปอีก
[เสียงดนตรี]
(ฟูจิ) ยืนที่ดี ๆ หรือยืนตำแหน่งไหน
จะเป็นที่ปลอดภัยที่สุด (สุมิตร) โดยปกติเราจะมีการประชาสัมพันธ์
ว่าให้เว้นระยะห่าง (ฟูจิ) อ๋อ ครับ
(สุมิตร) เราจะมีมาร์กกิงที่เก้าอี้ให้ (ฟูจิ) อ๋อ มาร์กกิงเก้าอี้ให้อีก
เพราะฉะนั้นผู้โดยสาร
ก็จะรักษาระยะห่างกันเอง อ๋อ 1 เมตร แล้วช่วงเร่งด่วนเจ้าหน้าที่ชานชาลา
จะคอยดูว่า…
ถ้าผู้โดยสารมาก เขาก็จะส่งสัญญาณ ไปยังเจ้าหน้าที่ข้างล่างว่า
กักคนอย่าเพิ่งขึ้นมา คือเราไม่อยากให้คนข้างในแน่นมากเกินไป พอเจ้าหน้าที่ทราบก็วิทยุลงไปข้างล่าง ข้างล่างก็จะเริ่มกักคนไม่ให้เข้า ๆ ก็ค่อย ๆ ทยอยปล่อยมา เพราะไม่อย่างนั้น
ถ้าเราปล่อยตามสะดวก เหมือนกับก่อนที่มีการแพร่ระบาด คนก็จะแน่น
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) ส่วนเรื่องการทำความสะอาด ก็จะต้องมีการทำพิเศษเหมือนกันนะคะ ซึ่งทางบีทีเอสทำเป็นพิเศษเพิ่มมากเลยค่ะ
บีทีเอสมีการทำความสะอาดอย่างไรครับ
พวกอย่างนี้ครับ
พวกราวหรืออะไรต่าง ๆ อย่างนี้ครับ
ตรงนี้อย่างที่ผมบอกนะครับ
คือเรายกระดับความสะอาด ปกติเราทำความสะอาดอยู่แล้ว
แต่คราวนี้เราทำเข้มข้นขึ้น ก่อนที่รถจะมาให้บริการช่วงเช้า ตอนอยู่ในอู่ระหว่างกลางคืน เรามีหน้าที่ทำความสะอาดหมด เพื่อให้พร้อมว่าเช้ามาสะอาด พอหลังชั่วโมงเร่งด่วนปุ๊ปนี่ครับ
ที่สถานีปลายทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาพ่นน้ำยา
– พ่นอีก (สุมิตร) พ่นในขบวนรถทุกขบวน ช่วงที่เรากลับรถปลายทาง
ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาพ่นทำความสะอาด แล้วก่อนช่วงเร่งด่วนเย็น เราก็พ่นอีกรอบหนึ่ง – อันนี้คือเพิ่มขึ้น
– ถูก คือทั้งวันเราพ่นตลอดในขบวนรถ (บรรยาย) จากการที่บ้านเรา
ล็อกดาวน์ (Lockdown) มาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า ลดลงไปเหลือประมาณ 30%
แต่ตอนนี้ก็เริ่มเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ แล้วค่ะ
ก็จะต้องมีมาตรการรองรับ เมื่อผู้โดยสารเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
การใช้บริการก็ยังเหมือนเดิมอยู่ เหมือนเดิม ความถี่เราไม่ได้ลดเลยครับ
เราวิ่งความถี่สูงสุด เพราะเราต้องให้คนมีระยะห่าง
ถ้าเราไปปรับลดความถี่ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสาร รถก็จะแน่น
ดังนั้นความถี่ไม่ใช่ว่าเท่าเดิมนะครับ
เสริมขึ้นด้วย – เสริมขึ้นด้วย
– เสริมขึ้นด้วย นี่แหละ… ช่วงเช้าเราเสริมรถเข้าไปอีก ณ ตอนนี้เรามีรถ 98 ขบวน 4 ตู้
แล้วเราก็ใช้เต็มที่ ให้เรามีระยะห่างมากขึ้น – คนขึ้นก็จะได้ไม่แออัด
– ใช่ครับ
ๆ ไม่แออัดครับ
