ชีวิตไม่ได้มีไว้ท้อ

1105 0

(บรรยายหญิง) จากวงการแข่งรถ
ความฝันสูงสุดของชีวิต (ฟูจิ) ที่ผ่านมาท่านบอกว่า… โอ้โฮ เรื่องฟุตบอล
เรื่องเบสบอลไม่เอาแล้ว โตขึ้นจะต้องเป็นนักแข่งรถ F1 ให้ได้ [เสียงรถเบรก] (ฟูจิ) หลังจากเกิดอุบัติเหตุ
ท่านบอกว่าจำอะไรไม่ได้เลย มารู้ตัวอีกทีก็คืออยู่ในโรงพยาบาล อยากจะพูดก็พูดไม่ได้ ฝันร้ายอยู่หรือเปล่า
เรากำลังฝันอยู่หรือเปล่า ประมาณนั้น

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) กลับมาต้องใช้ชีวิตอีกรูปแบบ (ฟูจิ) ผมถามท่านว่า ทำไมท่านมาถึงนี่ได้ ท่านบอกว่าต้องมั่นใจโดยไร้เหตุผลนะ (บรรยาย)
แต่จากความไม่สมบูรณ์นี่เอง ที่ทำให้สร้างผลงานเพื่อผู้อื่นได้ (ฟูจิ) ท่านบอกว่าจะทำอะไรก็แล้ว
แต่
มันต้องสนุกกับชีวิต เห็นรูปคนนั่งรถเข็น จะต้องมีความเท่ พูดง่าย ๆ มาจากความรู้สึกของตัวเองว่า ทำอย่างไรให้ตัวเองอยากนั่ง

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย)
ถ้าใครกำลังท้อ
ตามฟูจิเซ็นเซไปด้วยกันเลยค่ะ
(ฟูจิ) สิ่งที่ลูกชายออกแบบมา คุณแม่จะไม่เลิกล้ม ทำในสิ่งที่มันดีอยู่แล้ว ต้องทำเพิ่มอีก (ภาษาญี่ปุ่น)

[เสียงดนตรี]