ช่วงนี้ก็อย่างที่ผมเรียนไปครับ
บีทีเอสเต็มที่มากกับเรื่องนี้ (บรรยาย)
ถ้าพวกเราทุกคน
ทำตามมาตรการที่ได้จัดไว้ ความมั่นใจก็จะมีมากขึ้นนะคะ ทุกสิ่งทุกอย่าง
เกิดจากความร่วมมือของพวกเราค่ะ
นอกจากรถไฟฟ้าแล้ว รถโดยสารสาธารณะอื่น ๆ ก็ต้องมีมาตรการเช่นกัน เราจึงขอเข้าพบกับท่านรองอธิบดี
กรมการขนส่งทางบก เพื่อให้ท่านเล่าเกี่ยวกับภาพรวมเหล่านี้ค่ะ
หลังจากปลดล็อกดาวน์แล้วครับ
ทางกรมการขนส่งทางบกมีมาตรการ ในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ให้กับประชาชนอย่างไรครับ
(ธานี) หลาย ๆ จังหวัดที่เคยประกาศ เป็นพื้นที่ห้ามเข้า ก็จะเริ่มคลายลงไป การเดินทางของประชาชนก็จะมากขึ้นครับ
ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางในเมือง การเดินทางระหว่างเมือง กรมการขนส่งทางบกก็กำหนดมาตรการ โดยประกาศให้ทางผู้ประกอบการนั้น
ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องนะครับ
โดยเฉพาะการให้บริการในตัวรถโดยสารเอง โดยการเว้นระยะที่นั่งหรือที่ยืน – ต้องคงสภาพอยู่อย่างนี้ตลอดไป
– ต้องคงสภาพอยู่ การเช็กเรื่องอุณหภูมิว่าเป็นไข้หรือเปล่า การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เจลแอลกอฮอล์ล้างมือต่าง ๆ นะครับ
จองตั๋วมีแอปพลิเคชัน หรือว่าจองผ่านเว็บไซต์อะไรต่าง ๆ ก็จะลดการติดต่อ
ลดการแออัดที่ตัวสถานีนะครับ
อันนี้ ก็จะทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะ… จนกว่าจะเหตุการณ์จะกลับไปสู่
สภาพที่เป็นปกติคล้าย ๆ เดิม หรือว่าการระบาดของ โรคโควิด-19 หายไปครับ
ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด จำนวนรถในการให้บริการอาจจะไม่เพียงพอ เราต้องไปให้ผู้ประกอบการ… อย่างน้อย ๆ ต้องมีบริการนะครับ
ในเส้นทางที่ประชาชนมีความจำเป็นต้องเดินทาง ก็ต้องมีการเสริมรถ ไม่อย่างนั้นประชาชนก็จะเดินทาง
ไปทำงานไม่ทัน กลับบ้านไม่ทัน โดยเฉพาะช่วงที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเคอร์ฟิวนะครับ
คือช่วงการห้ามเดินทาง ในช่วงเวลาที่รัฐบาลกำหนด พอถึงใกล้ ๆ เวลาจะปิดเวลาเคอร์ฟิวนะครับ
ประชาชนก็จะเบียดเสียดยัดเยียดกันขึ้นรถมา ก็ต้องบริหารจัดการเสริมรถ ให้เพียงพอในการให้บริการ (บรรยาย) ขอบคุณท่านรองอธิบดีมากเลยนะคะ ตอนนี้เรามีตัวอย่าง
ของผู้ให้บริการรถสาธารณะอีกประเภท ที่น่าชื่นชมมากค่ะ
คือพยายามคิดวิธีการต่าง ๆ ในการให้บริการ เพื่อเป็นการระวังป้องกัน
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เพิ่มเติมจากมาตรการของรัฐ ฟูจิเซ็นเซจะพาไปดูกันค่ะ
[เสียงดนตรี]
นี่ครับ
ตอนนี้เราอยู่ที่บริษัทสมาร์ทแท็กซี่ ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้ง
เกี่ยวกับเรื่องระบบแท็กซี่ต่าง ๆ และที่นี่เป็นต้น
คิดระบบป้องกันโควิด-19 และที่นี่เป็นอย่างไร และคนคิดคือใคร ไปดูให้รู้กันดีกว่าครับ
อิคิมาโช ไปกันครับ
[เสียงดนตรี]
คุณตุ้ย – สวัสดีครับ
ๆ
– สวัสดีครับ
คุณตุ้ยเป็นคนคิดระบบ – ระบบสมาร์ตแท็กซี่ด้วย
– ใช่ และก็เกี่ยวกับ โควิด-19 ด้วย ใช่ครับ
นี่รถต้นแบบอยู่ตรงนี้ครับ
กำลังทำอะไรอยู่ครับ
ผม อ๋อ ผมกำลังตรวจสอบอยู่ครับ
มันมีระบบอะไรอยู่เยอะเลยในรถ – ตรงนี้จะเป็นฉากกั้น
– ฉากกั้น จะมีฉากกั้นแยก เป็นการทำ Social Distancing
ระหว่างผู้โดยสารกับผู้ขับขี่ (ฟูจิ) ได้ไอเดียจากไหนครับ
คือจริง ๆ แล้วไอเดีย
มันเกิดมาจากทางในต่างประเทศ ตอนนี้ที่เริ่มทำแล้วคือประเทศจีน ประเทศจีน แล้วพอดีผมมีเพื่อนอยู่ที่นั่น แล้วเขาก็ถามว่า… ที่เมืองไทยมีมาตรการอะไรบ้างยัง เราก็เลยบอกว่าที่โน้นมีมาตรการอะไรบ้างล่ะ เขาบอกต้องทำ Social Distancing นะ ก็เลยมีแนวคิดประมาณนี้ขึ้น คุย พูดคุยกัน แล้วก็ช่วยกันออกแบบกันออกมา ลักษณะประมาณนี้ครับ
ก็ทำที่กั้นออกมาอย่างนี้นะ ที่โน้นเขาก็ทำ เราก็ทำแบบของเรา สำหรับผมรู้สึกว่ามันยากนะ เพราะว่าลมหรือแอร์อะไรต่าง ๆ มันจะผ่านไม่ได้ ข้างหลังก็จะร้อนสิครับ
คือในต่างประเทศ ประเทศจีน เขาเป็นเมืองหนาวอยู่แล้ว เวลาเขาจะใช้บริการ เขาเปิดกระจกรถวิ่งเลย ซึ่งบ้านเราทำไม่ได้ – มันเลยต้องมาประยุกต์กัน
– อ๋อ มาประยุกต์ใช้ ใช่ ก็เลยต้องมีช่องแอร์ อย่างรถคันนี้ มันเป็นรถโฉมใหม่ นี่ครับ
มันจะมีแอร์อยู่ด้านล่างอยู่แล้ว (ฟูจิ) อ๋อ (ตุ้ย) ลองนั่งได้เลย เย็นปกติเลย อย่างนั้นเดี๋ยวผมขอถามหน่อย แล้วแอร์ตรงนี้ เกิดมันเป็นแอร์ตัวเดียวกัน จากด้านหน้า ด้านหลัง มันจะ… – มันจะวนกลับมาไหมใช่ไหมครับ
– วนกลับไปไหม คือตัวทำแผงกั้นปิดสนิทอยู่แล้ว – แล้วก็เวลาขับเราเปิดกระจกนิดหนึ่ง
– ครับ
คือแอร์เหมือนเป่าทิ้งอย่างเดียวครับ
มันก็จะระบายออก ส่วนของผู้ขับขี่
ก็ใช้แค่แอร์ตรงด้านหน้าเท่านั้นเอง ดีมากเลยนะ เรามีรถต้นแบบที่ใช้งานจริง ๆ อยู่ที่… โรงพยาบาลเอาไปใช้แล้วด้วยครับ
(บรรยาย) การเริ่มต้นทดลองใช้ระบบแบบนี้ ไม่ได้มีการจดสิทธิบัตรด้วยนะคะ คือเปิดให้คนมาเรียนรู้ และติดตั้งได้ด้วยค่ะ
เพื่อเป็นการช่วยเหลือกันและกัน และในอีกทางก็เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ ให้กับการให้บริการของแท็กซี่ไทยด้วยค่ะ
แล้วพลาสติกมันธรรมดา
หรือไม่ธรรมดาอย่างไรครับ
คือมันก็เป็นพลาสติกกันน้ำครับ