[เสียงนกร้อง] (ฟูจิ) สวัสดีครับ
ท่านผู้ชม วันนี้หนาวมากเลย เราจะแพ้ความหนาวได้อย่างไร วันนี้เราจะเป็นเจอซูเปอร์ฮีโร่คนหนึ่ง เขาเป็นที่ประสบความสำเร็จมากเลย
แต่มีอยู่วันหนึ่งเขาประสบอุบัติเหตุ กลายเป็นหมดอะไรทุกอย่างเลย เป็นคนพิการไป
แต่เขาสามารถเปลี่ยนจากวิกฤตให้เป็นโอกาส กลับมาเป็นฮีโร่ใหม่ และเป็นคนที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้คนได้เยอะแยะมากมายเลย และเขาบอกอีกนะครับ
ว่า… ความพิการทำให้เขาเป็นมนุษย์ที่ใหญ่ขึ้น เดี๋ยวเราไปดูกันครับ
ว่า ความหมายที่เขาพูดมามันลึกซึ้งขนาดไหน ไปดูกันดีกว่า ไปกันครับ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ไปทานข้าวเที่ยงด้วยกันไหม (ภาษาญี่ปุ่น) คุณแม่บอกว่าสั่งอาหารมากินที่บ้านไหม ลูกชายบอกว่าไม่เอา พวกเรามาก็ต้องไปกินข้าวด้วยกันสิ สนุก อร่อยด้วย (บรรยาย) มาถึงก็ไม่พูดพร่ำทำเพลง เราเข้าไปถึงบ้านของแขกรับเชิญกันเลยค่ะ
และก็เป็นเวลาอาหารกลางวันพอดี ท่านจึงชวนเราไปร้านอาหารใกล้บ้าน ไปกันค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) ถามว่า เดินทางบ่อยไหม บอกว่า ไปที่ไหนก็ช่วยตัวเองหมดเลย ขึ้นรถบัส ขึ้นรถเมล์ ขึ้นเครื่องบิน
ไปไหนเองหมดเลยครับ
และปัจจุบันนี้ก็เป็นอาจารย์สอนขับรถด้วยนะครับ
(บรรยาย) สอนขับรถด้วยหรือคะนี่ สุดยอดเลยนะคะ
แต่เรื่องที่ทำให้เรามาคุยกับท่านวันนี้
ไม่ได้เกี่ยวกับการขับรถ จะเกี่ยวกับอะไร ตามกันต่อไปค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) การต้องปรับตัวเมื่อต้องมานั่งรถเข็น มือและขา รวมทั้งร่างกายไม่เหมือนเดิม น่าจะเป็นเรื่องหนักหนามากสำหรับคนคนหนึ่งนะคะ
แต่ว่าเมื่อท่านผ่านมาแล้ว ก็มีประสบการณ์ดี ๆ มาเล่าให้เราฟังค่ะ
และเป็นประสบการณ์ที่โลดโผนมากเลยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) ชอบ F1 ไหม ชอบเล่นไหม แล้วทำไม เป็นมาอย่างไร บอกว่าตั้งแต่อายุ 14 ปี ชอบมากเลย ชอบขับรถ และก็ขับมา 7 ปีนะครับ
แล้วก็ได้ไปฝึกที่ฝรั่งเศส 1 ปี ในปี ค.ศ. 1999 แล้วกลับมา ก็ได้เป็นนักแข่งรถ ฝีมือแบบว่าไม่ธรรมดา
แต่ว่าแน่นอน ในโลกแห่งการแข่งขัน มันมีแพ้ มีชนะ
เพราะฉะนั้น เวลาแพ้จะทำอย่างไร
ให้ตัวเองจิตใจไม่ตก นี่แหละสิ่งสำคัญ ผมยกตัวอย่างนะว่า… ตอนเด็ก ๆ ผมอยากเป็นนักมวย พออยากเป็นนักมวย มันมีรุ่นพี่ มีคนที่เก่งกว่าเราเยอะแยะมากมายเลย พอเราไปต่อยแล้วเราแพ้เขาอย่างนี้ มันหมดกำลังใจ มันท้อมากนะ เราจะทำอย่างไรที่มันจะเป็นที่หนึ่ง
หรือว่าจะทำต่อได้อย่างไร เพราะ
ถ้าเราท้อปุ๊บ ใจเรามันจะตก พอตกก็ไม่อยากซ้อม ก็เลยถามท่านว่า ทำไมมาถึงตรงนี้ได้ ท่านบอกว่า ต้องมั่นใจโดยไร้เหตุผล (บรรยาย) ด้วยคำพูดของท่านที่บอกว่า ต้องเชื่อในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ โดยไม่ต้องมีเหตุผลอะไรทั้งนั้น
แล้วจะทำสำเร็จจนได้ ซึ่งท่านก็หมายถึงทั้งเรื่องการเป็นนักขับรถแข่ง และก็ชีวิตของท่าน
หลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรง จนทำให้ชีวิตเปลี่ยนค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) ก็คือเขาไม่อยากมีอุบัติเหตุหรอก
แต่ตอนนี้มาเป็นแบบนี้แล้ว กลับกลายเป็นว่า
น่าจะขอบคุณที่ได้เจอหนทางใหม่ ได้เห็นหนทางใหม่
ถ้าเขาไม่ได้มาขับรถ
ก็จะไปมีชีวิตอีกอย่างหนึ่งเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ทุกชีวิตทุกขั้นตอน
มันมีเหตุผลของเขา

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) หนทางใหม่ของท่านคืออะไร หลังอาหารมื้อกลางวัน
เรากลับไปนั่งคุยกันที่บ้านต่อนะคะ เริ่มกันตั้งแต่ชีวิตของนักขับรถแข่งเลยค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ท่านบอกว่าจุดเริ่มต้นไปมาอย่างไร
ถึงมาชอบแข่งรถหรือขับรถ ท่านบอกว่า ตอนอายุ 13 ปี
ท่านมีโอกาสได้ไปซูซูกะ ซึ่งเป็นที่แข่งรถ F1 ที่เจ๋งที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ได้ดู ได้เห็นนะครับ
ความเร็วมันสุดยอดมาก ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วที่ผ่านมาท่านบอกว่า… เรื่องฟุตบอล เรื่องเบสบอลไม่เอาแล้ว โตขึ้นจะต้องเป็นนักแข่งรถ F1 ให้ได้ นี่คือจุดเริ่มต้น (ภาษาญี่ปุ่น) ตอนแรกก็เริ่มเป็นรถคันเล็ก ๆ นะครับ
ที่มีความเร็วประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเรียกว่า โกคาร์ต (Go-kart) แล้วก็เริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุ 18 ปี ก็ได้สอบใบขับขี่ ท่านมีความฝันว่าจะต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้
ดังนั้นก็เลยไปเรียนต่างประเทศ ไปเรียนที่ฝรั่งเศส ไปเรียน 1 ปี เกี่ยวกับเรื่องการขับรถ F1 นะครับ
ทำให้มาถึงตรงนี้ได้ (ภาษาญี่ปุ่น) สิ่งที่จะทำให้สำเร็จได้ก็คือ… สิ่งแรกคือการโน้มน้าวให้คุณแม่โอเค ใจของเขาอยากเก่ง อยากฝึก F1 ก็จริง