จริง ๆ แล้วมันคือพลาสติกกันน้ำ ที่ใช้ทั่วไปในบ้านเรานี่แหละ ก็มีความหนาระดับหนึ่ง เพื่อให้มันทนกับแรงเสียดทานด้วยนะครับ
แต่ว่า
ถ้าเป็นของการทำ Social Distancing เราใช้แค่ชั้นเดียว
แต่…
ถ้าเป็นโรงพยาบาลจะเป็นสองชั้น เพราะว่าต้องการป้องกัน
การวนของอากาศแบบ 100% ฉะนั้นการทำ Social Distancing หรือว่าแค่ลดความเสี่ยง เราจึงใช้แค่ชั้นเดียว – และนี่ก็คืออะไรครับ
ผม
– ช่องซิปครับ
– ช่องซิป
– นี่ช่องซิปที่… กรณีที่ผู้โดยสาร
ไม่สามารถชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ยังใช้เงินสดอยู่ เมื่อกดมิเตอร์เสร็จ ตอนนั้นมิเตอร์ราคาเท่าไรปุ๊บ เราก็จ่ายเงินทางช่องซิปนี้ (บรรยาย) ตอนนี้ก็เริ่มมีอู่แท็กซี่อื่น ๆ มาติดตั้งระบบพลาสติกกั้นแบบนี้ด้วยค่ะ
ค่าติดแพงไหมครับ
เฉลี่ยตอนนี้ต้นทุนอยู่ประมาณ
ไม่เกิน 1,500 บาท โอ้ อย่างนี้ไม่แพง
[หัวเราะ]
ลงทุน 1,500 บาท
แต่ว่าเดี๋ยวอีกไม่นาน ก็จะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น ถูกครับ
มันเป็นจุดที่มันเป็นไก่กับไข่ครับ
ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง เราอยู่แบบเดิมไม่ได้อยู่แล้ว ชั่วโมงนี้คือ
นิวนอร์มอล (New Normal) มาแน่นอน จะประกาศอีกกี่รอบ
ถ้าคุณติดตรงนี้ไป ผู้โดยสารก็ขึ้นได้ อยากรู้แล้วว่า ที่โรงพยาบาล เขานำไปปรับใช้อย่างไร เดี๋ยวเราไปดูที่โรงพยาบาลราชวิถีกัน
[เสียงดนตรี]
(ภาษาญี่ปุ่น) คุณผู้ชมตกใจไหมครับ
คุณหมอ สวัสดีครับ
(นพ.ไพโรจน์) สวัสดีครับ
เป็นคนไทย
แล้วคุณหมอพูดภาษาญี่ปุ่นด้วย ผมรู้สึก… ครับ
(บรรยาย) เปิดการสัมภาษณ์มาก็เก๋เลยนะคะ คุณหมอพูดภาษาญี่ปุ่นได้คล่องมาก มาเข้าเรื่องกันก็คือว่า ทางโรงพยาบาลราชวิถีนั้น มีรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 มารักษาตัวที่นี่ด้วย
ดังนั้นเมื่อมีการส่งกลับไปที่บ้าน แล้วใช้รถพยาบาลเปิดหวอ ชาวบ้านก็จะแตกตื่นตกใจกันเปล่า ๆ ท่านก็เลยคิดว่าจะลองใช้รถแบบอื่นดู เพื่อให้ทุกอย่างง่ายขึ้นค่ะ
แล้วพอแก้ไขแล้ว ความปลอดภัยเป็นอย่างไรครับ
(นพ.ไพโรจน์) คือตรงนี้นะครับ
เราก็คำนึงถึงความปลอดภัยอยู่ ตั้งแต่ในเรื่องของคนขับรถจะไม่ติดเชื้อ เพราะว่าเรารู้แล้วว่า… ข้างหลังคนที่นั่งอยู่คือคนที่เป็นโรคโควิดนะครับ
เราก็ไม่อยากให้คนขับ กลายเป็นตัวแพร่เชื้อ เอาคนอื่นไปติดอีก
เพราะฉะนั้นนั่นคือข้อหนึ่ง ข้อที่สองก็คือคนที่นั่งข้างหลังเอง
ถ้าในอนาคตข้างหน้า เขาไม่ได้เป็นอะไร
แต่ว่าเขาขึ้นไป
คนขับรถอาจจะเป็นตัวแพร่เชื้อก็ได้
เพราะฉะนั้น เขาจะต้องทำอย่างไร ให้ทั้งคนขับ และทั้งผู้นั่ง ไม่เกิดการติดเชื้อระหว่างกันได้ คือสิ่งที่เป็นหัวใจของแท็กซี่โควิดคันนี้ครับ
– ที่ที่มี…
– ใช่ครับ
(บรรยาย) จากหัวใจในการให้บริการผู้ป่วยดังกล่าว ท่านก็เลยร่วมคิดพัฒนากันต่อ กับคนขับรถของทางศูนย์กู้ชีพนเรนทร ของทางโรงพยาบาลด้วยค่ะ
จนขณะนี้ก็ใช้แท็กซี่
ที่มีระบบป้องกันแบบพิเศษนี้ มาได้ประมาณ 2 เดือนแล้วค่ะ
ผลคือไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อใด ๆ เพิ่มเติม แม้จะเป็นรถที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อ เช่น ผู้ที่ไม่แน่ใจว่าป่วยเป็นอะไร แล้วต้องการมาตรวจ แท็กซี่พิเศษของทางโรงพยาบาล ก็ไปรับมาแล้วค่ะ
ตอนแรกที่ผมบอกคุณตุ้ยว่า ในคนขับแท็กซี่ผมต้องเลือกนะ เลือกคนขับแท็กซี่ที่หนึ่ง คือมีความใจเย็น ไม่ขับรถเร็ว
และก็มีการรักษาระเบียบวินัยนะครับ
ค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลราชวิถีพอไหมครับ
หรือว่าต้องขาดอีก หรืออย่างไรครับ
คือค่าแท็กซี่นี่ครับ
ก็เป็นสิ่งหนึ่ง คือเราเองก็มองถึงว่า… ในวันนี้เราก็มีการให้บริการอยู่
สำหรับในเรื่องของผู้ป่วย
แต่เราก็จะต้องคิดว่า … แล้วเราจะทำอย่างไรดี ในการที่จะให้คนไข้จ่าย ซึ่งก็… ก็มองว่ามันก็เป็นเรื่องที่ดี
แต่ว่าคนขับแท็กซี่
จะต้องเก็บเงินจากคนไข้อย่างไร
แต่จริง ๆ แล้วคนที่เป็นโควิดแล้ว ก็
ถ้าเขารักษาดีขึ้นแล้ว ก็ถือว่าเขาก็ไม่ติดต่อแล้ว
แต่คราวนี้
เนื่องจากว่าในการทำงาน เราลดความเสี่ยงให้มากที่สุด ไม่ให้มีความเสี่ยงเลยนะครับ
ผมก็เลยบอกว่า อย่างนั้นก็คือหาคนช่วยสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งตอนนี้เดี๋ยวก็ต้องดูก่อนว่า อาจจะต้องเปิดรับกองทุน หรือจะอย่างไร เดี๋ยวค่อยว่ากันอีกทีหนึ่ง
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) ตอนนี้เราอยากเห็นแล้วว่า แท็กซี่ที่ติดตั้งอุปกรณ์พิเศษ
เพื่อการรับส่งผู้ป่วย ที่เกี่ยวเนื่องกับโควิด-19 หน้าตาเป็นอย่างไร ไปดูกันค่ะ
[เสียงดนตรี]
– นี่หรือครับ
เห็นแล้ว
– นี่ครับ
ในเรื่องทีมงานนะครับ
ทีมงานกำลังเตรียมงานกันอยู่นะครับ
ภายในโรงพยาบาลราชวิถีเรานี่นะครับ
เราได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ หน่วยงาน
เพราะฉะนั้นนี่คือการทำงานเป็นทีมเวิร์ก – ดูได้ไหมครับ
– ได้เลยครับ
ได้ครับ
(ปิยะ) ในการวางโครงของเรานะครับ
เจ้าของเดิมที่ไปดูงานจากที่อู่ฮั่นมา เขาก็ออกแบบมาได้ดีอยู่แล้วนะครับ
แต่ว่ามันสามารถมีรูอากาศข้างในจากข้างหลัง สามารถย้อนกลับไปได้ เราก็เลยออกแบบขึ้นเพิ่มนิดหนึ่ง โดยการติดพลาสติกชิ้นที่สองขึ้นไปนะครับ
แล้วก็ทำให้ตรงกลางเป็นสองชั้น แล้วก็การซีล (Seal) ของเรา ก็จะซีลเข้ากับตัวคิ้วของรถนะครับ