แต่…

ถ้าคุณแม่ไม่ร่วมมือ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะฉะนั้น ก็เลยวางแผนให้คุณแม่สนับสนุนท่าน คุณแม่บอกว่าสิ่งที่อยากจะทำ หรือสิ่งที่อยากเจอในอนาคตให้หาเอง ท่านก็เลยไปเรียนจากหนังสือในร้านหนังสือว่า จะทำอย่างไรให้เป็น F1 ก็เลยต้องไปเรียนเรื่องโกคาร์ตก่อน ไปเรียนเรื่องโกคาร์ตก็ต้องรู้อีกว่าที่ไหนยอมรับ ก็ไปดูบริษัทที่ทำโกคาร์ต แล้วส่งจดหมายไปทั่วทุกที่เลย มีอยู่บริษัทหนึ่งตอบรับมา ก็เลยได้ไปฝึกที่นั่น คุณแม่ก็พาไปด้วยครับ
(บรรยาย) เมื่อเข้าสู่วงการแข่งรถแล้ว ก็ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จไปอีกขั้น
แต่แล้วเหตุการณ์พลิกผันก็เกิดขึ้นค่ะ
[เสียงรถเบรก] (ภาษาญี่ปุ่น) ก็คือการเจออุบัติเหตุ
ตอนปี ค.ศ. 2002 เดือน 10 วันที่ 13 แข่งที่ซูซูกะ เป็นตัวแทนของบริษัทยักษ์ใหญ่ ก็ได้ขับและก็ในปีนั้น มีการแข่งขันที่สูงมาก ทำอย่างไรที่จะทำให้ตัวเองเข้ารอบให้ได้ หรือจะต้องมีคะแนนที่ดีเพื่อที่ปีหน้าจะได้ขับต่อ ก็ฝืนตัวเองเกินไป ทำให้ตัวเองขับรถไปชนกับรถข้างหน้า รถตีลังกากลางอากาศหลายรอบเลย ทำให้เกิดอุบัติเหตุแบบนี้ขึ้นมาครับ
(ภาษาญี่ปุ่น) หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ชีวิตเป็นอย่างไร ท่านบอกว่าจำอะไรไม่ได้เลย คือมารู้ตัวอีกทีก็คืออยู่ในโรงพยาบาล อยากจะพูดก็พูดไม่ได้ ขยับได้แค่ตา แล้วก็ตื่นมาก็มองเห็นกำแพง เพดาน ฝันร้ายอยู่หรือเปล่า
เรากำลังฝันอยู่หรือเปล่า ประมาณนั้น (บรรยาย) หลังจากเหตุการณ์อุบัติเหตุในครั้งนั้น ท่านก็ยังขยับตัวไม่ได้อีกเป็นครึ่งปี แม้คนรอบข้างจะปลอบใจว่า เดี๋ยวก็ไปแข่งได้อีก ท่านจึงตัดสินใจคุยกับคุณหมอด้วยตัวเอง ว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของท่านกันแน่ ผลก็คือคุณหมอบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้แล้วค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) หลังจากนั้นคุณหมอก็บอกว่า… ร่างกายเธอไม่กลับมาเหมือนเดิมแล้ว ท่านก็รู้ แล้วก็ตกใจ หลังจากนั้นเย็นนั้น เพื่อนมาเยี่ยม ได้รู้แล้วนะว่า
หมอบอกว่า ผมจะขับรถไม่ได้ตลอดชีวิต
แต่เพื่อนคนนั้นบอกว่า
ไม่ว่าหมอจะบอก
อย่างไรก็ตาม เขายังเชื่อฮิโระอยู่ว่า… คุณจะกลับมาขับรถได้ ไม่ว่าหมอจะว่าอย่างไร นั่นเป็นกำลังใจที่ทำให้เขาอยากอยู่ต่อ และก็เชื่อว่ามันเป็นไปได้
ถ้าเราไม่เลิกล้ม
ถ้าเราไม่ท้อ (ภาษาญี่ปุ่น) ก็ถามว่าการที่ทำไมตัวเองเจออุบัติเหตุแล้ว… บอกคุณแม่ว่าตัวเองอยากอยู่คนเดียว ท่านก็บอกว่าไม่อยากแพ้ตัวเอง
ตอนที่ตัวเองเป็นนักแข่ง คือเข้มงวดกับตัวเองดีกว่า ไม่ใช่ว่าตัวเองจะพึ่งคนอื่นตลอดเวลา และ
ถ้าเป็นตัวเองในสมัยก่อน คุณแม่เห็นว่าตัวเองทำได้ ก็จะรู้สึกว่าคุณแม่ก็จะวางใจ และทุกคนก็จะวางใจ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ตลอดเวลาที่พูดคุย ท่านจะพูดถึงคุณแม่อยู่ตลอดเลยนะคะ เพราะว่าคุณแม่นี่แหละค่ะ
ที่อยู่เบื้องหลังคอยช่วยเหลือทุกอย่างค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) คุณแม่มีส่วนสำคัญอะไรในการเปลี่ยนแปลงชีวิต ท่านก็บอกว่าตั้งแต่เล็ก ๆ เลย ท่านเห็นคุณแม่ใช้ชีวิตอย่างไร ก็เป็นสิ่งแวดล้อม ก็คือคุณแม่เมื่อตัดสินใจว่าจะทำอะไรแล้ว ต้องทำให้เสร็จให้ได้ ทำให้สู่เป้าหมายให้ได้ นั่นแหละคือพลังที่ท่านได้รับสืบทอดมาจากคุณแม่
เพราะฉะนั้น