เพื่อที่จะไม่ให้อากาศ ผ่านได้เลย ผ่านได้เลยครับ
ซีลทั้งหมดลงมายันพื้น (ฟูจิ) มันเข้าไปข้างในตรงพื้นเลย ใช่ครับ
ลงมาพื้นเลยครับ
[เสียงดนตรี]
(ปัญจศิลป์) หลักการทำความสะอาดง่าย ๆ นะครับ
คือทำจากส่วนที่สะอาดที่สุดไปส่วนที่สกปรกที่สุด เราจะเริ่มจากนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจ ต้องมีการเทรนนิง (Training) ก่อน
ฝึกคนขับแท็กซี่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแก่ตัวเขา และตัวผู้โดยสารเองนะครับ
เราก็ปรึกษากับทีมควบคุมการติดเชื้อ ในการใช้น้ำยาในการที่จะฉีดพ่นรถนะครับ
หลังจากไปรับคนไข้มา เราก็มาจะฉีดพ่นอีก โดยฉีดรถทิ้งไว้ 30 นาที
ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกนะครับ
หลังจากนั้น ก็ใช้ผ้าสะอาดเช็ดตามอีกทีหนึ่ง (บรรยาย) ใช่ค่ะ
ไม่ว่าจะมีระบบอะไรมาเพิ่มเติมก็ตาม สิ่งที่ห้ามลืมก็คือ ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ และห้ามเอามือไปสัมผัสตา ปาก จมูก จะดีที่สุดนะคะ
และสุดท้ายเราจะแนะนำอู่แท็กซี่อีกแห่ง ให้ได้เห็นว่า… อู่แท็กซี่ทั่ว ๆ ไป จะมีมาตรการอย่างไรค่ะ
ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบในทางธุรกิจนั้น โดนกันไม่น้อยอยู่แล้ว เพราะผู้โดยสารลดลง
แต่อู่นี้ก็ยังคงดูแลคนขับแท็กซี่
ที่มาเช่ารถของบริษัท ด้วยการเลี้ยงอาหารทุกวัน มีการฉีดฆ่าเชื้อ แจ้งให้คนขับรถล้างมือบ่อย ๆ และใส่หน้ากากอนามัยด้วยค่ะ
(ฟูจิ) ช่วยสาธิตวิธีการทำความสะอาด ทำให้คนขับวางใจ และผู้โดยสารวางใจ ทำกันอย่างไร ขอดูหน่อยได้ไหมครับ
(ประคอง) โอเคเลยค่ะ
มาทางนี้เลยค่ะ
อ๋อ ฉีดอย่างนี้เลย ใช่ค่ะ
เราก็จะเน้นตามขอบ ตามเบาะ ตามขอบประตูอย่างนี้ค่ะ
(ฟูจิ) อย่างนี้ก็มีงบประมาณแพงขึ้นสิครับ
เราก็ไม่ได้ซีเรียสตรงนั้นค่ะ
ขอให้ปลอดภัย ดีจังครับ
ทั้งผู้โดยสาร และก็คนขับของเรา ก็คืออยากจะให้หายไปเร็ว ๆ ค่ะ
(ฟูจิ) อือ เนอะ (บรรยาย) ดูฝั่งบ้านเราเรียบร้อยแล้ว เราไปดูที่ญี่ปุ่นกันบ้างค่ะ
ว่าเป็นอย่างไร ว่า
แต่ว่า ฟูจิเซ็นเซคะ ใครกันคะ ที่จะทำหน้าที่แทนในญี่ปุ่น เป็นอย่างไรครับ
New Normal ในประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องรถสาธารณะ แล้วสงสัยไหมครับ
ว่า ที่ญี่ปุ่นเป็นอย่างไร เอ่อใช่ ผมไปไม่ได้ เครื่องบินยังไม่บิน ไม่เป็นไร มีพิธีกรที่ญี่ปุ่นครับ
ชื่อ บีหรุซัง ที่เป็นเพื่อนผม ไปดูกันเลย บีหรุซัง (บีหรุซัง) ได้เลยครับ
ฟูจิเซ็นเซ เดี๋ยวบีหรุซังจะทำหน้าที่ให้เต็มที่ที่สุดเลยนะครับ
แต่…
ก่อนอื่นขออนุญาต
ถอดมาสก์ (Mask) ออกก่อนนะครับ
เพื่อความสะดวกในการถ่ายทำ
แต่บีหรุซังยังจะใส่
เฟซชีลด์ (Face Shield) อยู่นะครับ
เพื่อความปลอดภัย วันนี้นะครับ
บีหรุซังก็ไม่ได้ออกจากบ้านมาสองเดือน เป็นวันแรกที่ได้ออกจากบ้านนะครับ
เดี๋ยวบีหรุซังก็จะพาทุกท่านไปดูนะครับ
ว่า ทางญี่ปุ่นเขามีมาตรการรองรับ สถานการณ์โควิด-19 อย่างไรนะครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบขนส่งสาธารณะ เช่น แท็กซี่ หรือว่ารถไฟฟ้า เป็นอย่างไร ตามบีหรุซังมาเลยครับ
ไปดูพร้อม ๆ กันเลย (บรรยาย) บีหรุซัง หรือคุณเบียร์ ที่เคยมาเป็นแขกรับเชิญของเรานี่เอง ตามบีหรุซังไปที่บริษัทแท็กซี่ก่อนเลยค่ะ
ซึ่งแน่นอนว่า
ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ด้วย คือผลกำไรลดลงไป 40 – 60% กันเลย ซึ่งจริง ๆ ทางรัฐบาลญี่ปุ่น ให้เงินช่วยเหลือมาบ้าง
แต่ทางบริษัทเอง
ก็พยายามหาวิธีแก้ไขปัญหานี้ด้วยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ภาษาญี่ปุ่น) (บีหรุซัง) เขาก็บอกว่า ตอนนี้ก็คือให้แท็กซี่ ที่เป็นลักษณะรถแบบนี้นะครับ
เปลี่ยนจากการรับ-ส่งผู้โดยสาร มาเป็นอาจจะส่งอาหาร หรือว่าไปทำการช่วยซื้อของแทนนะครับ
ทางลูกค้าก็จะโทรศัพท์มาที่บริษัทนะครับ
บอกว่าให้รบกวนช่วยวานซื้อของอันนี้
ให้หน่อยได้ไหม ทางคนขับก็จะขับไปซื้อของ แล้วก็นำของที่ซื้อไปบริการส่ง ให้กับลูกค้าถึงที่บ้านเลยนะครับ
อันนี้ก็จะเป็นแบบบริการแบบใหม่ ที่จะเอามาแทน
การรับ-ส่งผู้โดยสารแบบทั่วไปปกติครับ
(บรรยาย) ส่วนวิธีการรักษาความสะอาด ก็จะคล้าย ๆ บ้านเรานะคะ คือคนขับจะต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เมื่อมีคนขึ้นลงรถ ก็จะต้องทำความสะอาด ตามจุดที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ เป็นพิเศษ
แต่…
ถ้าผู้โดยสารไม่มีหน้ากากอนามัย ก็จะต้องขอให้เปิดกระจกรถลงบ้าง (ภาษาญี่ปุ่น) (บีหรุซัง) ส่วนที่เป็นของคนขับ คนขับก็จะทำความสะอาดด้วยตัวเองนะครับ
แต่ส่วนที่เป็นทางด้านคนนั่ง
ทางด้านหน้าและด้านหลัง ก็จะเป็นพนักงานท่านอื่น… เป็นคนทำความสะอาดให้ครับ
(บรรยาย) สังเกตเห็นกันใช่ไหมคะ ว่ารถแท็กซี่ในญี่ปุ่นก็มีพลาสติกกั้น ระหว่างคนขับกับผู้โดยสารด้านหลัง เหมือนบ้านเราเลยค่ะ
เดี๋ยวบีหรุซังจะนั่งแท็กซี่คันนี้ดูบ้างค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (บีหรุซัง) ก็ถามเขานะครับ
ว่า… ตอนนี้มีมาตรการของรัฐบาล และก็ของบริษัทออกมาแล้ว เขารู้สึกมั่นใจหรือว่ามีความสบายใจ
ในการขับรถหรือไม่นะครับ
หรือว่ามีเรื่องกังวลใจอะไรหรือเปล่าครับ
เขาก็บอกว่า
ตอนนี้ก็ยังมีความกังวลใจอยู่นะครับ
เนื่องจากมีสถานการณ์ของโควิด-19 นะครับ
ไม่รู่ว่าตอนนี้มันจะมีระยะ 2 ระยะ 3