ถ้าตัดสินใจว่าจะทำอะไรแล้ว ต้องทำให้ได้ (บรรยาย) สำคัญมากเลยนะคะ การจะสอนลูก วิธีที่ดีที่สุดคือการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างค่ะ
และมาถึงวันนี้
ที่ชีวิตของท่านพลิกผันไปจากฝันที่มีอยู่เดิม ก็มีคุณแม่นี่แหละค่ะ
ที่เป็นผู้ช่วยคนสำคัญ (ภาษาญี่ปุ่น) และปัจจุบันนี้ครับ
ท่านก็ทำอะไรครับ
ทำการออกแบบกางเกงพิเศษ
สำหรับคนพิการที่นั่งรถเข็น คือคนที่นั่งรถเข็น
ถ้านั่งท่าเดิมนาน ๆ
และก็ทับผ้านาน ๆ จะเป็นบาดแผล
ดังนั้น ก็เลยต้องออกแบบกางเกงพิเศษ ที่จะไม่ให้เกิดบาดแผลเวลานั่งนะครับ
ไม่อย่างนั้น
ถ้าเกิดบาดแผลแล้ว
จะทำให้ป่วยมากขึ้น เป็นแผลที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และอันตรายได้ ก็เลยออกแบบ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ท่านบอกว่าเริ่มต้นจากตอนที่ท่านขับรถ แล้วเจออุบัติเหตุ พิการ สมัยก่อนขับแบบสบายเลย เดี๋ยวนี้กว่าจะขยับมือ ขยับขายากมาก เสื้อ แน่นอนต้องเป็นแฟชั่น และดูแล้วดูดีเหมือนคนธรรมดา ไม่ให้ดูเป็นเสื้อผ้าสำหรับคนพิการ
ไม่ให้เป็นอย่างนั้น
แต่จะต้องมีความเป็นธรรมดา และพิเศษอยู่ข้างใน ก็คือกางเกงที่ก้นเป็นกางเกงผืนเดียว จะไม่มีกระเป๋า ไม่อย่างนั้นจะนั่งแล้วเจ็บ กระดุมอาจจะไม่ใช่กระดุม

แต่จริง ๆ ใช้เป็นแบบว่าตีนตุ๊กแก สรุปแล้วคือให้มันเหมือนธรรมดาที่สุด ให้เหมือนเป็นคนปกติที่สุด การใช้งานสำหรับคนพิการ

แต่ว่าดูเหมือนคนธรรมดาครับ
(บรรยาย) เสื้อผ้าสำหรับคนพิการ
ที่ท่านออกแบบนั้น กลายเป็นเสื้อผ้าที่ได้รับการยอมรับ ให้ใช้สำหรับการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกด้วยนะคะ และเมื่อท่านได้รับการสัมภาษณ์
ในสื่อต่าง ๆ มากมาย ก็ทำให้มีบริษัท หรือหน่วยงานต่าง ๆ ติดต่อมาให้ท่านเข้าร่วมงานด้วยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) การตอบรับที่ดีต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ถามท่าน ท่านก็บอกว่า หนึ่งก็คือต้องเป็นผู้โพรดิวซ์ (Produce) วิธีการอันหนึ่งก็คือการตลาดที่ดีด้วย และก็ไปร่วมมือจอย (Join) กับคนอื่น จอยกับคนอื่นอย่างไร ก็คือการไปทักบริษัทเบาะ ซึ่งเป็นบริษัทเบาะที่ไม่เกี่ยวกับคนพิการเลย
แต่มาทักว่าเรามาร่วมกันไหม มาร่วมกันผลิตเก้าอี้ที่นั่ง
แล้วแบบว่าไม่ทำให้เป็นแผล เพราะคนพิการนั่งท่าเดียว จะเป็นแผลและอันตราย บริษัทนั้นทำไมต้องมาพึ่งท่าน ท่านบอกว่า
ท่านมีจุดเด่นก็คือ เคยเป็นนักแข่งมาก่อน แล้วก็เคยเป็นผู้ผลิตกางเกงมาก่อน ทำให้บริษัทรู้สึกว่า ท่านมีความโดดเด่นแตกต่าง ทำให้เกิดการประสบความสำเร็จ กว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ใช้เวลา 2 ปี (บรรยาย) พูดคุยเรื่องการออกแบบ
ท่านก็โชว์ให้เราดูเลยค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) นี่ท่านจะให้เราดูนะ ทุกอย่างมันต้องเท่ด้วย (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) อันนี้ครับ
ท่านบอกว่า… จะทำอะไรก็แล้ว
แต่ มันต้องสนุกกับชีวิต ทุกอย่างต้องมีความเท่ และมีความสวยงาม ดูตรงนี้ครับ
รถเข็นก็ต้องเป็นรูปภาพที่สวยงาม ท่านบอกว่า
ถ้าเป็นธรรมดาจะเป็นสีฟ้า
แต่ดูสิครับ
ว่า เป็นรูปคนนั่งรถเข็น จะต้องมีความเท่
มีความสวยงามในภาพที่ดีไซน์ครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) อยากเห็นภาพ
ขั้นตอนการออกแบบของท่านชัด ๆ ก็ต้องไปดูที่ห้องทำงานกันค่ะ

[เสียงดนตรี]

(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่ครับ
ก็คือภาพของคนพิการที่นั่งรถเข็น ธรรมดาเป็นอย่างนี้นะครับ
ท่านบอกว่าท่านไม่ชอบ นี่ครับ
ดูครับ

จะเป็นแบบแอ็กทิฟ (Active) มากกว่านี้ จะมีเหมือนกับเป็นกำลังแอ็กทิฟมากกว่า เหมือนกับมันขยับเขยื้อนกระปรี้กระเปร่ากว่า (ภาษาญี่ปุ่น) นี่ไงคือเบาะ
ขนาดเบาะยังดูเหมือนเป็นนักแข่งรถเลย นี่แหละคือไอเดียของนักแข่งรถ ดูนะครับ
มันเป็นรอยเว้า รอยอะไรต่าง ๆ ซึ่งไม่ธรรมดาเลย บอกว่าเป็นเจลผสมกับเบาะเลยนะ
ถ้าเป็นเจลเฉย ๆ
ถ้ามันรั่วก็คือรั่วเลย
แต่นี่เป็นพิเศษด้วย สบายด้วย และก็เท่ด้วย เป็นสิ่งสำคัญมาก (ภาษาญี่ปุ่น) มีความรู้มาจากไหนก็คือ
จากความรู้สึกที่ตัวเองอยากได้ ที่ยังไม่เคยมีในโลกนี้ เช่น นั่งไม่สบาย นั่งแล้วไม่มีความเท่ พูดง่าย ๆ มาจากความรู้สึกของตัวเองว่า ทำอย่างไรให้ตัวเองอยากนั่ง อยากได้ของแบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน เอามาบวกกัน และก็มาเรียนรู้ มีประสบการณ์ต่าง ๆ
บวกกับประสบการณ์ที่เคยขับรถมา ก็มาเป็นดีไซน์ที่โดดเด่น (ภาษาญี่ปุ่น) (บรรยาย) ท่านเล่าว่า
ในระยะแรกคุณแม่ช่วยทุกอย่าง ในเรื่องการออกแบบเสื้อผ้าค่ะ