เกิดขึ้นหรือเปล่านะครับ
ก็เลยมีความรู้สึกว่าไม่มั่นใจ แล้วก็เรื่องรายได้อีกก็ลดลง (บรรยาย) การพยายามระวังตัวเอง นับเป็นเรื่องที่ดีที่สุดนะคะ
ดังนั้นแม้
แต่การชำระเงิน ก็สามารถชำระด้วยระบบออนไลน์ บนอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ในรถแบบนี้ค่ะ
ซึ่งจริง ๆ ติดตั้งไว้ตั้งแต่ก่อนมีเหตุการณ์โควิด-19 เพราะแท็กซี่ของบริษัทนี้ เป็นแท็กซี่ที่จัดทำขึ้นใหม่
เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ในช่วงมหกรรมกีฬาโอลิมปิกนะคะ ก็คงจะต้องรอกันไปถึงปีหน้า เอาใจช่วยคนญี่ปุ่นสำหรับเรื่องนี้ด้วยค่ะ
(บีหรุซัง) ตอนนี้ก็จะทำการจ่ายเงิน
ด้วยบัตรเครดิตนะครับ
เดี๋ยวใช้บัตรเครดิตของบีหรุซังครับ
เป็นจำนวนเงิน 800 เยน ตอนขั้นแรก
ก็เอาบัตรเครดิตเสียบเข้าไปตรงนี้ แล้วก็แตะว่าเป็นเครดิตการ์ดนะครับ
แตะไป [เสียงเครื่องชำระเงิน] อันนี้ก็แปลว่าเสร็จสมบูรณ์นะครับ
ตอนนี้เราก็จ่ายเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ
พนักงานก็จะยื่นใบเสร็จให้เรานะครับ
ต่อไปเราก็จะลงจากรถนะครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) พนักงานก็จะกดปุ่มเปิดประตูให้เรา เราก็ไม่ต้องเปิดประตูเอง ไม่ต้องจับประตู
[เสียงดนตรี]
(บรรยาย) จากรถแท็กซี่
เราตามไปดูบนรถไฟฟ้ากันบ้างค่ะ
จะเห็นว่าบนรถไฟตอนนี้ คนยังน้อยมากเลย น้อยกว่าปกติ แทบจะนับคนได้เลยครับ
ซึ่งปกติวันธรรมดาคนก็จะแน่นนะครับ
จะแบบมียืนโหน อะไรไปด้วย
ตอนนี้คือไม่มีนะครับ
แล้วจะเห็นว่าหน้าต่างถูกเปิดมานะครับ
เพราะจะให้ระบายอากาศ
[เสียงดนตรี]
อันนี้นะครับ
ก็จะเป็นวิธีการป้องกันตามสถานีต่าง ๆ เขาก็จะมี เช่นว่า เวลาไอหรือจามให้ปิดหน้า อย่าเปิดแบบนี้นะครับ
นี่… แล้วก็ให้ใส่หน้ากากแบบนี้ด้วยนะครับ
หรือไม่ว่าจะเป็นวิธีการล้างมือ จะต้องล้างมือแบบไหน เพื่อที่จะให้ปลอดภัยนะครับ
ให้มือสะอาดล้างแบบไหนครับ
(บรรยาย) ในรถไฟคนเบาบางมากนะคะ แม้ว่าจะเป็นรถไฟ
ที่วิ่งมาจากสถานีใหญ่อย่างชิบูยะค่ะ
และเราก็เห็นชัดเลยนะคะว่า… ทุกคนใส่หน้ากากอนามัย ในรถไฟก็มีการเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ เพื่อให้อากาศถ่ายเทค่ะ
ซึ่งวันที่เราถ่ายทำนี้ เป็นวันก่อนที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่น
จะประกาศคลายมาตรการฉุกเฉิน แล้วหลังคลายมาตรการฉุกเฉิน สถานการณ์โดยทั่วไปจะเป็นอย่างไร ตอนหน้าเราจะให้บีหรุซัง พาเราชมโตเกียวในบรรยากาศโควิด-19 กันค่ะ
พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่น
ที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