แต่ตอนนี้ท่านพยายามทำทุกอย่างเองให้ได้มากที่สุด ตอนนี้เรามาดูเสื้อผ้าสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางร่างกาย ที่ท่านออกแบบมาจนเป็นที่ยอมรับกันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) นี่ไง ดูสิครับ
ดูธรรมดาเลยครับ
ดูเท่มาก (ภาษาญี่ปุ่น) สังเกตข้างหลังนะครับ
มันจะโค้ง และก็เป็นผ้าผืนเดียวเลย ธรรมดาแล้ว
ถ้าเป็นรอยเย็บอย่างนี้และมีกระเป๋า จะทำให้คนนั่งแล้วมันจะเจ็บ ก็จะทำให้เป็นแผลได้
ถ้านั่งทั้งวันครับ
และบางคนบอกว่า นั่งแล้วบางทีอาจจะเจ็บ ท่านบอกว่าจะใช้ผ้าพิเศษเป็นรอยต่อของผ้านิ่ม ๆ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ซิปธรรมดา
คนจะเปิดได้แค่นี้ใช่ไหมครับ
เป้าสั้น
แต่นี่ดึงมาถึงข้างล่างได้เลย เลื่อนลงมาถึงนี่เลยครับ
โอ้โฮ มาถึงนี่เลย กว้างกว่าเยอะเลย เป็นผ้ายีนก็จริง
แต่ว่าสามารถยืดได้ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ที่ยากที่สุดคือตรงไหนรู้ไหม คำตอบก็คือตรงก้นครับ
ทำอย่างไรให้ผ้ามันโค้งได้ ก็คือการเย็บ และก็เนื้อผ้าที่มีความเฉียงอยู่ครับ
ทำให้ออกมาเป็นรอยโค้งของก้น ลองผิดลองถูกมาจนมาเป็นแบบนี้ได้ครับ
ก็ดูเหมือนง่าย
แต่ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดครับ
(บรรยาย) เป็นกางเกงที่น่าจะสะดวกสบาย สำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษจริง ๆ นะคะ เพราะออกแบบโดย
ผู้รู้ความต้องการอย่างแท้จริงค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) ท่านก็บอกนะครับ
ว่า… งานหลัก ๆ ของท่านคืออะไรครับ
การออกแบบ 1. ออกแบบ 2. ไปบรรยายให้แรงบันดาลใจคน และอันที่ 3. ก็คือไปเป็นอาจารย์สอนขับรถ อาจารย์สอนขับรถในที่นี้ก็คือ
สอนอย่างไรไม่ให้ยอมแพ้ และก็ฝ่าฟันอุปสรรคอย่างไร หรือมีจิตใจอย่างไร ในการที่จะชนะการแข่งขันครับ

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) สู้สุดใจเลยนะคะ แถมยังเป็นการสู้
ที่ให้ประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมโลกด้วย ตอนนี้เรามาคุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง ทั้งให้กำลังใจ ทั้งให้การช่วยเหลือ และก็ความรักอย่างไม่มีขีดจำกัดค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ภาษาญี่ปุ่น) ถามคุณแม่เรื่องการเล่าประสบการณ์ ตั้งแต่ตอนที่ลูกชายเกิดอุบัติเหตุนะครับ
อยู่ที่บ้าน แล้วก็มีโทรศัพท์เข้ามาบอกว่า ลูกชายเกิดอุบัติเหตุ แล้วแม่ก็ตกใจว่า… ลูกชายไปขับรถ F1 ตั้งแต่เมื่อไร งานใหญ่ขนาดนี้ไม่มีใครเคยรู้มาก่อนเลย เกิดอุบัติเหตุ 99 เปอร์เซ็นต์ ให้ปลงไว้ก่อน จะอยู่รอดหรือเปล่าไม่รู้ เดี๋ยวรอสักครึ่งชั่วโมง ในช่วงนั้นคุณแม่ก็บอกว่า… คุณพ่อเสียชีวิตตอนอายุ 3 ขวบ ก็มีหิ้งพระ ซึ่งมีกระดูกของคุณพ่ออยู่ ก็ภาวนากับคุณพ่อบอกว่า ช่วยลูกชายหน่อย ช่วยลูกชายหน่อยนะครับ
ก็ประมาณครึ่งชั่วโมง
ก็มีโทรศัพท์เข้ามาบอกว่าไม่เป็นไร จาก 99 เปอร์เซ็นต์
คือความเป็นไปได้แค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ดังนั้นก็รีบไปที่โรงพยาบาล ในช่วงนั้นลูกชายขยับตัวไม่ได้ และก็หายใจไม่ได้ และก็ขยับได้แค่ตา
แต่คุณแม่บอกว่า อย่างไรก็จะเชื่อว่าจะอยู่รอด 1 เปอร์เซ็นต์ก็ยังดี
แต่แม่ให้กำลังใจกับลูกชายในช่วงนั้น ลูกชายบอกว่า… ผมไม่มีมือไม่มีเท้า ขยับอะไรไม่ได้แล้ว มีคำพูดอยู่คำเดียวคือ ไม่เป็นไร ๆ ลูกชายก็บอกว่าไม่เป็นไรอะไรกัน มันหมดอะไรหมดแล้วนะ ชีวิตนี้มันไม่มีอะไรแล้ว อย่ามาโกหกผมเลย อะไรประมาณนั้นครับ
(บรรยาย) เป็นความเข้มแข็งสุด ๆ
ของคนเป็นแม่จริง ๆ นะคะ เพราะเมื่อคุณแม่เข้มแข็ง ก็จะส่งพลังนั้นไปสู่ลูกได้ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) ถามว่าคุณแม่ซัปพอร์ตอะไรกับลูกชายนะครับ
คุณแม่ก็บอกว่าทำอย่างไร
ที่จะให้ลูกมีจิตใจที่แข็งแรง ก็คือให้ลูกระบายออกมาให้หมด เวลาเจอเมื่อไร ให้ลูกชายระบายออกมา สิ่งที่ระบายออกมาจะทำให้เขาเติบโตมากขึ้น ปัญหาหรืออุปสรรคที่ยิ่งใหญ่เท่าไร ยิ่งทำให้มนุษย์เราเติบโตมากขึ้น คุณแม่บอกอีกครับ
ว่า… เพิ่งรู้ว่าตัวเองเป็นคนที่แคบมากเลย เพราะเจอเหตุการณ์บางอย่าง ที่ลูกชายเห็นแล้ว ตัวเองไม่เคยเห็น เช่น เวลาออกไปข้างนอก ธรรมดาแล้ว
ถ้าเราเจอคนธรรมดาเกะกะอยู่ เราจะบอกเลยไช่ไหมครับ
ว่า ช่วยเขยิบหน่อย
แต่ลูกชายบอกว่าไม่ต้องบอกเขา ให้เขารู้ตัวเอง
ถ้าเราบอกว่าช่วยเขยิบหน่อย จะทำให้คนธรรมดารู้สึกว่า เอ๊ยอะไร
แต่ลูกชายเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น และคุณแม่ก็ได้เรียนรู้จากลูกชายด้วย (บรรยาย) นี่เป็นความคิดของคนที่พร้อมจะสู้ และก็ไม่ทำให้ตัวเองเป็นภาระ
ของคนอื่นจริง ๆ นะคะ ซึ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งใหม่ คุณแม่เองก็เรียนรู้ความรู้สึกเหล่านี้
ไปพร้อม ๆ กับลูกเช่นกันค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ถามว่ามีการออกแบบ
ช่วยเหลือลูกอย่างไรครับ
ก็บอกว่าท่านโชคดีนะครับ
เธอเป็นคนที่แก้เสื้อผ้าแบรนด์เนมดัง ๆ เธอก็ใช้ความสามารถนี้มาทำเสื้อผ้าให้กับลูกชาย
เพราะฉะนั้นทางลูกชายให้ปัญหา
ให้อุปสรรคอะไรมา เธอจะใส่ไอเดียเข้าไป และจะแก้มันออกมา (ภาษาญี่ปุ่น) เราจะรู้ได้อย่างไรว่า
เสื้อตัวนี้มันสวยหรือดีอย่างไร ก็คือเธอจะรู้โดยการพลิกเสื้อ
ออกมาดูด้านหลังเพื่อที่จะต้องแก้ กระบวนการของการออกแบบทุกอย่าง มันเก็บสะสมอยู่ในนั้นหมดเลย อยู่ในเสื้อตัวเดียวหมดเลย ทำให้เธอรู้ว่า… เสื้อซึ่งออกแบบจากดีไซเนอร์ต่างประเทศ มันลึกซึ้งขนาดไหน
ใส่ใจขนาดไหน มันถึงมีราคาแพง คุณแม่นี่แหละ เป็นคนที่มีทรัพย์สมบัติ
ของไอเดียนี้อยู่เต็มเลย

[เสียงดนตรี]

(บรรยาย) ด้วยความรู้ประสบการณ์ ด้านการแก้ไขเสื้อผ้าแบรนด์ดังต่าง ๆ มามากมาย ทำให้ท่านกลายเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ ที่ทำให้เสื้อผ้าสำหรับ
ผู้ที่มีความบกพร่องส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้ถูกผลิตขึ้นมาอย่างลงตัวค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) ความแตกต่างของเสื้อที่ขายกันเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า โอ้โฮ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง 1. ต้องเท่ 2. ต้องใส่ง่าย ถอดง่าย ดูดี (บรรยาย) คำถามสุดท้ายที่เราอยากรู้คือ… คุณแม่ที่มีลูกพิเศษลักษณะแบบนี้ ท่านภูมิใจอะไรในตัวลูกชายบ้างคะ (ภาษาญี่ปุ่น) (ฟูจิ) ท่านบอกว่าภูมิใจในความคิด ความคิดของลูกชายมันใหญ่เกินคุณแม่ ธรรมดาแล้ว
ถ้าเป็นคุณแม่… ลูกชายพูดอะไร
อ๋อ ก็ลูกชาย เห็นเป็นเด็ก ๆ
แต่ความคิดของลูกชายมันใหญ่เกินผู้ใหญ่ เวลาคุยหรือเวลาประชุมด้วยเหตุผล ฟังเหตุผลของลูกชายปุ๊บ
ทำให้แม่รู้สึกว่าคิดเกินผู้ใหญ่ คิดเกินคุณแม่ได้อย่างไร (ภาษาญี่ปุ่น) อนาคตคุณแม่จะซัปพอร์ต
หรือจะช่วยลูกชายอย่างไรบ้างครับ
เธอบอกว่าสิ่งที่ลูกชายออกแบบมา คุณแม่จะไม่เลิกล้มที่จะทำในสิ่งที่มันดีอยู่แล้ว ต้องทำเพิ่มอีก อย่างไรก็แล้ว
แต่
จะใส่ใจทุกกระบวนการในการผลิต (บรรยาย) และสิ่งสุดท้ายที่คุณแม่บอกเราก็คือ… ความที่มีใจใหญ่มาก ๆ ของลูกชาย คือพยายามจะทำอะไรทุกอย่างด้วยตัวเอง พึ่งคุณแม่ให้น้อยที่สุด และสิ่งที่ทำให้ทั้งคุณแม่และก็คุณลูก ผ่านอุปสรรคมาได้จนถึงวันนี้ได้คือสิ่งนี้ค่ะ
(ภาษาญี่ปุ่น) เป็นลูกชายที่จิตใจใหญ่ เข้มแข็งมาก ๆ นะครับ
ไม่พึ่งคุณแม่เวลาเจ็บปวดหรือเจออุปสรรค พอออกจากโรงพยาบาลแล้ว
อยากจะมาอยู่คนเดียว ธรรมดาต้องพึ่งคุณแม่ ช่วยนั่น ช่วยนี่หน่อย ช่วยอะไรหน่อย ทำทุกอย่างด้วยตัวเองหมดเลย ไม่พึ่งคุณแม่ แข็งแกร่งมากครับ
และก็เวลาเจอปัญหา เจออุปสรรคแล้วไม่ย่อท้อ ฝ่าฟัน เดินเข้าหาปัญหา เดินเข้าหาอุปสรรค นี่คือสิ่งที่แม่ภูมิใจครับ
(บรรยาย) ดูแล้วมีกำลังใจ
ในการต่อสู้ชีวิตขึ้นมาเลยไหมคะ เรา
แต่ละคน ต่างมีปัญหา มีความลำบากของตัวเอง ซึ่งการจะฝ่าฟันปัญหาไปได้นั้น แน่นอนไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่เมื่อผ่านมาได้ เราจะได้ยิ้มกับผลลัพธ์ของมันค่ะ

[เสียงดนตรี]

พบกับดูให้รู้ได้ใหม่ในครั้งหน้า กับเรื่องราวในญี่ปุ่นที่คุณไม่เคยเห็น ดูให้รู้ รู้ให้ลึก สวัสดีค่ะ

Related Post

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *